การรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค และสมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลขามทะเลสอ
DOI:
https://doi.org/10.14456/dcj.2014.8คำสำคัญ:
การรับรู้ประโยชน์, อุปสรรค, , สมรรถนะ, เบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค และสมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลขามทะเลสอ จากประชากรจำนวน 799 ราย คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ (a = 0.05) สุ่มตัวอย่างจำนวน 269 ราย ด้วยตารางเลขสุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย (1) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค และสมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และ (2) แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.85 และ 0.95 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.20) อายุเฉลี่ย 61.69 ปี (SD = 11.65) ศึกษาระดับประถมตอนต้น (ร้อยละ 63.20) เป็นโรคเบาหวานโดยเฉลี่ย 4.06 ปี (SD = 3.69) การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคต่อการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.33, SD = 0.87; M = 2.50, SD = 0.82 ตามลำดับ) การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับมาก (M = 3.10, SD = 0.84) และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.68, SD = 0.82) การจัดกิจกรรมการให้คำแนะนำและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ต้องคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคล ระดับของการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค และสมรรถนะของตนเอง ในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงระดับของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย
Downloads
References
2. Wild S, Roglic G, Green A, Sicree R, King H: Global prevalence of diabetes: estimates for the year 2000 and projections for 2030. Diabetes Care 2004;27:1047-53.
3. World Health Organization. Global status report on non-communicable diseases 2010. Geneva; World Health Organization: 2011.
4. งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา. ทะเบียนผู้ป่วยนอกเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกพิเศษโรคเบาหวาน. นครราชสีมา: โรงพยาบาลขามทะเลสอ; 2555.
5. อมรา ทองหงษ์, กมลชนก เทพสิทธา, ภาคภูมิ จงพิริยะอนันต์ รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555 (chronic diseases surveillance report, 2012) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค. 2556]. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/files/report/20140109_40197220.pdf
6. สุธาทิพย์ ภัทรกุลวณิชย์. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2555 (ปีงบประมาณ 2556) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 ก.พ. 2556]. แหล่งข้อมูล: http://dpc5.ddc.moph.go.th/PR/ 56-DM14nov55.pdf
7. อนุชิต กิจการทอง. จอตาเปลี่ยนแปลงจากโรคเบาหวาน. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549; 24:127-32.
8. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า). กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์; 2553.
9. ปิยรัตน์ สุรพฤกษ์. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะหลอดเลือดแข็งตัวกับธาตุเหล็ก. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2007;40:94-7.
10. จิราพร เดชมา, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, วิชุดา กิจธรธรรม. การศึกษาปัจจัยทำนายภาวะแทรกซ้อนให้ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ภายใต้ทฤษฎีการพยาบาลของคิง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2013;27:63-80.
11. ภาวนา กีรติยุตวงศ์. การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน: มโนมติสำคัญสำหรับการดูแล. พิมพ์ครั้งที่ 3. ชลบุรี: บริษัท พี. เพรส จำกัด; 2546.
12. ขนิษฐา นันทบุตร, กล้าเผชิญ โชคบำรุง, วรรณภา นิวาสวัต, พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย, หทัยชนก บัวเจริญ, อำพน ศรีรักษา, และคณะ. การศึกษาและการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน บนพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรมของท้องถิ่นอีสาน. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.
13. สำนักงานป้องควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก. สคร. 9 เผยคนไทยป่วยเบาหวานมากถึง 3.4 ล้านคน เสี่ยงหลอดเลือดสมอง และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร. พิษณุโลก: สำนักงานป้องควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก; 2556.
14. เลิศมณฑน์ฉัตร อัครวาทิน, สุรางค์ เมรานนท์, สุทิติ ขัตติยะ. พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน: กรณีศึกษาผู้ป่วย ตำบลม่วงงาม อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2554; 5:103-12.
15. Pender NJ. Health promotion throughout the life span. 6th ed. Norwalk: Appleton & Lange; 2006.
16. Palank CL. Determinants of health-promotive behavior: a review of current research. Nursing Clinics of North America 1991;26:815-32.
17. ปทุมพรรณ มโนกุลนันท์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน: การศึกษาเชิงมนุษยวิทยาในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคม-ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2535.
18. Adler I A, Boyko EJ, Ahroni JH, Stensel V, Forsberg RC, Smith DG. Risk factors for diabetes peripheral sensory neuropathy. Diabetes Care 1997;20:136-44.
19. American Diabetes Association. Standards of medical care for patients with diabetes mellitus. Diabetes Care 1997;17:1-21.
20. มาลี จำนงผล. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้หญิงโรคเบาหวานในภาคตะวันออก [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.
21. จีรนุช สมโชค. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.
22. Johnson J E. Health care practice of the rural aged. J Gerontological Nursing 1991;27:47- 54.
23. อภิรยา พานทอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.
24. Korlialangas EE, Alahuhta ME, Laitinen H. Barriers to regular exercise among adults at high risk or diagnosed with type 2 diabetes: a systemic review. Health Promotion International 2009;24:416-27.
25. Mohebi S, Azadbakht L, Feizi A, Sharifirad G, Kargar M. Structural role of perceived benefits and barriers to self-care in patients with diabetes. J Educ Health Promot 2013;2:1-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน