การควบคุมแมลงสาบในโรงพยาบาลและการศึกษาการเป็นพาหะนำเชื้อ Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli และ Citrobacter freundii ของแมลงสาบ

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงษ์ นามณีย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกะดวง
  • ประชุมพร เลาห์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จินดารัตน์ โตกมลธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2015.3

คำสำคัญ:

แมลงสาบ, การติดเชื้อในโรงพยาบาล, แบคทีเรีย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมแมลงสาบในโรงพยาบาล โดยศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการใช้กับดักแมลงสาบชนิดแก้วประยุกต์ (modified jar trap) และกับดักกาวเหนียว (sticky trap) รวมถึงการศึกษาการเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรีย Klebsiella pneumonie, Citrobacter freundii และ Escherichia coli ที่พบในแมลงสาบ วิธีการศึกษาทำโดยวางกับดักแมลงสาบในห้องต่างๆ ของโรงพยาบาล สัปดาห์ละครั้ง นาน 5 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนแมลงสาบที่ดักได้จากห้องต่างๆ ของโรงพยาบาลไม่แตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการดักจับแมลงสาบระหว่างกับดักแก้วประยุกต์และกับดักกาวเหนียว พบว่า มีประสิทธิภาพในการดักจับไม่แตกต่างกันทางสถิติ แบคทีเรียที่พบจากผิวภายนอกจากตัวอย่างแมลงสาบพบเชื้อ Escherichia coli ร้อยละ 28.00 เชื้อ Citrobacter freundii ร้อยละ 26.00 และ Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 20.00 ส่วนแบคทีเรียที่พบจากทางเดินอาหารส่วนกลางของแมลงสาบ พบเชื้อ Escherichia coli ร้อยละ 28.00 เชื้อ Citrobacter freundii ร้อยละ 25.00 และเชื้อ Klebsiella pneumoniae ร้อยละ 18.00

Downloads

References

1. อะเคื้อ อุณหเลขกะ. การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: 3M; 2541.

2. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2554.

3. งานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานประจำปี 2556. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี; 2552.

4. อุษาวดี ถาวระ. ชีววิทยาและการควบคุมแมลงที่เป็นปัญหาสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดีไซร์ จำกัด; 2547.

5. Hsiu-Hua Pai. Cockroaches as potential vector of nosocomial infection. Infection Control and Hospital Epidemiology 2004;25:979-84.

6. Somwang Danchaivijitr, Tepnimit Judaeng, Siriporn Sripalakij, Kakanang Naksawas, Tanarak Plipat. Prevalence of nosocomial infection in Thailand 2006. J Med Assoc Thai 2007;90: 1524-9.

7. ดวงพร คันธโชติ. อนุกรมวิธานของแบคทีเรียและปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์; 2537.

8. นเรศ วโรภาสตระกูล, วีระพงศ์ ลุลิตานนท์. การแยกเชื้อและการจำแนกชนิดของแบคทีเรีย. ใน: จริยา ชมวารินทร์, กิตติพันธุ์ เสมอพิทักษ์, นเรศ วโรภาสตระกูล, บรรณาธิการ. คู่มือปฏิบัติการจุลชีววิทยาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2542. หน้า. 90-8.

9. Lauprasert P. Food preference and feeding behavior of the German Cockroach, Blattlla germanica (Linnaeus). Journal of Scientific Research Chulalongkorn University 2006;31:121-6.

10. Wahid Ur Rehman Mlso, Ayaz Hussain Qureshi, Iqbal Ahmed Khan, Shujaat Hussain. Frequency of different species of cockroaches in tertiary care hospital and their role in transmission of bacterial pathogens. Pakistan Journal of Medical Research 2005;44:143-8.

11. มณเฑียร เพ็งสมบัติ. โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17:117-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2015

How to Cite

1.
นามณีย์ ส, เลาห์ประเสริฐ ป, โตกมลธรรม จ. การควบคุมแมลงสาบในโรงพยาบาลและการศึกษาการเป็นพาหะนำเชื้อ Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli และ Citrobacter freundii ของแมลงสาบ. Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2015 [อ้างถึง 25 เมษายน 2025];41(4):264-70. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/153044