ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ของบุคลากรกรมควบคุมโรค

ผู้แต่ง

  • ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล สำนักโรคไม่ติดต่อ

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดหัวใจ, ปัจจัยที่มีผล, พฤติกรรมการป้องกัน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรกรมควบคุมโรค จำนวน 312 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ไคสแคว สถิติ Contingency Coefficient ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยทางชีวสังคม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ เจตคติต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ความเพียงพอของทรัพยากรในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยเสริมได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ญาติ เพื่อนร่วมงาน การได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และการได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกตัวแปร

Downloads

References

1. Thom L.A., W.B. Kannel, H. Silbershatz and R.B. D'Agostino. 2001. Cardiovascular disease in the United States and prevention approaches. In V. Fuster, R.W.Alexander & R.A. O'Rourke (Eds.), The Heart (10 th ed., 3-18). McGraw-
Hill, New York. 1973.

2. ฉายศรี สุพรศิลป์ชัย.สรุปผลการวิจัยหัวใจและหลอดเลือด.บริษัท พี เอ ลีฟวิ่ง จำกัด, กรุงเทพมหานคร, 2548.

3. World Health Organization. World Health Report 2002: Reducing Risks, Promoting Healthy Life. Geneva. 1996.
4. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพมหานคร. 2552.

5. สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. รายงานผลการดำเนินโครงการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคประจำปี 2550. กรมควบคุมโรค, นนทบุรี. 2551.

6. Yamane. Statistic: An Introductory Analysis. Harper International Edition, Tokyo. 1973.

7. Cronbach. and J. Lee. Essential of Phychological Testing. Harper and Row, New York. 1970.

8. ปิยาภรณ์ นิกข์นิภา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2549.

9. Green L.W,.Health Education Planning : A Diagnostic Approach. Mayfield Publishing Company, California. 1980.

10. อัจฉราภรณ์ ถนอมกิตติ. ประเมินผลของรูปแบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2545.

11. ลัดดาวัลย์ อ้นเมฆ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของญาติในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2545.

12. นุชรัตน์ จิตรเจริญทรัพย์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากรในวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล.วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2549.

13. Rosenstock. The Health belief model and preventive health behavior. pp 52-68 in N.K. Janz and M.H. becker. The Health belief model: Adecade Later. Health Education Quarterly 11(4): 147-152. 1974.

14. วณี กอสุวรรณศิริ. แบบแผนการดำเนินชีวิตเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ: กรณีศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของผู้พิพากษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2543.

15. Pender, N.J. Health Promotion Nursing Practice/Nola J. 3rd ed. Appleton and Lange, Stamford. 1987.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2010

How to Cite

1.
สวัสดิมงคล ศ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ของบุคลากรกรมควบคุมโรค. Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 30 กันยายน 2010 [อ้างถึง 5 เมษายน 2025];36(3):144-53. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/155824