สถานการณ์รถนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2548
คำสำคัญ:
รถนักเรียน, จังหวัดศรีสะเกษบทคัดย่อ
การศึกษาสถานการณ์รถนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลการเดินทางไปและกลับจากโรงเรียนของนักเรียน อัตราการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทางไปกลับโรงเรียน ความคิดเห็นของผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน ในการจัดบริการรถรับส่งนักเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขับรถรับส่งนักเรียน และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียนในขณะเดินทางไปกลับโรงเรียน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เฉพาะเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 2,781 คน และผู้ปกครอง จำนวน 556 คน ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 20 คนและผู้ขับขี่รถรับส่งนักเรียน จำนวน 191 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 2548 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา chi-square odds ratio (OR) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ประสบอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทางไปกลับโรงเรียน ทั้งสิ้น 224 คน คิดเป็นร้อยละ 8.1 ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยไม่ต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล ร้อยละ52.2 และบาดเจ็บจนต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ร้อยละ6.7 โดยพบว่านักเรียนที่สังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน เพศชายและเพศหญิง นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และการอาศัยในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลของนักเรียน มีการเกิดอุบัติเหตุที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) และการเดินทางไปกลับโรงเรียนด้วย รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถโดยสารประจำทาง และการเดินมีความเสี่ยงต่อการประสบอุบัติเหตุมากกว่าการเดินทางด้วยรถรับส่งนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ OR = 6.69 (95% CI:4.01-11.20) 6.37(95%CI :2.18-5.71) 4.70(95%CI: 1.52-10.88) 2.71(95%CI: 1.34-5.43) และ 2.24(95%CI: 1.21-4.15) ตามลำดับ กลุ่มผู้ปกครองเห็นว่า เกณฑ์ขั้นต่ำของรถนักเรียนที่ยอมรับได้ตามสภาพเศรษฐกิจสังคมของผู้ปกครองควรเป็นรถมินิบัสหรือไมโครบัส ร้อยละ 27.9 อายุการใช้งานของรถรับส่งนักเรียน ไม่ควรเกิน 10 ปี ร้อยละ 69 ควรมีการตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำ ภายใน3-6 เดือน ร้อยละ 88.8 ควรมีเข็มขัดนิรภัยสำหรับทุกที่นั่งร้อยละ 92.4 ควรจัดให้มีที่นั่งสำหรับเด็กอนุบาล ร้อยละ 89.9 ควรมีสีเฉพาะว่าเป็นรถนักเรียน ร้อยละ 85.9 และควรจะมีผู้ดูแลประจำรถ ร้อยละ 91.4 โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่สังกัดภาครัฐ 17 โรงเรียน ไม่มีการจัดบริการรถรับส่งนักเรียน ส่วนโรงเรียนเอกชนมีการจัดบริการรถรับส่งนักเรียน จำนวนนักเรียนที่เดินทางด้วยรถรับส่งนักเรียนที่โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ ร้อยละ 7.1 ของนักเรียนทั้งหมด รถที่ใช้ส่วนใหญ้ได้แก่ รถโดยสารมินิบัส มีการตรวจเช็คสภาพรถประจำปี ร้อยละ 100 รถรับส่งนักเรียนที่ไม่ได้ดำเนินการโดยโรงเรียนทั้งสิ้น 185 คัน จำนวนนักเรียนที่ใช้บริการทั้งสิ้น 6,054 คน คิดเป็นร้อยละ 26.2 ของนักเรียนทั้งหมด ผู้ขับรถรับส่งนักเรียน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 96.9 มีอายุเฉลี่ย 39.7 ปี มีประสบการณ์ในการขับรถรับส่งนักเรียนโดยเฉลี่ย 8.9 ปี เป็นเจ้าของเอง ร้อยละ 63.3 และรับจ้างขับรถ ร้อยละ 36.7 มีรายได้เฉลี่ยต่อวัน 100-300 บาท ร้อยละ 81.8 สูบบุหรี่ ร้อยละ 24.1 ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ร้อยละ 30.4 และดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ร้อยละ 49.2 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 5.2 โดยโรคที่เป็น ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระดูกและไขข้อ โรคไต โรคหอบ โรคกระเพาะอาหาร และอื่น ๆ มีผู้ดูแลนักเรียนประจำรถ ร้อยละ 51.3 โดยสรุป สถานการณ์รถนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าจำนวนนักเรียนที่เดินทางโดยรถรับส่งนักเรียนยังมีจำนวนน้อย แม้ว่ารถรับส่งนักเรียนที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับที่มีอยู่ แต่ก็พบว่านักเรียนที่เดินทางด้วยรถรับส่งนักเรียนมีความปลอดภัยมากกว่าการเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ และหากการจัดบริการรถรับส่งนักเรียนมีคุณภาพได้มาตรฐาน ผู้ปกครองจะใช้บริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยของนักเรียนและลดปัญหาการจราจรลงได้
Downloads
References
2. ชไมพันธ์ สันติกาญจน์ และคณะ. รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในระดับจังหวัด ประเทศไทย พ.ศ.2542. กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข.
3. สุรชัย สราญฤทธิชัย, วิทยา ชาติบัญชาชัย "อุบัติเหตุและการบาดเจ็บในเด็ก ในโรงพยาบาลขอนแก่น". ขอนแก่นเวชสาร 2541; 22(2): 13-23
4. Pless B. "Childhood injury prevention: time for tougher measures." Can Med Assoc J 1996; 40: 951-5.
5. Corneli HM, Cook LJ, dean JM. Adults and children in severe motor vehicle crashes: a matchpaired study. Ann Emerg Med 2000; 36: 340-5.
6. CHIRPP injury reports. Injuries associated with School Buses. (Online). 1995 (cited 2002 August 2); (5 screens). Available from: URL: http://www.hcsc.gc.ca/hpb/lcdc/brch/injury/irsbus_e.html.
7. เปรมวดี คฤหเดชและคณะ. โครงการความปลอดภัยในการเดินทางไปกลับโรงเรียนด้วยรถรับส่งนักเรียน. กรุงเทพฯ . 2547
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน