สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ โรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553-2557)

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา ศรีวณิชชากร (เวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา) กรมควบคุมโรค

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2017.4

คำสำคัญ:

โรคไม่ติดต่อ, สถานการณ์, อัตราตาย, อัตราป่วย, ประเทศไทย, ข้อมูล 43 แฟ้ม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การตาย และความชุกของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง* 4 ชนิด ที่พบบ่อยในประเทศไทย อันได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ในช่วงปี พ.ศ. 2553-2557 ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานที่ เพื่อหาแนวโน้มของโรคในลักษณะต่างๆ และบ่งชี้ ประเด็นสถานการณ์ และกลุ่มเป้าหมายที่ควรให้ความสำคัญในการดำเนินงานควบคุมป้องกันในระยะต่อไป วิธีการ ศึกษา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ที่เป็นฐานข้อมูลการตายจากสำนักทะเบียนราษฎร์ และข้อมูลการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ในปี พ.ศ. 2553-2557 จากฐานข้อมูล 43 แฟ้ม ในระบบกระทรวงสาธารณสุข (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) ซึ่งมี การจัดการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมบูรณ์ของข้อมูลก่อนวิเคราะห์ ร่วมกับฐานข้อมูลประชากรในแต่ละปี จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปข้อค้นพบจากข้อมูลฐานการตายที่รวบรวมจากฐานทะเบียนราษฎร์ และข้อมูลการ เจ็บป่วยจากฐานข้อมูล 43 แฟ้ม ที่แสดงสถานการณ์การเจ็บป่วยของโรคไม่ติดต่อ 4 โรค สามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ ที่แสดงแนวโน้มปัญหาโรคไม่ติดต่อในแต่ละปีได้ รวมทั้งใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางระบาด วิทยาที่จำแนกเป็นกลุ่มอายุและเพศ แสดงถึงสถานการณ์ของประชาชนในพื้นที่ลักษณะต่างๆ อย่างต่อเนื่องได้ อีกทั้งใช้เป็นการสะท้อนผลการดำเนินงานของการจัดการควบคุม ป้องกันโรคโดยทางอ้อม แต่ข้อมูลฐานการป่วย ที่ใช้ในการศึกษานี้ก็ยังมีข้อจำกัดบางส่วนที่ควรมีการศึกษาเจาะลึก เพื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลแหล่งอื่นๆ ต่อไป จากการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษานี้พบว่า สถานการณ์การตายจากโรคไม่ติดต่อ 4 ชนิด และความชุกจาก โรคไม่ติดต่อ 4 ชนิด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี พ.ศ. 2553-2557 เพิ่มขึ้นในทุกเขตพื้นที่สุขภาพ ด้วยอัตราเพิ่มที่แตกต่างกัน และเพิ่มขึ้นในกลุ่มชายมากกว่าหญิง การตายเกิดขึ้นสูงสุดในกลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไป แนวโน้มการตายในกลุ่มอายุ 30-69 ปี เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 28.10 ในผู้ชาย และร้อยละ 18.8 ในผู้หญิง ซึ่งคิด เป็นการเพิ่มขึ้นของอัตราการตายที่สูงกว่าค่าเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกกำหนด นอกจากนั้นยังพบว่า การตาย ในกลุ่มที่อายุน้อยลง ส่วนสถานการณ์ความชุกของโรคไม่ติดต่อใน 4 โรค ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากทั้งในกลุ่มชายและ หญิง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุน้อยเช่นกัน โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจากฐาน 43 แฟ้ม พบใน กลุ่มหญิงมากกว่ากลุ่มชาย แต่โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง พบในกลุ่มชายมากกว่าหญิง สรุปว่า ข้อมูลสถานการณ์การตายและการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อในระยะ 5 ปี มีแนวโน้มที่เป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง จำเป็นต้องเร่งจัดการควบคุมป้องกันโรค ด้วยกลวิธีที่จำเพาะกับแต่ละกลุ่มประชากรมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดการ ในกลุ่มประชากรชายวัยทำงาน เพื่อให้การควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเกิดประสิทธิผลเพิ่มขึ้น *โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในเอกสารนี้ หมายถึง โรคไม่ติดต่อ 4 โรค คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (NIDDM) โรคหัวใจ ขาดเลือด (ischemic heart disease) โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ยังไม่ได้ หมายรวมถึงโรคถุงลมโป่งพองและโรคมะเร็ง

Downloads

References

1. World Health Organization. Global status report on non-communicable diseases. Geneva: World Health Organization; 2014.

2. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบาย สุขภาพระหว่างประเทศ; 2557.

3. Bloom DE, Cafiero E, Jane-Lolpis E, Abrshams-Gessel S, Bloom LR. The global economic burden of non-communicable diseases. Geneva: World Economic Forum; 2011.

4. World Health Organization. World Health As¬sembly: global strategy for the prevention and control of non-communicable diseases. Geneva: World Health Assembly; 2000.

5. World Health Organization. Global action plan for the prevention and control of non-communi¬cable diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization; 2013.

6. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤต สังคม. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพ ระหว่างประเทศ; 2557.

7. เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม. โครงการพัฒนาคุณภาพ สาเหตุการตายในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2551 (setting priorities using information on cost-effectiveness: SPICE 2004-2009). กรุงเทพ มหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2552.

8. อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, สุพัตรา ศรีวณิชชา กร. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อ ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ ติดต่อ และการจัดระบบบริการ เพื่อตอบสนองต่อ โรคไม่ติดต่อตามเป้าหมาย และตัวชี้วัดระดับโลก ของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553-2558. นนทบุรี: สหมิตร พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง; 2559.

9. ภัทระ แสนไชยสุริยา, ภูษิต ประคองสาย, ปาริชาติ จันทร์จรัส, กุมารี พัชนี, อุมาพร อุดมทรัพยากุล, บังอร เทพเทียน.รายงานประเมินแผนงานควบคุม โรคไม่ติดต่อในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2553- 2557. กรุงเทพมหานคร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

10. เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, พรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์. การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2549.

11. วิชัย เอกพลากร, เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม, สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, กนิษฐา ไทยกล้า. การสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่ายกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2017

How to Cite

1.
ศรีวณิชชากร ส. สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ โรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553-2557). Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 29 ธันวาคม 2017 [อ้างถึง 5 เมษายน 2025];43(4):379-90. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/151715