ภาวะสุขภาพของประชาชนที่สัมผัสขี้เถ้าจากการเผาไหม้ถ่านหิน รอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
คำสำคัญ:
สุขภาพและขี้เถ้าถ่านหิน, เขตประกอบการอุตสาหกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของประชาชนที่ได้รับสัมผัสเถ้า (fly ash)จากการเผาไหม้ถ่านหิน กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่อาศัยรอบเขตประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแห่งหนึ่ง 208 คน กลุ่มเปรียบเทียบคือประชาชนห่างไกลเขตประกอบการอุตสาหกรรม 204 คน เก็บข้อมูลในเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2552 ด้วยแบบสัมภาษณ์ภาวะสุขภาพการสัมผัสฝุ่น ตรวจสมรรถภาพปอด เอกซเรย์ทรวงอก การทำงานของไต และความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบข้อมูลด้วย odds ratio ค่า confidence Interval (CI) ที่ร้อยละ 95 พบว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างได้รับสัมผัสขี้เถ้าบริเวณบ้านร้อยละ 33.7 มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ตา และผิวหนังร้อยละ 62.5 46.6 และ 30.3 ตามลำดับ ผลตรวจสมรรถภาพปอด เอกซเรย์ทรวงอก ระดับความเข้มข้นของเลือด และการทำงานของไต (Creatinine) ผิดปกติร้อยละ17.4 5.8 19.7 และ 5.8 ตามลำดับ กลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับสัมผัสเถ้า มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจตา และผิวหนังร้อยละ 38.2 27.9 และ 23.5 การตรวจสมรรถภาพปอด เอกซเรย์ทรวงอก ระดับความเข้มข้นของเลือด และการทำงานของไต (Creatinine) ผิดปกติร้อยละ 21.2 11.0 15.2 และ 2.9 ตามลำดับกลุ่มตัวอย่างมีอาการระบบทางเดินหายใจ (OR=2.692, 95%CI=1.808-4.009) และอาการเกี่ยวกับตา(OR=2.254, 95%CI=1.496-3.394) มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษานี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ควรมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพและควรมีมาตรการจัดการที่แหล่งกำเนิดเถ้า เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน
Downloads
References
2. Stellman, J. M., and etc., Encyclopedia of OccupationalHealth and Environmental, 4 th ed.Geneva, International Labour Office, 1998.4 v .
3. Toxnet.nlm.nih.gov [web site on the Internet].Coal fly ash [update 2009 May 16; cited 2008Dec 20]. Available from: http://toxnet.nlm.nih.gov/cgi-bin/sis/search/f?./temp/~7uXCq9:1
4. IARC.Overall Evaluations of Carcinogenicity:An Updating of IARC Monographs l Volume 1 to 42. IARC Monograph Evaluation CarcinogenRisk Chem Hum(Suppl 7) Lyon: IARC Press,1987
5. Smith, k., R., Veranth, J., M., Kodaventi, U.,P., Aust, A., V., and Pinkerton, K., E., Acute pulmonary and systemic effects of inhalation coal fly ash in rats: comparison to ambient environmental particles, Toxicological sciences. 2006;93(2): 390-399
6. Jost.O,,A., Wolski, N., Hein,K.,G., Wang, S.,and Witten,M.,L., [web site on the Internet]. Inhalationhealth effects of fine particles from theco-combustion of coal and refuse derived fuel ,[update 2009 May 16; cited 2008 Dec 20].Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S0045653502007208
7. จันทร์ทิพย์ อินทวงศ์, สุนทร เหรียญภูมิการกิจ,ชาติวุฒ จำจด, นัยนา พันโกฏิ สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่รอบเขตอุตสาหกรรมปิโตรเคมี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2552;3(3): 378-388
8. Ryu, J.H., Colby, Y. V., Hartman, T. E., andVassallo, R., Smoking - related interstitial lungdisease: a concise review, European RespiratoryJournal. 2001; 17: 122-132
9. Attili, A. K., and etc, Smoking - related interstitiallung disease: Radiologic -Clinical-Pathologic Correlation, Radio Graphics. 2003; 28: 1383-1398
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน