ประสิทธิศักย์สารสกัดจากหนอนตายหยาก สาบเสือ และสะเดาช้างต่อยุงลายบ้าน โดยการพ่นสารเคมีแบบฝอยละเอียด

ผู้แต่ง

  • คณพศ ทองขาว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พัชรินทร์ เจียรบุตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • วาสินี ศรีปล้อง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
  • ธีรกมล เพ็งสกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

DOI:

https://doi.org/10.14456/dcj.2017.34

คำสำคัญ:

หนอนตายหยาก, สาบเสือ, สะเดาช้าง, ยุงลายบ้าน

บทคัดย่อ

โรคติดต่อนำโดยแมลงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายบ้านเป็นยุงพาหะนำโรคที่สำคัญ มีรายงานพบผู้ป่วยจำนวนมากในแต่ละปี ทำให้การป้องกันควบคุมโรคจึงมุ่งเน้นที่การควบคุมยุงพาหะ โดยวิธีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงเป็นวิธีที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ส่งผลให้มีรายงานการสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดแมลงของลูกน้ำและตัวเต็มวัยยุงลายบ้านเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ การใช้ผลิตภัณฑ์สารเคมีตามธรรมชาติทดแทนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการใช้สารเคมีสังเคราะห์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ของสารสกัดจากหนอนตายหยาก สาบเสือและสะเดาช้าง และหาระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการฆ่ายุงลายบ้านโดยวิธีพ่นสารเคมีแบบฝอยละเอียด โดยใช้ยุงลายบ้านตัวเต็มวัยสายพันธุ์มาตรฐานห้องปฏิบัติการเพศเมีย อายุ 2-5 วัน ทดสอบกับสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม), 1, 5, 10, 20, และ 50 เปอร์เซ็นต์ และบันทึกผลจำนวนยุงลายบ้านที่ตายหลังทำการทดสอบ 24 ชั่วโมง พบว่า สาร สกัดจากสะเดาช้างที่ระดับความเข้มข้น 5, 10, 20 และ 50 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการตายของยุงลายบ้านเท่ากับ 2, 11, 78 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่สารสกัดจากสะเดาช้างที่ความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ หนอนตายหยาก และสาบเสือในทุกระดับความเข้มข้นไม่สามารถฆ่ายุงลายบ้านได้ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอัตราการตายของยุงลายบ้านของสารสกัดจากสะเดาช้าง หนอนตายหยากและสาบเสือพบว่า มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) ทั้งนี้สารสกัดจากสะเดาช้างที่ระดับความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ สามารถฆ่ายุงลายบ้านได้ดีที่สุด ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนารูปแบบและสูตรผสมของสารสกัดจากสะเดาช้างให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการป้องกันกำจัดยุงลายในอนาคต ซึ่งการพิจารณาเลือกใช้สมุนไพรกำจัดแมลงต้องพิจารณาผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุน รวมถึงความเหมาะสมในท้องถิ่นต่างๆ ด้วย

Downloads

References

1. กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ไข้เลือดออกและการควบคุมยุงพาหะ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 17 ก.พ. 2560]. แหล่งข้อมูล: http://webdb. dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp? info_id=123

2. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกี่และโรคไข้เลือกออกเดงกี่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559

3. บุญเสริม อ่วมอ่อง, สงคราม งามปฐม, มาโนช ศรีแก้ว. การศึกษาความไวของยุงลาย Aedes aegypti ต่อสารกำจัดแมลงในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2542;18:93-101.

4. Braga IA, Lima JBP, Soares SS, Valle D. Aedes aegyptei resistance to temephos during 2001 in several municipalities in the states of Rio de Ja¬neiro, Sergipe, and Alagoas, Brazil. Mem Inst Oswaldo Cruz [Internet]. 2004 [cited 2005 Sep 11];99:199-203. Available from: http://www. ncbi. nlm. nih.gov/pubmed/15250476

5. Macoris MLG, Maria M, Andrighetti T, Takaku L, Glasser CM, Garbeloto VC, et al. Resistance of Aedes aegypti from the State of Sao Paulo, Brazil, to Organophosphates Insecticides. Mem Inst Oswaldo Cruz 2003;98:703-8.

6. Saelim V, Roijanapremsuk J, Suvannadabba S, Pandii W, Jones JW, Sithiprasasna R. bottle and biochemical assays on temephos resistance in Aedes aegypti in Thailand [Internet]. [cited 2017 Feb 18]. Available from: www.tm.mahidol.ac. th/seameo/2005_36_2/19-3467.pdf

7. Wirth MC, Ceorghiou CP. Selection and charac¬terization of temephos resistance in a population of Aedes aegypti from Tortola, British Virgin Is¬lands. J Am Mosq Control Assoc 1999;15:315- 20.

8. ประคอง พันธุ์อุไร. รายงานการศึกษาชีววิเคราะห์ของรากหนอนตายอยาก. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2520;19:145-55.

9. ฟรินน์ดอทคอม. หนอนตายหยาก สรรพคุณประโยชน์ของต้นหนอนตายหยาก 29 ข้อ ! [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 ส.ค. 2557]. แหล่งข้อมูล: http:// medthai.com/หนอนตายหยาก/

10. Albuquerque MRJR, Silveira ER, Uchoa DEA, Lemos TLG, Souza EB, Santiago GMP, et al. Chemical composition and larvicidal activity of the essential oils from Eupatorium betonicae¬forme (D.C.) Baker (Asteraceae). Journal of agricultural and food chemistry 2004;52:6708-11.

11. ฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์; 2546.

12. Su T, Mulla MS. Oviposition bioassay responses of Culex tarsalis and Culex quinquefasciatus. Entomologia experimentalis et applicata 1999; 91:337.

13. Awad OM, Shimaila A. Operational use of neem oil as alternative anopheline larvicide. Part A: laboratory and field efficacy. Eastern Mediterra¬7. Wirth MC, Ceorghiou CP. Selection and charac¬terization of temephos resistance in a population of Aedes aegypti from Tortola, British Virgin Is¬lands. J Am Mosq Control Assoc 1999;15:315- 20.

8. ประคอง พันธุ์อุไร. รายงานการศึกษาชีววิเคราะห์ของรากหนอนตายอยาก. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2520;19:145-55.

9. ฟรินน์ดอทคอม. หนอนตายหยาก สรรพคุณประโยชน์ของต้นหนอนตายหยาก 29 ข้อ ! [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 ส.ค. 2557]. แหล่งข้อมูล: http:// medthai.com/หนอนตายหยาก/

10. Albuquerque MRJR, Silveira ER, Uchoa DEA, Lemos TLG, Souza EB, Santiago GMP, et al. Chemical composition and larvicidal activity of the essential oils from Eupatorium betonicae¬forme (D.C.) Baker (Asteraceae). Journal of agricultural and food chemistry 2004;52:6708-11.

11. ฝ่ายชีววิทยาและนิเวศวิทยา กลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงทางการแพทย์. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์; 2546.

12. Su T, Mulla MS. Oviposition bioassay responses of Culex tarsalis and Culex quinquefasciatus. Entomologia experimentalis et applicata 1999; 91:337.

13. Awad OM, Shimaila A. Operational use of neem oil as alternative anopheline larvicide. Part A: laboratory and field efficacy. Eastern Mediterra¬nean Health Journal 2003;9:637-45.

14. กองควบคุมวัตถุมีพิษ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย ; 2540.

15. คณิต ขอพลอยกลาง, จารุยา ขอพลอยกลาง. ผลของสารสกัดจากสภาพแห้งของเมล็ดสะเดา (Aza¬dirachta sp.) เมล็ดน้อยหน่า (Annona sp.) รากหนอนตายหยาก (Stemona sp.) และรากหางไหล (Derris sp.) ต่ออัตราการตายของหนอนแมลงวัน แมลงวัน ลูกน้ำยุง ยุงและเห็บโค. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 2557;6: 39-47.

16. ณุฉัตรา วัลลีย์ลักษณ์. ผลของสารสกัดหนอนตายหยาก (Stemona collinsae) ต่อสัตว์น้ำบางชนิด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย; 2528.

17. มนัสวี พัฒนกุล, สนั่น ศุภธีรสกุล, สุนทร พิพิธแสงจันทร์. ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาช้าง (Azadirachta excels (Jack) Jacobs.) ในการป้องกันการดูดเลือดของยุงลาย (Aedes aegypti L.). วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2551;11:35-43.

18. มัสรินทร์ นาคสุวรรณ, อรัญ งามผ่องใส, สนั่น ศุภธีรสกุล, ธีรพล ศรีชนะ. ผลของน้ำมันสะเดาช้าง และน้ำมันหมอระเหยบางชนิดต่อการตายและการพัฒนาของลูกน้ำยุงลายบ้าน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 2555;43:53-6.

19. พาลาภ สิงหเสนี. พิษของยาฆ่าแมลงต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2017

How to Cite

1.
ทองขาว ค, เจียรบุตร พ, ศรีปล้อง ว, เพ็งสกุล ธ. ประสิทธิศักย์สารสกัดจากหนอนตายหยาก สาบเสือ และสะเดาช้างต่อยุงลายบ้าน โดยการพ่นสารเคมีแบบฝอยละเอียด. Dis Control J [อินเทอร์เน็ต]. 31 มีนาคม 2017 [อ้างถึง 12 เมษายน 2025];43(1):35-43. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/149015