ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มของอัตราความชุกและอัตราการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่ ที่เป็นจริงในประเทศไทยในระยะเวลา 14 ปี หลังกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จ
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์ของแนวโน้มที่เป็นจริง, อัตราความชุก, อัตราการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่บทคัดย่อ
ผู้วิจัยได้ศึกษาระบาดวิทยาของแนวโน้มและความสัมพันธ์เชิงสถิติระหว่างอัตราความชุกและอัตราการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่ที่เป็นจริงในประเทศไทยในระยะเวลา 14 ปี หลังกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จ (ปี 2537 - 2550) และได้ศึกษาการวิเคราะห์แนวโน้มเชิงสถิติของอัตราดังกล่าวพบว่าตัวแบบแนวโน้มเชิงเส้น (Linear trend model) มีความเหมาะสมและแม่นยำกว่าการใช้ตัวแบบแนวโน้มเชิงสมการ (Quadratic trend model) ในการนำมาใช้ศึกษาแนวโน้มเชิงสถิติดังกล่าว และคำนวณเพื่อพยากรณ์แนวโน้มในอนาคตต่อไป ผลการศึกษาพบว่ามีแนวโน้มการลดต่ำลงของอัตราความชุกและอัตราการค้นหาผู้ป่วยใหม่ไม่สม่ำเสมอในระยะแรก และค่อนข้างสม่ำเสมอในระยะหลัง และมีความสัมพันธ์ของแนวโน้มทั้งสองที่สัมพันธ์เชิงสถิติ (r = 0.79, p - value = 0.001) อัตราความชุกลดลงร้อยละ 80.46 จาก 0.84 ต่อประชากร 1 หมื่น ในปี 2537 เป็น 0.17 ต่อประชากร 1 หมื่นในปี 2550 หรือลดต่ำลงเฉลี่ยร้อยละ 5.75 ต่อปี ขณะที่อัตราการค้นพบผู้ป่วยใหม่ลดลงร้อยละ 60 จากอัตรา 0.20 ต่อประชากร 1 หมื่นในปี 2537 เป็น 0.18 ต่อประชากร 1 หมื่น ในปี 2550 หรือลดต่ำลงเฉลี่ยร้อยละ 4.28 ต่อปี การใช้ตัวแบบแนวโน้มเชิงสถิติเชิงเส้นคำนวณพยากรณ์อัตราความชุกในปีที่เหลือของแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 10 พบมีอัตรา 0.09 0.06 0.02 และ 0 ต่อประชากร 1 หมื่น ตามลำดับในปี 2551 - 2554 ส่วนการพยากรณ์อัตราการค้นพบผู้ป่วยใหม่พบมีอัตรา 0.06, 0.05, 0.04 และ 0.03 ต่อประชากร 1 หมื่นตามลำดับใน 4 ปีดังกล่าว ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบแนวโน้มการลดต่ำของตัวชี้วัดทางระบาดวิทยาทั้งสอง ระหว่างช่วงปีเริ่มใช้ยาเคมีบำบัดผสม (MDT) ก่อนและหลังกำจัดโรคเรื้อนสำเร็จไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขและได้อภิปรายปัจจัยตัวแปรด้านการปฏิบัติการ (Operational factors) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อแนวโน้มดังกล่าวจนถึงปัจจุบันและในอนาคต โดยเฉพาะนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ได้ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการวินิจฉัยและการรักษาด้วยยา MDT แก่ประชาชนที่ได้ครอบคลุมอย่างทั่วถึงและมีการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล การพัฒนาและรับรองคุณภาพการกำจัดโรคเรื้อนและการพัฒนารับรองคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อความก้าวหน้าและความสำเร็จของการกำจัดโรคเรื้อนอย่างยั่งยืนในปัจจุบันและอนาคต
Downloads
References
2. ธีระ รามสูต. โรคเรื้อนระยะบุกเบิก. ใน : มูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์. บรรณาธิการ.ราชประชาสมาสัยสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช 2528. น.45-53.
3. ประชุมพร โอชสานนท์. งานควบคุมโรคเรื้อนในประเทศไทย. ใน : มูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์. บรรณาธิการ. ราชประชาสมาสัยสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช 2528. น.82-9.
4. จรูญ ปิรยะวราภรณ์. วิวัฒนาการงานควบคุมโรคเรื้อน. ใน : กรมควบคุมโรคติดต่อ. บรรณาธิการ. รายงานครบรอบ 15 ปี กรมควบคุมโรคติดต่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก 2533. น.306-11.
5. ธีระ รามสูต. 40 ปีของการบุกเบิกพัฒนาสู่ความสำเร็จของการกำจัดโรคเรื้อนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์ 2541; 254-6.
6. ธีระ รามสูต. แนวคิดการเกิดเชื้อดื้อยาแด๊ปโซนของเชื้อโรคเรื้อนและวิธีป้องกันแก้ไข. วารสารโรคติดต่อ 2522; 3 :256-71.
7. Ramasoota T, Rungruang S, Sampatavanich S, et al. Perliminary study on dapsone resistance in leprosy in Thailand. Journal of Public Health 1983; 2 :115-7.
8. World Health organization. Chemotherapy of leprosy for control programme. Geneva: WHO. WHO Technical Report Series No.675; 1982.
9. ธีระ รามสูต. ความก้าวหน้าและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยาเคมีบำบัดโรคเรื้อนผสมแบบใหม่ตามข้อเสนอแนะ ขององค์การอนามัยโลก. แพทยสภาสาร 2530; 10: 5-13.
10. ธีระ รามสูต. ตำราโรคเรื้อน. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2535.
11. ธีระ รามสูต. การรักษาโรคเรื้อนระยะสั้น. ใน. คลินิกโรคผิวหนัง. บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน 2537: น.117-25.
12. Noordeen SK. Elimination of leprosy as a public health problem. Lepr Rev 1992; 63: 11-4.
13. ศรีบุศย์ เทพสี. การศึกษาผลกระทบทางระบาดวิทยาของการใช้ยาเคมีบำบัดแบบใหม่ในการควบคุมโรคเรื้อนจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2535; 2: 40-50.
14. ทัศนีย์ อินทราทิพย์. ผลกระทบของการใช้ยาเคมีบำบัดผสมในระยะเวลาห้าปีแรกต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่ในประเทศไทย. วารสารโรคติดต่อ 2537; 20: 21-30.
15. ศรีสุนทร วิริยะภาต, รัชนี มาตย์ภูธร, จิรพรรณ ศรีพงศกร. ผลกระทบของยาเคมีบำบัดผสมต่อการลดต่ำของอัตราความชุกและการค้นพบผู้ป่วยโรคเรื้อนใหม่ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารโรคติดต่อ 2538; 2: 98-106.
16. World Health Organization. Global strategy for the elimination of leprosy as a public health problem. WHO/ CTD/ LEP/ 94.2. Geneva : World Health organization 1994.
17. กองโรคเรื้อน กรมควบคุมโรคติดต่อ. งานโรคเรื้อนในแผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2537.
18. กองโรคเรื้อน กรมควบคุมโรคติดต่อ. แผนดำเนินงานกำจัดโรคเรื้อน พ.ศ. 2537 -2543. กองโรคเรื้อน ; 2537 (เอกสารอักสำเนา 13 หน้า).
19. ธีระ รามสูต. แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน ในงานควบคุมโรคเรื้อน. วารสารกระทรวงสาธารณสุข 2531; 20(6) : 75-97.
20. Feenstra P. Sustainability of leprosy control services in low endemic situations. Int J Lepr 1991; 62: 59 - 608.
21. ธีระ รามสูต. การพัฒนากลวิธีการดำเนินงานควบคุมโรคเรื้อนในสภาวะความชุกของโรคลดลง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2539; 5: 279-95.
22. ธีระ รามสูต. วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การกำจัดโรคเรื้อนอย่างยั่งยืน. บรรยายในการสัมมนาเรื่องการพัฒนางานควบคุมโรคเรื้อนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จัดโดยสถาบันราชประชาสมาสัย ณ โรงแรมอมารีแอร์พอร์ต กรุงเทพฯ วันที่ 28 ตุลาคม 2546. ใน. สถาบันราชประชาสมาสัย: รายงานการสัมมนาการพัฒนางานควบคุมโรคเรื้อนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2546: หน้า 7-15.
23. World Health Organization. A Guide to elimination of leprosy as a public health problem. DISTR: Generale (E), WHO/ LEP/95.1. WHO, Geneva, 1995.
24. World Health Organization. Report on first meeting of the WHO Technical Advisory Group on Elimination of leprosy. WHO/ CDS/ CPE/ CEE/200.4. Geneva: World Health Organization 2000.
25. ธีระ รามสูตม ชัยวุฒิ บัณฑิต, โกวิท คัมภีรภาพ และคณะ. การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในงานโรคเรื้อน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา 2549.
26. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. คู่มือแนวทางการตรวจรับรองคุณภาพการกำจัดโรคเรื้อนของจังหวัด. กรุงเทพฯ: องค์การขนส่งสินค้าและครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) 2547.
27. ฉลวย เสร็จกิจ. การเปลี่ยนแปลงกระสวนทางระบาดวิทยาของการค้นพบผู้ป่วยรายใหม่ในประเทศไทย : สถานการณ์หลังกำจัดโรคเรื้อนปี พ.ศ. 2544-2547. วารสารสถาบันราชประชาสมาสัย 2549; 4(1): 31-43.
28. Meima A, Smith CSI, Ortmarssen GJ, et al. The future incidence of leprosy : A scenario analysis. Bulletin of the World Health Organization. 2004; 82: 376-86.
29. Meima A. The impact of leprosy control : epidemiological and modeling studies. Rotterdam: Netherlands Leprosy Relief and Department of Public Health, Eramus MC, University Medical Center 2004. pp118-39.
30. WHO Weekly Epidemiological Record. Global leprosy situation. WHO, Geneva 2006; 81: 309-16.
31. Irgens LM, Skjaerven R. Secular trend in age at onset, sex ratio, and type index in leprosy observed during declining incidence rates. Amer J Epidemiol 1985; 122: 695 -705.
32. Lechat MF, Vanderveken M, Declercq E, et al. Analysis of trends in the occurrence of leprosy. World Health StatQ 1986; 39: 129-37.
33. World Health Organization. Global strategy for further reducing the leprosy burden and sustaining leprosy control activities, 2006-2010. WHO, Geneva 2006, p.18.
34. World Health organization. Epidemiology of leprosy in relation to control. WHO Technical Report Series Number 716. Geneva, 1985: 33-7.
35. Charoon Pirayavarapron and Somchai Peerapakorn. The measurement of the epidemiological impact of multidrug therapy. Lepr Rev 1992; 63, Supplement, 84s -92s.
36. ILEP. The interpretation of epidemiological indicatiors in leprosy. London : the ILEP Medico Social Commission, 2001.
37. Mendenhail W and Sincich T. A second course in Statistics : Regression Analysis. New Jersey: Pearson Education Inc., 2003.
38. Janasek G and Swift L. Time Series : Forecasting, Correlation and Applications. New York : Ellis Horwood Limited, 1993.
39. สิทธิศักด์ิ พฤกษ์ปิติกุล และ อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. เส้นทางสู่ Hospital Accreditation. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น), 2544.
40. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. เครื่องมือพัฒนาคุณภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัทดีไซร์จำกัด, 2543.
41. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. แนวคิด มุมมองเรื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ : HPH. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2550.
42. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและแบบประเมินตนเอง. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2545.
43. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร). คู่มือการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคนอกหน่วยบริการ (สำหรับหน่วยบริการในกรุงเทพมหานคร). กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสาขาเขตพื้นที่ (กรุงเทพมหานคร), 2551.
44. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค. รายงานการประชุมคณะทำงานปรับปรุงและกำหนดหลักเกณฑ์การรักษาโรคเรื้อนด้วยยาเคมีบำบัด ณ ห้องประชุมธีระ รามสูต สถาบันราชประชาสมาสัย วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2552.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน