การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการคัดกรองผู้เดินทางจากเขตติดโรคไข้เหลือง กรณีศึกษา : ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง
DOI:
https://doi.org/10.14456/dcj.2018.2คำสำคัญ:
ระบบฐานข้อมูล, ผู้เดินทาง, เขตติดโรค, ไข้เหลือง, ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของระบบ ฐานข้อมูล www.pagth.net (2) ประเมินประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูล www.pagth.net, Excel online และ E-screening (3) ศึกษาความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ และ (4) ความพึงพอใจของผู้เดินทางต่อระบบ E-screening กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 11 คน และผู้เดินทางจาก เขตติดโรคไข้เหลือง จำนวน 8,413 คน เลือกแบบเจาะจง ระบบฐานข้อมูลการตัดกรองผู้เดินทางจากเขตติดโรค ไข้เหลืองที่ท่าการศึกษาคือ ระบบฐานข้อมูล www.pagth.net, Excel online และ E-screening วิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพแบบสร้างข้อสรุปด้วยการบรรยาย แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลควรพัฒนาภายใต้ ทรัพยากรที่มีอยู่ สร้างนวัตกรรมด้านสาธารณสุขที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน ด้านประสิทธิภาพพบว่า ระบบ E-screening มีมากกว่า www.pagth.net และ Excel online ด้านความพึงพอใจภาพรวมของเจ้าหน้าที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและผู้เดินทาง ต่อระบบ E-screening พบว่า อยู่ในระดับมาก (X = 4.25 และ SD = 0.71 และ X = 4.60 และ SD = 0.79) ควรขยายผลโดยนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม กับบริบทของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศแห่งอื่น ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การตัดกรองผู้เดินทางจากเขตติดโรคติดต่ออันตรายและโรคระบาด ควรพัฒนาต่อยอดให้สามารถกรอกข้อมูล ในระบบแบบไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และพัฒนารูปแบบการดำเนินงานแบบมิส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย เพื่อความ ยั่งยืนในการดำเนินงานในระยะยาว
Downloads
References
2. ดิน ปรัชญพฤทธิ์, ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์. ประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน. กรุงเทพ มหานคร: คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2537.
3. พูลศักดิ์ หลาบสรดา, นำคุณ ศรีสนิท. การพัฒนา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานบริการของ สายงานเทคโนโลยีและสารสนเทศภายในบริษัท : กรณีศึกษา บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพ มหานคร. กรุงเทพมหานคร: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2559.
4. สนั่น หวานแท้. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อ การจัดเก็บและลืบคัน สำหรับการบริหารงานบุคคล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร [สารนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาลตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย ศิลปากร; 2553.
5. นํ้าลิน เทียมแก้ว. การพัฒนาระบบบริการสารสนเทศ เพื่อการวิจัย.มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
6. บริษัท เอ็นดูเน็ต จำกัด. ความพึงพอใจ วัดอย่างไร ให้เหมาะสม [อินเทอร์เน็ต]. [ลืบคันเมื่อ 15 ก.ย. 2559]. แหล่งข้อมูล:http://WWW.edunetglobal.com/KM/Researchl01/012015 .html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน