ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดฤทธิ์ข้างเคียงจากการรักษาวัณโรคในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ตามระบบยามาตรฐานระยะสั้น : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ เทศนา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น
  • อารี บุตรสอน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ฤทธิ์ข้างเคียงจากการรักษาวัณโรค, ระบบยามาตรฐานระยะสั้น

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดฤทธิ์ข้างเคียงจากการรักษาวัณโรคในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ตามระบบยามาตรฐานระยะสั้นในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดฤทธิ์ข้างเคียงจากการรักษาวัณโรคในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ตามระบบยามาตรฐานระยะสั้นในผู้ป่วยวัณโรค (Cat.1_2HRZE/4HR) โดยศึกษาจากผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ทั้งชนิดเสมหะพบเชื้อและไม่พบเชื้อ ที่ขึ้นทะเบียนรักษา ณ กลุ่มวัณโรคและโรคเรื้อน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2548-2549 จำนวน 219 ราย โดยใช้วิธีการนำประวัติการรักษาของผู้ป่วยวัณโรคทั้งหมดมาศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดฤทธิ์ข้างเคียงของยารักษาวัณโรค การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นโดยใช้สถิติร้อยละ และหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้ยาในการรักษาวัณโรค ได้แก่ กลุ่มอายุ ชนิดของยาที่ใช้ในการรักษา อาชีพ สถานภาพ โดยเมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ แล้ว พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคที่มีอายุน้อยกว่า 45 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้ยามากกว่าผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี 2.04 เท่า (AOR = 2.04, 95% CI = 1.06-3.94) การรักษาโดยใช้ยาแยกมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้ยามากกว่าการใช้ยารวม 2.01 เท่า (AOR = 2.01, 95% CI = 1.09-3.69) ด้านอาชีพเมื่อให้อาชีพเกษตรกรรมเป็นฐานในการเปรียบเทียบ พบว่า ผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้ยามากที่สุด ผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพรับจ้างและข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ มีความเสี่ยงต่อการแพ้ยาน้อยกว่าอาชีพเกษตรกรรมโดยมีขนาดความเสี่ยงเท่ากับ 0.17 และ 0.34 ตามลำดับ (AOR = 0.17, 95% CI = 0.05-0.52 และ AOR = 0.34, 95% CI = 0.17-0.69) ด้านสถานภาพ สมรส พบว่า ผู้ป่วยที่สมรสแล้วมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้ยามากกว่าคนโสด 2.22 เท่า (AOR= 2.22 95% CI = 1.05-4.70)

Downloads

References

1. Raviglione MC, Snider DE, Kochi A. Global epidemiology of tuberculosis. JAMA1995; 223: 220-6

2. World Health Organization. Global Tuberculosis control: Surveillance, planning financing: WHO Report 2006. Geneva: WHO; 2006

3. สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.แนวทางการวินิจฉัยและรักษาวัณโรค ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: 2545

4. Kopanoff DE, Snider DE, Caras GJ, Isoniazidrelated hepatitis. Am Rev Respir Dis 1978; 117: 991-1001

5. Steele MA, Burk RF, Desprez RM. Toxic hepatitis with isoniazid and rifampicin: A metaanalysis. Chest 1991; 99: 465-71.

6. Snider DE. Isoniazid-associated hepatitis deaths: A review of available information. Am Rev Respir Dis 1992; 145: 494-7

7. Sivakumaran P, Harriso AC, Marschner J, Martin P. Ocular toxicity from ethambutal: A review of four cases and recommended precaution. N Z Med J 1998; 111: 428-30

8. วิศิษฎ์ อุดมพานิชย์. Controversies in treatment of tuberculosis. ใน สุมาลี เกียรติบุญศรี (บรรณาธิการ) ยุรเวชช์ 2004. พิมพ์ครั้งแรก โดย สมาคมยุรเวชช์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ: ภาพการพิมพ์, 2546

9. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมโรคแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2541

10. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2548. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ที่ 31 มีนาคม 2549; 37(2): 28-32.

11. วิลาวรรณ สมทรง และคณะ. การยอมรับการรักษาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต. 2547; 25: 115-125

12. สมใจ บำรุงตระกูล, สุวรรณ กสิรัต, ประชา เชี่ยววิทย์. ความล่าช้าของผู้ป่วยวัณโรคปอดในการไปรับการตรวจรักษา. ว. โรคติดต่อ 2531; 11(6): 885-91

13. Daphne Yee, Chantal Valiquette, Marthe Pelletier, Isabelle Parisien, Isabelle Rocher and Dick Menzies. Incidence of Serious Side Effects from First-Line Antituberculosis Drugs among Patients Treated for Active Tuberculosis. American
Journal of Respiratory and Critical Care Medicine 2003; 167: 1472-77

14. Gravendeel, J. M.; Asapa, A. S.; Becx-Bleumink, M., and Vrakking, H. A. Preliminary results of an operational field study to compare side-effects, complaints and treatment results of a single-drug short-course regimen with a four-drug fixed-dose combination (4FDC) regimen in South Sulawesi, Republic of Indonesia. Tuberculosis (Edinb). 2003; 83 (1-3): 183-6.

15. Cheng G, Tolhurst R, Li RZ, Meng QY, Tang S. Factors affecting delays in tuberculosis diagnosis in rural China: a case study in four counties in Shandong Province. Transactions of the Royal Society of Tropical Medicine and Hygiene 2005; 99: 355-362

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2007

How to Cite

1.
เทศนา น, บุตรสอน อ, มุ่งเขตกลาง ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดฤทธิ์ข้างเคียงจากการรักษาวัณโรคในผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ตามระบบยามาตรฐานระยะสั้น : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 29 มิถุนายน 2007 [อ้างถึง 6 เมษายน 2025];33(2):126-33. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/155965