มาตรฐานทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความมั่นคงด้านครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวี จังหวัดหนองบัวลำภู ปี 2551
คำสำคัญ:
มาตรการทางสังคม, ความมั่นคงด้านครอบครัวบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองโครงสร้างความมั่นคงด้านครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative research) เก็บข้อมูล ณ เวลาที่ศึกษา (cross sectional study) โดยการใช้แบบสอบถาม ขนาดตัวอย่าง จำนวน 370 ตัวอย่าง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2551 ผลการศึกษา พบว่า ความมั่นคงด้านครอบครัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวี 1.ในระดับสูง ประกอบด้วย ครอบครัวมีหลักประกันสุขภาพครอบครัว ร้อยละ 68.6 มีสิทธิด้านสุขภาพ ร้อยละ 70.8 และร้อยละ 55.1 มีความสัมพันธภาพที่ดีของครอบครัว 2. ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย การสนับสนุนด้านอารมณ์ ร้อยละ 57.0 ด้านการประเมินผล ร้อยละ 48.9 ด้านข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ 41.9 การสนับสนุนด้านปัจจัยเอื้อ ร้อยละ 41.9 มนุษยชน ร้อยละ 51.1 สิทธิด้านการศึกษา ร้อยละ 54.1 การจัดสวัสดิการของส่วนราชการ ร้อยละ 36.2 การจัดสวัสดิการของส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 42.7 การมีคู่สมรสตามประเพณี ร้อยละ 39.7 ประสบการณ์ การหย่าร้าง ร้อยละ 57.8 และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 63.2 และ 3. ในระดับต่ำ ประกอบด้วย การปลอดจากความหวาดกลัว ร้อยละ 51.9 การปลอดจากความขาดแคลน ร้อยละ 54.9 และการจัดสวัสดิการของส่วนเอกชน ร้อยละ 65.9 ความมั่นคงดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากการมีความมั่นคงของมนุษย์ ( =.14) การสนับสนุนทางสังคม ( =.-0.03) สิทธิทางสังคม ( =.47) และการจัดสวัสดิการทางสังคม ( =-0.02) ร้อยละ 78 (R2.78) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ คือ ควรนำแบบจำลองไปกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างแนวทาง (Road Map) พัฒนาความมั่นคงแก่ครอบครัวผู้ติดเชื้อเอชไอวี สร้างภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ให้มีบทบาทที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบสู่การกำหนดมาตรการทางสังคมสร้างเสริมความมั่นคงตามสมควรแก่สิทธิทางสังคมและสิทธิมนุษยชน และควรกำหนดหน่วยงานสงเคราะห์รับผิดชอบโดยตรงเฉพาะกิจระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนเยียวยาทางสังคมแก่ครอบครัวผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Downloads
References
2. United Nations General Assembly Special Session (UNGASS); 2008.
3. สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการติดตามและประเมินผลการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ระดับประเทศ: กรมควบคุมโรค; 2550.
4. งานควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์. สถานการณ์โรคเอดส์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู; 2551.
5. Israel. Social networks and social support: implications for natural helper and community level interventions. Health Educ Q. 1985 Spring; 1985; 12(1): 65-80.
6. Chen, H. J. and Dudewicz, E. J. Interval Estimation of the Largest Normal Mean Under Unequal Sample Sizes: submitted to Communications in Statistics; 1977.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน