ประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง (DOTS) ในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ในแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ปี 2545-2549

ผู้แต่ง

  • ภัททิรา ทางรัตนสุวรรณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

วัณโรค, ประสิทธิผล, DOTS

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่กำลังกลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศอีก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรีได้ให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยกลยุทธ์ DOTS ในแผนสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ 9 ปี 2545-2549 การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาแนวโน้มการค้นพบผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่ แนวโน้มลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกและแนวโน้มผลการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวก โดยใช้กลวิธีการกำกับการรักษาโดยตรง (DOTS) และใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนาด้วยการเก็บข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกทุกรายในปีงบประมาณ 2545-2549 ที่กำกับการรับประทานยาโดยสมาชิกในครอบครัว ผลการศึกษาพบว่า อัตราป่วยต่อประชากร 1 แสนมีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ จาก 31.30, 50.28, 60.87, 34.10 และ 61.81 พบผู้ป่วยเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงโดยอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีแนวโน้มมากขึ้นในวัยทำงานและวัยหนุ่มสาว ผลเสมหะกลับเป็นลบเมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้นมีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับร้อยละ 73.68, 70.96, 81.57, 81.48 และ 79.48 อัตราความสำเร็จการรักษามีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับร้อยละ 52.63, 67.73, 78.94, 77.77 และ 76.91 แต่พบว่าอัตราความสำเร็จดังกล่าวยังต่ำกว่าเป้าหมายของแผนงานวัณโรคแห่งชาติ ที่กำหนดไว้ร้อยละ 85 ขึ้นไป สาเหตุมาจากผลกระทบจากการก่อความไม่สงบในพื้นที่มีความรุนแรงสูงมากขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ป่วยมีปัญหาการให้และรับบริการ ส่งผลกระทบต่ออัตราการขาดยาและอัตราการตายสูง โดยผู้ป่วยที่ขาดยาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ติดเชื้อเอดส์ร่วมด้วย โดยมีผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอดส์ปี 2545-2549 ร้อยละ 15.78, 12.90, 14.82, 14.70 และ 10.25 ตามลำดับ ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้มีการให้คำปรึกษาผู้ป่วยและเจาะเลือดผู้ป่วยวัณโรคทุกรายเพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอดส์ได้รับยาต้านไวรัสโดยเร็ว เพื่อลดอัตราการตายให้ต่ำลง และได้ให้ข้อเสนอแนะอื่นๆ เพื่อใช้การมีส่วนร่วมแกนนำสุขภาพ ผู้นำศาสนาอิสลาม และอาสาสมัครอื่นๆ ให้ช่วยการรักษาผู้ป่วยวัณโรคระบบยาระยะสั้นให้มีประสิทธิผลดียิ่งขึ้นภายใต้สภาวะการก่อความไม่สงบต่อไป

Downloads

References

1. World Health Organization. Global Tuberculosis Control Report, 2006.

2. กรมควบคุมโรค และมูลนิธิสุชาติ เจตนเสน. รายงานทางวิชาการและแผนที่การศึกษาวิจัยกรมควบคุมโรค ปี 2548-2550. กรุงเทพฯ : สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค, 2549.

3. สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการประเมินตัวชี้วัดการป้องกันควบคุมโรค ปี 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2550; หน้า 17-24.

4. นัดดา ศรียาภัย. หลักการและแผนงานควบคุมวัณโรคในปัจจุบัน. ในบัญญัติ ปริชญานนท์ ชัยเวชนุชประยูร สงคราม ทรัพย์เจริญ.บรรณาธิการ. วัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2542; 64-91.

5. กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. Management of Tuberculosis: Modified WHO modules of managing Tuberculosis at district level. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2545; 10-11, 20-24, 34-37.

6. สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส) และหน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ข้อเท็จจริงและสถิติภาวะคุกคามสุขภาพภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2547.

7. Chaulk CP, Moore-Ricek, Rizzo R and Chaisson RE. Eleven years of community based directly observed therapy for tuberculosis. JAMA, 1995; 274(12); 945-951.

8. Chaina Tuberculosis control collaboration. Results of directly observed short-course chemotherapy in 112,842 chinese patients with smear positive tuberculosis. Lancet, 1996; 347: 358-362.

9. ยุทธิชัย เกษตรเจริญ เพชรวรรณ พึ่งรัศมี ไพฑูรย์ มณีแสง พรรณี หัสภาต วีณา ต้นไสว และ แดง ทรงเหม. การควบคุมกำกับการรับประทานยาโดยสมาชิกในครอบครัว.วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก. 2538: 16(4): 237-249.

10. สมัย กังสวร สุพจน์ ขันขวา มะลิ เรืองทรัพย์ สุภาพ โปรยบำรุง. การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นตามปกติและแบบมีพี่เลี้ยงกำกับดูแล (DOTS). วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก. 2540; 18(1): 7-8.

11. กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานวัณโรคแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2541; 38: 49-53, 65.

12. สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. กรมควบคุมโรค. คู่มือแกนนำวัณโรคสำหรับชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักพระพุทธบาทแห่งชาติ. 2550.

13. สำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. คู่มือสุขศาลาพระราชทาน, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ศูนย์ประสานงานโครงการสุขศาลาพระราชทาน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2007

How to Cite

1.
ทางรัตนสุวรรณ ภ. ประสิทธิผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วยระบบยาระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง (DOTS) ในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ในแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ปี 2545-2549. Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2007 [อ้างถึง 5 เมษายน 2025];33(4):260-8. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/155985