การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคไข้หูดับของโรงพยาบาล 5 แห่ง ใน 5 จังหวัดทางภาคเหนือในปี พ.ศ. 2556
DOI:
https://doi.org/10.14456/dcj.2015.18คำสำคัญ:
ไข้หูดับ, ระบบเฝ้าระวัง, การประเมินบทคัดย่อ
โรคไข้หูดับ เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือจากการสัมผัสเนื้อหรือเลือดสุกรที่มีเชื้อ Streptococcus suis ปนเปื้อนอยู่ โรคนี้มีอัตราตาย ร้อยละ 5.00-20.00 สำนักระบาดวิทยามีการเฝ้าระวังโรคนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 การประเมินระบบเฝ้าระวังครั้งนี้ ทำให้ทราบถึงขั้นตอนการรายงานโรคไข้หูดับในโรงพยาบาลทั่วไป 5 แห่ง ใน 5 จังหวัดทางภาคเหนือ และทราบถึงปัญหาอุปสรรคในการรายงานโรค โดยทำการศึกษาภาคตัดขวาง (cross sectional study) ศึกษาคุณลักษณะข้อมูลเชิงปริมาณ ค้นหาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ใน 5 โรงพยาบาลในเขตภาคเหนือ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Epi Info) ในการวิเคราะห์ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบผู้ป่วย 460 ราย เข้าตามนิยามในการรายงานโรค 67 ราย เป็นผู้ป่วยสงสัย 19 ราย ผู้ป่วยเข้าข่าย 28 ราย ผู้ป่วยยืนยัน 20 ราย มีความไวหรือครบถ้วนในการรายงาน ร้อยละ 29.89 คิดเป็นค่าพยากรณ์บวก (predictive positive value) ร้อยละ 44.45 โดยมีค่าเฉลี่ยอายุใกล้เคียงกับระบบเฝ้าระวัง (รง. 506) สามารถเป็นตัวแทนได้ ในด้านความทันเวลา มีค่าเฉลี่ย 4.90 วัน ระบบเฝ้าระวังโรคในโรงพยาบาล พยาบาลเป็นจุดคัดกรองสำคัญในการตรวจจับความผิดปกติของโรคนี้ ถ้าพยาบาลมีความรู้และเข้าใจระบบเฝ้าระวังโรค และมีเครือข่ายการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ จะเพิ่มความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวัง และทำให้ทราบสถานการณ์การเกิดโรคที่แท้จริงได้
Downloads
References
2. Perch B, Kristjansen P, Skadhauge K, Group R streptococci pathgenic for man. Tow case of miningitis and one fatal case of sepsis. Axta Pathol Microbiol Scacd 1968;74:69-76.
3. Yu H, Jing H, Chen Z, Zheng H, Zhu X, Wang H, et al. Human Streptococcus suis outbreak, Sichuan China. Emerg Infect Dis 2006; 12: 914-20.
4. Pootong p, Boongrid p, Phuaprsdit p, Streptococcus suis miningitis at Ramathibodi Hospital. Ramathibodi Med J 1993;16:203-7.
5. เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ธีรศักดิ์ ชักนำ, ประวิทย์ ชุมเกษียร. ข่าวการเกิดโรคในคนที่ติดต่อมาจากสุกร ในสาธารณรัฐประชาชนจีน. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2548;36:502-3.
6. กลุ่มงานพัฒนาระบบและมาตรฐานงานระบาดวิทยา สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2546.
7. Fongcom A, Pruksakorn S, Netsirisawan P, Pongprasert R, Onsibud P. Streptococcus suis infection: a prospective study in northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2009;40:511-7.
8. Wangkaew S, Chaiwarith R, Tharavichitkul P, Supparatpinyo K, Streptococcus suis infection: a series of 41 cases from Chiang Mai University Hospital. Journal of Infection 2006;52:455-60.
9. Donsakul K, Dejthevapom C, Witoonpanich R. Streptococcus suis infection: clinical features and diagnostic pitfalls. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2003;34:154-8.
10. Suankratay C, Intalapapom P, Nunthapisud P, Arunyingmongkol K, Wilde H. Streptococcus suis meningitis in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2004;35:868-76.
11. Vilaichone RK, Vilaichone W, Nunthapisud P, Wilde H. Streptococcus suis infection in Thailand. J Med Assoc Thai 2002;85:S109-17.
12. Kerdsin A, Dejsirilert A, Puangpatra P, Sripakdee S, Chumla K, Boonkerd N, et al. Genotypic profile of Streptococcus suis serotype 2 and clinical features of infection in humans, Thailand. Emerg Infect Dis 2011;17:835-42.
13. Huang YT, Teng LJ, Ho SW, Hsueh PR. Strep-tococcus suis infection. J Microbiol Immunol Infect 2005;38:306-13.
14. Higgins R, Gottschalk M, Mittal K R, Beaudoin M. Streptococcus suis infection in swine. A sixteen month study. Canadian J of veterinary Research 1990;54:170-3.
15. Pathanasophon P, Worarach A, Narongsak W, Yuwapanichsampan S, Nuangmek A, Sakdasirisathapom A, et al. Prevalence of Streptococcus suis in Tonsils of Slaughtered Pigs in Lampang and Phayao Provinces, Thailand, 2009-2010. J Trop Med Parasitol 2013; 36:8-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารควบคุมโรค ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรือการวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของกรมควบคุมโรค ประเทศไทย หรือกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนจำต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน