ต้นทุนการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับเกษตรกรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม เพชรบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/dcj.2016.3คำสำคัญ:
การจัดบริการอาชีวอนามัย, คลินิกสุขภาพเกษตรกร, ต้นทุนต่อหน่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการให้บริการด้านอาชีวอนามัยของคลินิกสุขภาพเกษตรกรของหน่วยบริการปฐมภูมิ เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) วิเคราะห์ต้นทุนแบบอิงกิจกรรม (Activity-based costing; ABC) ในมุมมองของผู้ให้บริการ ช่วงระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ของจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนรวม 11 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบเก็บข้อมูลเงินเดือน/ค่าตอบแทนต่างๆ ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอาชีวอนามัยใน รพ.สต. แบบเก็บข้อมูลการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานฯ แบบกระจายสัดส่วนของงานที่ปฏิบัติ แบบเก็บข้อมูลกิจกรรมตามผลผลิต และค่าวัสดุที่ใช้ในการจัดบริการอาชีวอนามัยของคลินิกสุขภาพเกษตรกร แบบเก็บข้อมูลวัสดุและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในกิจกรรมกลางของหน่วยงาน แบบเก็บข้อมูลต้นทุนค่าลงทุนสำหรับงานบริการอาชีวอนามัยฯ วิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนรวมของหน่วยบริการฯ โดยรวมต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุและต้นทุนค่าลงทุน และข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยกิจกรรม (unit cost) โดยนำต้นทุนรวมทั้งหมดในแต่ละกิจกรรมมาหารด้วยจำนวนบริการของกิจกรรมนั้นๆ โดยใช้โปรแกรม Ms Excel สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย อัตราส่วน และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนรวมต่อ รพ.สต. เท่ากับ 260,519.7 บาท และมีสัดส่วน ค่าแรง : ค่าวัสดุ : ค่าลงทุน เท่ากับ 49.1:47.2:1.0 กิจกรรมซักประวัติ คัดกรอง ตรวจวินิจฉัยโรคและการบาดเจ็บ ต้นทุนรวมต่อ รพ.สต. สูงที่สุดเท่ากับ 52,531.3 บาท รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์การดำเนินงานจัดบริการอาชีวอนามัยของคลินิกสุขภาพเกษตรกรระดับดีและดีมากมีต้นทุนต่อ รพ.สต. สูงเป็น 1.2 และ 1.4 เท่า ของการดำเนินงานจัดบริการอาชีวอนามัยของคลินิกสุขภาพเกษตรกรระดับพื้นฐาน กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงในการทำงานโดยใช้แบบ นบก.1-56 มีต้นทุนต่อรายเท่ากับ 42.8 บาท การคัดกรองและซักประวัติ การตรวจวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และการให้การรักษาผู้เจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน มีต้นทุนต่อรายเท่ากับ 65.2, 29.4 และ 105.2 บาทตามลำดับ การสำรวจและประเมินความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีต้นทุนต่อครั้งการดำเนินการเท่ากับ 9,656.8 บาท ผลจากการศึกษา สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนสนับสนุนงบประมาณสำหรับการจัดบริการเพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรได้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งการสนับสนุนให้ รพ.สต. มีการยกระดับคลินิกสุขภาพเกษตรกรสู่ระดับดีและดีมากให้มากขึ้น เพื่อการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับเกษตรกรที่ครอบคลุมทุกกิจกรรม
Downloads
References
2. แสงโฉม ศิริพานิช. สถานการณ์และผลต่อสุขภาพจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2556. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556;44:689-92.
3. ปรีชา เปรมปรี. สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพในกลุ่มเกษตรกร. ใน: เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, บรรณาธิการ. ประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประจำปี 2558 “ฝ่าวิกฤติสารเคมีกำจัดศัตรูพืช : สถานการณ์และแนวทางการจัดการตลอดห่วงโซ่”; วันที่ 26 มีนาคม 2558; ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์, กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: 2558. หน้า 1-28.
4. จิว เชาว์ถาวร, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของเกษตรกรปลูกหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. พยาบาลสาร 2014;41:35-47.
5. ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม, กาญจนา นาถะพินธุ, วรรณภา อิชิดะ, ทวีศักดิ์ ปัดเต. พฤติกรรมเสี่ยงและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะสุขภาพของเกษตรกรทำนา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6:4-12.
6. ฝ่ายข้อมูลเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ข้อมูลพื้นฐานสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2558]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaipan.org/ sites/default/files/confer¬ence2555/conference2555_0_01.pdf
7. สำนักการแพทย์. อาชีวอนามัยและความปลอดภัยพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ธ.ค. 2558]. แหล่งข้อมูล: http://www.sut.ac.th/im/618241- BASIC _OCC/leson%2010-3.htm
8. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ. แนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัย : คลินิกสุขภาพเกษตรกร. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
9. ศูนย์พัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัย จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานสรุปผลการศึกษาต้นทุนการจัดบริการอาชีวอนามัยของโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ประจำปีงบประมาณ 2555. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
10. กรมบัญชีกลาง. การตีราคาทรัพย์สิน. หนังสือกรมบัญชีกลางที่ กค.0528.2/ว.33545;2544 (16 พ.ย. 2544)
11. Yoram Eden, Boaz Ronen. Activity based costing activity based manageing [Internet]. [cited 2016 Jan 22]. Available from: http://www.boazronen. org/PDF/Activity Based Costing and Activity Based Managment.pdf
12. บรรเทิง เฉียงกลาง. บทสรุปวิเคราะห์ต้นทุนอําเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ ปีงบประมาณ 2555 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 พ.ย. 2558]. แหล่งข้อมูล: http://www.nongkihealth.com/Document /Strategy/unitcost/TontunNongki_2555_2.pdf
13. ดำรงค์ สีระสูงเนิน, ประเสริฐ เก็มประโคน. การศึกษาต้นทุนการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2555. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24: 296-304.
14. L. Godderis, P. Fabiani, J. Van Peteghem, G. Moens, R. Masschelein, H. Veulemans. Detailed calculation of occupational health service costs through activity-based costing: the cost of risk-assessment projects. Occupational Medicine [Internet]. 2005 [cited 2016 Jan 12];55:131- 2. Available from: http://www.ncbi.nlm. nih.gov/pubmed/15757988
15. ฝนทิพย์ พริกชู, ดารารัตน์ สำเภาสงฆ์, ชัยยุทธ ขุนเจริญ, นฤมล รักษายศ. พฤติกรรมการป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและความพึงพอใจต่อคลินิกสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง. สัมมนาวิชาการป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ ประจำปี 2559; วันที่ 27-29 มกราคม 2559; โรงแรมเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ, กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: 2559. หน้า 218.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน