ผลการรักษาวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อโดยวิธีการบริหารยาแบบมีพี่เลี้ยง ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • วิทิต บรรจง โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

วัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อ, บริหารยาแบบมีพี่เลี้ยง, โรงพยาบาลสิงห์บุรี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบอัตราการรักษาหายและอัตราการเปลี่ยนของเสมหะของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะพบเชื้อ ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่รับยาโดยมีพี่เลี้ยงกับกลุ่มผู้ป่วยที่กินยาเอง และศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์กับการยอมรับวิธีการบริหารยาแบบมีพี่เลี้ยง ผู้ป่วยที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยซึ่งขึ้นทะเบียนรักษากับคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลสิงห์บุรี ระหว่าง 1 ตุลาคม 2546 ถึง 30 กันยายน 2549 มีผู้ป่วยในการศึกษา 88 ราย เป็นชาย 62 ราย หญิง 26 ราย มีอายุตั้งแต่ 21-87 ปี อายุเฉลี่ย 43.6 ±16.7 ปี ผู้ป่วยที่ได้รับยาแบบมีพี่เลี้ยงมีร้อยละ 59.1 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อทั้งหมดรักษาหายร้อยละ 78.4 ผู้ป่วยที่รับยาแบบมีพี่เลี้ยงมีอัตรารักษาหายร้อยละ 80.8 มากกว่าผู้ป่วยที่กินยาเอง ซึ่งมีอัตรารักษาหายร้อยละ 75.0 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value > 0.05) เมื่อสิ้นสุดการรักษาระยะเข้มข้น พบว่าอัตราการเปลี่ยนของเสมหะของผู้ป่วยที่รับยาแบบมีพี่เลี้ยงเป็นร้อยละ 82.7 น้อยกว่าอัตราการเปลี่ยนของเสมหะของผู้ป่วยที่กินยาเอง (ร้อยละ 88.8) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p - value > 0.05) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อายุ เพศ การประกอบอาชีพ ที่อยู่อาศัย และการติดเชื้อเอดส์กับการยอมรับวิธีการบริหารยาแบบมีพี่เลี้ยง พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อเพิ่มความสำเร็จในการควบคุมวัณโรคให้ได้ตามเป้าหมาย ควรเพิ่มอัตราการบริหารยาแบบมีพี่เลี้ยงให้มากที่สุดโดยเพิ่มเครือข่ายพี่เลี้ยง (DOT network)ที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่บริการ

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. นภา วงษ์ศิลป์. ลักษณะทางระบาดวิทยาและแนวโน้มของผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ป่วยด้วยวัณโรคในประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค. 2547; 30: 363- 371

2. Haas DW. Mycobacterium tuberculosis. In: Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. eds. Principles and practice of infectious diseases. Philadelphia: Churchill Livingstone; 2000: 2576- 607

3. เจริญ ชูโชติถาวร. วัณโรคในผู้ใหญ่. ใน : พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย และคณะ, บรรณาธิการ. ตำราโรคติดเชื้อ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่งจำกัด; 2548: 683 - 719

4. สมัย กังสวรและคณะ. การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดด้วยระบบยาระยะสั้นตามปกติ และระบบมีพี่เลี้ยงกำกับดูแล (DOTS) . วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก. 2540; 18: 10

5. ยุทธิชัย เกษตรเจริญ และคณะ. การควบคุมกำกับการรับประทานยาในผู้ป่วยวัณโรคโดยสมาชิกในครอบครัว. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก. 2538; 16: 247

6. อัษฎางค์ รวยอาจิณ. ผลสัมฤทธิ์ของการควบคุมวัณโรคตามแนวทางใหม่ด้วยกลยุทธ์DOTS ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขเขต 2 2545; 4: 17-28

7. Maher D and Mikulencak M . What is DOTS ? A guide to understanding the WHO-recommended TB control strategy known as DOTS. WHO /CDS /TB / 99 . 270 , Generva: WHO, 1999

8. กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. กรุงเทพมหานคร; 2541: 23 – 43

9. อรรถพล ชีพสัตยากร. สถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย ณ ปีแห่งสุขภาพดีถ้วนหน้า พุทธศักราช 2543. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต: 2549; 27: 21 - 28

10. อุทัยวรรณ กาญจนะพังคะ. เปรียบเทียบประสิทธิผลของ DOTS โดยเจ้าหน้าที่และ DOTS โดยญาติในการรักษาของผู้ป่วยวัณโรค. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2543. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก. 2545; 23: 255 - 262

11. ฑิฆัมพร จ่างจิต. การพัฒนางานควบคุมวัณโรคแนวใหม่โดยกลวิธี DOTS โรงพยาบาลพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก 2545; 23: 159 - 165

12. พัฒนา โพธ์ิแก้ว, พรศรี อรุณกาญจนา, นิราภรณ์ ไชยวงศ์. DOTS ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาสม่ำเสมอจริงหรือ. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก. 2544; 22: 113 - 123

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2007

How to Cite