ความชุกของหูดอวัยวะเพศและทวารหนัก พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยชายที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นัทธวิทย์ สุขรักษ์ กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เอกชัย แดงสอาด
  • ปิยะวดี ทองโปร่ง
  • อานุภาพ พ่วงสร้อย
  • นพนัฐ จําปาเทศ
  • ปณิธี ธัมมวิจยะ

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2020.40

คำสำคัญ:

ความชุก, หูดอวัยวะเพศและทวารหนัก, คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

บทคัดย่อ

หูดอวัยวะเพศและทวารหนักยังคงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเพศชายที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สาเหตุเกิดจากเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 6 หรือ 11 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความชุกของหูดอวัยะเพศและทวารหนัก (2) บรรยายลักษณะพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และ (3) ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยเพศชายที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคหูดอวัยะเพศและทวารหนัก ผู้วิจัยทำการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยทบทวนข้อมูลจากเวชระเบียนผู้มารับบริการเพศชาย จำนวน 9,160 ราย ระหว่าง ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง กันยายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ 95% confidence interval (95% CI) ผลการศึกษาพบความชุกของหูดอวัยวะเพศและทวารหนัก ของผู้มารับบริการเพศชายที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 11.6 (95% CI = 10.9-12.2) กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง มีความชุกร้อยละ 8.0 (95% CI = 7.4-8.7) ส่วนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย มีความชุกร้อยละ 21.4 (95% CI = 19.8-23.1) ปัจจัยด้านอายุพบว่า กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ที่มีอายุระหว่าง 20-24 ปี มีความชุกมากที่สุด ร้อยละ 26.6 (95% CI = 22.9-30.7) ส่วนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่า 40 ปี มีความชุกมากที่สุด ร้อยละ 28.1 (95% CI = 24.4-32.1) พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ผู้มารับบริการเพศชายที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นหูดอวัยวะเพศและทวารหนักมีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพียงร้อยละ 13.6 ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิง พบหูดที่ตำแหน่งหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศมากที่สุด (ร้อยละ 61.2) ส่วนกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พบตุ่มหูดที่ตำแหน่งในช่องทวารหนักมากที่สุด (ร้อยละ 73.7) ดังนั้นควรหามาตรการในการป้องกันหูดอวัยวะเพศและทวารหนักที่มีประสิทธิภาพ ในกลุ่มผู้มารับบริการเพศชาย ที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

Downloads

References

Garland SM, Steben M, Sings HL, James M, Lu S, Railkar R, et al. Natural history of genital warts: analysis of the placebo arm of 2 randomized phase 3 trials of a quadrivalent human papillomavirus (type 6, 11, 16, and 18) vaccine. J Infect Dis. 2009;199(6):805-14.

Karnes JB, Usatine RP. Management of external genital warts. Am Fam Physician. Am Fam Physician. 2014;90(5):312-8.

Centers for Disease Control and Prevention. Sexually transmitted disease surveillance 2013 [Internet]. Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention; 2014 Dec [cited 2014 Dec 5]. Available from: https://www.cdc.gov/std/stats/archive/Surv2013-Print.pdf

Lacey CJ, Lowndes CM, Shah KV. Chapter 4: Burden and management of non-cancerous HPV-related conditions: HPV-6/11 disease. Vaccine. 2006;24 Suppl 3:S3/35-41.

Bureau of Epidemiology. Annual epidemiological surveillance report 2015 [Internet]. Nonthaburi: Department of Disease Control (TH); 2015. Sexually transmitted infections: STIs; [cited 2020 Jan 29]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2015/aesr2558/Part%201/06/stis.pdf (in Thai)

Delany-Moretlwe S, Chikandiwa A, Gibbs J. Human papillomavirus infection and disease in men: Impact of HIV. South Afr J HIV Med. 2013;14(4):183-8.

Repp KK, Nielson CM, Fu R, Schafer S, Lazcano-Ponce E, Salmeron J, et al. Male human papillomavirus prevalence and association with condom use in Brazil, Mexico, and the United States. J Infect Dis 2012;205(8):1287-93.

Giuliano AR, Palefsky JM, Goldstone S, Moreira ED, Penny ME, Aranda C, et al. Efficacy of quadrivalent HPV vaccine against HPV infection and disease in males. N Engl J Med. 2011;364(5):401-11.

Workowski KA, Bolan GA. Sexually transmitted disease treatment guidelines, 2015. MMWR Recomm Rep. 2015 Jun 5;64(RR-03):1-137.

Jiamton S, Leeyaphan C, Maneeprasopchoke P, Omcharoen V. Prevalence and clinical manifestations of male patients with anogenital warts attending a sexually transmitted disease clinic prior HPV vaccine recommendation. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2014;45(6):1337-43.

Ministry of Public Health. The Notification of the Ministry of Public Health B.E. 2559 (2016). Re: Name and presenting symptoms of communicable diseases under surveillance B.E. 2559. Government Gazette. No. 133. Section 128 D (June 3, 2016).

Huang S, Tang W, Zhu Z, Lu H, Tan X, Zhang B, et al. Higher prevalence of sexual transmitted diseases and correlates of genital warts among heterosexual males attending sexually transmitted infection clinics (MSCs) in Jiangmen, China: implication for the up-taking of STD related service. PLoS One [Internet]. 2015 [cited 2020 Jan 29];10(3):e0121814. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4374714/

Eloisa L, Mark S, Kyle B, Sarah G, Roxanne K, River P, et al. Prevalence of genital warts among sexually transmitted disease clinic patients-Sexually Transmitted Disease Surveillance Network, United States, January 2010 to December 2011. Sex Transm Dis. 2014;41(2):89-93.

Thienkrua W, van Griensven F, Mock PA, Dunne EF, Raengsakulrach B, Wimonsate W, et al. Young men who have sex with men at high risk for HIV, Bangkok MSM cohort study, Thailand 2006–2014. AIDS Behav. 2018;22(7):2137-46.

Park SJ, Seo J, Ha SH, Jung GW. Prevalence and determinants of high-risk human papillomavirus infection in male genital warts. Korean J Urol. 2014;55(3):207-12.

Larke N, Thomas SL, Dos Santos Silva I, Weiss HA. Male circumcision and human papillomavirus infection in men: a systematic review and meta-analysis. J Infect Dis. 2011;204(9):1375-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-12-2020

How to Cite

1.
สุขรักษ์ น, แดงสอาด เ, ทองโปร่ง ป, พ่วงสร้อย อ, จําปาเทศ น, ธัมมวิจยะ ป. ความชุกของหูดอวัยวะเพศและทวารหนัก พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยชายที่คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร. Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 23 ธันวาคม 2020 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];46(4):430-41. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/236271