การศึกษาความชุกโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ในสัตว์ฟันแทะ หลังภาวะอุทกภัย ปี 2554

ผู้แต่ง

  • อภิรมย์ พวงหัตถ์ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • รัตนา ธีระวัฒน์ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • นพดล แสงจันทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมการแพทย์ทหารบก
  • วุฒิกรณ์ รอดความทุกข์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมการแพทย์ทหารบก

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2014.29

คำสำคัญ:

สัตว์ฟันแทะ, ภาวะอุทกภัย, เลปโตสไปโรสิส, สครับไทฟัส, มิวรีนไทฟัส

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบ cross-sectional surveys โดยดักจับสัตว์ฟันแทะในพื้นที่ หลังประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2554 - กุมภาพันธ์ 2555 ดักจับหนูได้จำนวน 292 ตัว อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1:1.19 จำแนก หนูได้ 7 ชนิด ได้แก่ หนูท่อ (Rattus norvegicus), หนูท้องขาว (Rattus rattus) หนูพุกใหญ่ (Bandicota indica) หนูจี๊ด (Rattus exulans) หนูนาใหญ่ (Rattus argentiventer) หนูพุกเล็ก (Bandicota savilei) และหนูนาชาวเขา (Rattus nitidus) ร้อยละ 57.9, 20.5, 13.7, 4.5, 1.4, 1.0 และ 1.0 และพบปรสิตภายนอกดังนี้ ไรอ่อน หมัด เห็บ ร้อยละ 13.4, 6.5 และ 0.3 สำหรับผลการตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อสครับไทฟัสในทุกพื้นที่การศึกษา คิดเป็นร้อยละ 36.2 พบในหนู 5 ชนิด ได้แก่ หนูท่อ (R.norvegicus) หนูท้องขาว (R.rattus) หนูพุกใหญ่ (B.indica) หนูนาใหญ่ (R.argentiventer) และหนูจี๊ด (R.exulans) ร้อยละ 22.1, 8.3, 3.4, 1.4 และ 1.0 ตามลำดับ พบว่า มีความแตกต่างระหว่างชนิดของหนูที่พบแอนติบอดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) สำหรับแอนติบอดีต่อมิวรีนไทฟัสทุกพื้นที่การศึกษาพบเช่นเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 10.3 พบในหนู 3 ชนิด ได้แก่ หนูท่อ (R.norvegicus), หนูท้องขาว (R.rattus) และหนูจี๊ด (R.exulans) ร้อยละ 7.6, 1.7 และ 1.0 แต่ไม่พบแอนติบอดีต่อทิคไทฟัสจากตัวอย่างที่ส่งตรวจ พบเชื้อเลปโตสไปร่าชนิดก่อโรคในหนูท่อ (R.norvegicus) ร้อยละ 1.4 แต่ไม่พบในหนูชนิดอื่น พบพยาธิปอดหนูหรือพยาธิหอยโข่ง (Angiostrongylus cantonensis) ในหนูท่อ ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 1.3 และหนูนาชาวเขาในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ร้อยละ 33.3 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีรายงานการเกิดโรคมาก่อน

Downloads

References

1. สารานุกรมเสรี (2554). อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ.2554 (อินเทอร์เน็ต). [สืบค้นเมื่อ 7 ต.ค. 2556]. แหล่งข้อมูล: http://th.wikipedia.org/ wiki/อุทกภัยในประเทศไทย_พ.ศ._2 554

2. AP News. Thailand cleans up, but some areas remain flooded [Internet]. 2011 Dec 2 [cited 2013 Oct 7]. Available from: asiancorrespondent.com/71116/thailand-cleans-up-but-some-areas- remain-flooded/

3. Zhang B. Top 5 most expensive natural disasters in history [Internet], [cited 2013 Oct 7]. Available from: www.accuweather.com/en/weather-news/top-5-most-expensive-natural-d/4 745 9

4. วราลักษณ์ ตังคณะกุล, กาญจนา ยังขาว, โนรีรัตน์ สร้อยสระน้อย, ชวนพิศ สุทธินนท์, พรรณราย สมิตสุวรรณ, ประวิทย์ ชุมเกษียร. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเลปโต-สไปโรสิสในประชากรเขตชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2542;8:360-9.

5. ธีระศักดิ์ ชักนำ. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคเลปโตสไปโรสิส ระหว่างเดือนมกราคม- ตุลาคม 2554. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการโรคเลปโตสไปโรสิสประจำปี 2555 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2555.

6. Niwetpathomwat A. and Doungchawee G. An investigation of rodent leptospirosis in Bangkok Thailand. On line Journal of Veterinary Research 2005;9:95-100

7. ดวงพร พูนสมบัติ, นภดล แสงจันทร์, ยุวลักษณ์ ขอประเสริฐ, ดาริกา กิ่งเนตร, วราลักษณ์ ตังคณะกุล. เชื้อเลปโตสไปร่าจากหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2542-2543. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2544;10:516-25.

8. กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์, ผิวพรรณ มาลีวงษ์, วันชัย มาลีวงษ์, วีรจิตต์ โชติมงคล. Eosinophilic Meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอิโอสิโนฟิลิก, ภาควิชาอายุรศาสตร์และปรสิตวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 4 ก.พ. 2555]. แหล่งข้อมูล: http://202.28.95.51/research/files/ health 6/ EOSINOPHILIC%20%20MENINGITIS%20.pdf

9. ปภานิจ สวงโท, พัชรินทร์ ตันติวรวิทย์, โรม บัวทอง. สรุปการตรวจสอบข่าวการระบาดของโรคในรอบสัปดาห์ (Outbreak Verification Summary). รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2555; 43:297-8.

10. สมคิด คงอยู่. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา ประจำปี 2556. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2014

How to Cite

1.
พวงหัตถ์ อ, ธีระวัฒน์ ร, แสงจันทร์ น, รอดความทุกข์ ว. การศึกษาความชุกโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ในสัตว์ฟันแทะ หลังภาวะอุทกภัย ปี 2554. Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 31 มีนาคม 2014 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];40(1):49-5. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/154009