การเปรียบเทียบผลการตอบสนองทางคลินิกและภูมิคุ้มกันระหว่าง สูตรยาต้านไวรัสเอดส์ ที่มี Nevirapine และ Efavirenz เป็นยาพื้นฐาน ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โรงพยาบาลปทุมธานี
คำสำคัญ:
เอชไอวี, ยาต้านไวรัส, การติดเชื้อฉวยโอกาส, โรงพยาบาลปทุมธานีบทคัดย่อ
การศึกษาเปรียบเทียบผลการตอบสนองทางคลินิคและภูมิคุ้มกันระหว่างสูตรยาต้านไวรัสเอดส์ที่มี Nevirapine และ Efavirenz เป็นยาพื้นฐานของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ โดยหาข้อมูลจากแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยที่กินยาต้านไวรัส ของโรงพยาบาลปทุมธานีระหว่าง 1 ธันวาคม พ.ศ.2545 - 31 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยผู้ป่วยทั้งหมดเป็นผู้ป่วยใหม่ที่ไม่เคยได้ยาต้านไวรัสมาก่อนกินยาต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี โดยไม่มีการเปลี่ยนสูตรยาพื้นฐาน ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา 206 คน เป็นผู้ป่วยที่ใช้สูตรยาที่มี Nevirapine เป็นยาพื้นฐาน 165 คน ผู้ป่วยที่ใช้สูตรยาที่มี Efavirenz เป็นยาพื้นฐาน 41 คน ผลการศึกษาพบว่าผลการตอบสนองทางคลินิก และภูมิคุ้มกันระหว่างกลุ่มที่ใช้สูตรยาทั้ง 2 สูตรที่ 1 ปีหลังกินยาไม่มีความแตกต่างกัน โดยน้ำหนักเฉลี่ยก่อนเริ่มกินยา 6 และ 12 เดือนหลังกินยาของกลุ่มที่ใช้สูตรยาที่มี Nevirapine เป็นยาพื้นฐานคือ 53.7 57.6 และ 58.6 กิโลกรัม ตามลำดับ กลุ่มที่ใช้สูตรยาที่มี Efavirenz เป็นยาพื้นฐานคือ 56 61.2 และ 61.3 กิโลกรัมตามลำดับระดับเม็ดเลือดขาว CD4 เฉลี่ยก่อนกินยา 6 และ 12 เดือนหลังกินยาของกลุ่มที่ใช้สูตรยาที่มี Nevirapine เป็นยาพื้นฐานคือ 75.8 192.6 และ 261.5 cell/ml ตามลำดับ กลุ่มที่ใช้สูตรยาที่มี Efavirenz เป็นยาพื้นฐานคือ 44.1 156.4 และ 243.6 cell/ml ตามลำดับ แต่เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานก่อนกินยาของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มไม่เท่ากัน โดยกลุ่มที่ใช้สูตรยาที่มี Efavirenz เป็นยาพื้นฐานมีความรุนแรงของโรคมากกว่า ระดับเม็ดเลือดขาว CD4 ก่อนเริ่มกินยาต่ำกว่า มีประวัติการติดเชื้อฉวยโอกาสมากกว่าและมีระดับเอ็นไซม์ตับ ALT ที่สูงกว่า ซึ่งเป็นผลจากการคัดเลือกผู้ป่วยให้ได้รับสูตรยาดังกล่าว จึงควรมีการศึกษาที่เป็น Randomized controlled clinical trials ที่มีจำนวนผู้ป่วย และระยะเวลาที่ใช้ดูผลการตอบสนองมากและนานกว่านี้ต่อไปในอนาคต
Downloads
References
2. Mouton Y, Alfandari S, Valette M et al. Impact of protease inhibitors on AIDS-defining events and hospitalization in 10 French AIDS reference centers. Federation National des Centres de Lutte le SIDA. AIDS 1997: 11: F101-F105
3. Mocroft A, Vella S, Berfield TL et al. Changing pattern of mortality across Europe in patients infected with HIV-1. Lancet 1998; 352: 1725-1730
4. Yeni PG, Hammer SM, Carpenter CC et al. Antiretroviral treatment for adult HIV infection in 2002: updated recommendations of the International AIDS Society-USA Panel. J Am Med Assoc 2002; 288: 222-235
5. BHIVA Writing Committee on behalf of the BHIVA Executive Committee. British HIV Association ( BHIVA ) guidelines for the treatment of HIV-infected adults with antiretroviral therapy. HIV Med 2000; 1: 133-136
6. Delfraissy JF. New French guidelines for antiretroviral treatment. HIV Med 2000; 1: 133-136
7. W Manosithi, S Sungkanuparph, A Vibhagool et al. Nevirapine- versus efavirenz-based highly active antiretroviral therapy regimens in antiretroviral-na?ve patients with advanced HIV infection. HIV Med 2004; 5: 105-109
8. AK Patel, S Pujari, K Patel et al. Nevirapine Versus Efavirenz Based Antiretroviral Treatment in Na?ve Indian Patients : Comparison of Effectiveness in Clinical Cohort. JAPI 2006; 54: 915-918
9. L Waters, J Stebbing, R Jones et al. A comparison of the CD4 response to antiretroviral regimens in patients commencing therapy with low CD4 counts. J Antimicrob Chemother 2004; 54: 503-507
10. สัญชัย ชาสมบัติ, ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์, พรทิพย์ ยุกตานนท์. แนวทางการปฏิบัติงานโครงการ การพัฒนาระบบบริการและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ พ.ศ.2546 กระทรวงสาธารณสุข, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ร.ส.พ; 2546: 17-50.
11. ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ, อิสระ เจียวิริยะบูญญา, ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ . แนวทางการปฏิบัติงานการพัฒนาระบบบริการและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสในประเทศไทย ปี 2545, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ เจ เอส การพิมพ์ ; 2545 : 7-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน