@article{Sasipreeyajan_Pohuang_Sirikobkul_2013, title={Efficacy of Different Vaccination Programs against Thai QX-like Infectious Bronchitis Virus}, volume={42}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/9859}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong></strong></p> <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินผลการป้องกันเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อสายพันธุ์ QX-like ที่แยกได้ในประเทศไทยด้วยการ ให้โปรแกรมวัคซีนที่แตกต่างกัน โดยแบ่งไก่ทดลองออกเป็น 5 กลุ่มๆละ 16 ตัวกลุ่มที่ 1-4 ได้รับโปรแกรมวัคซีนแตกต่างกัน ส่วนกลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มควบคุมผลบวกเมื่อไก่อายุได้ 1 วัน ไก่กลุ่มที่ 2 และ 3 จะได้รับวัคซีนสายพันธุ์ QX ส่วนไก่กลุ่มที่ 4 ได้รับวัคซีนสายพันธุ์ H120 หลังจากนั้นเมื่อไก่อายุ 14 วัน ไก่กลุ่มที่ 2 ได้รับวัคซีนสายพันธุ์ QX ในขณะที่ไก่กลุ่มที่ 3 และ 4 ได้รับวัคซีนรวมที่ประกอบด้วยไวรัสนิวคาส เซิลสายพันธุ์ B1 รวมกับไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อสายพันธุ์แมสซาชูเซตส์และคอนเนคติคัท (B1/Mass/Conn) สําหรับกลุ่มที่ 1 ได้รับวัคซีน สายพันธุ์ QX ที่อายุ 7 วันเพียงครั้งเดียวเมื่อไก่อายุ 28 วันไก่แต่ละตัวในกลุ่มที่ 1-5 ได้รับเชื้อพิษทับซึ่งเป็นเชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ สายพันธุ์ QX-like ที่แยกได้ในประเทศไทยขนาด 10<sup>4</sup> EID<sub>50</sub> ทําการประเมินผลการป้องกันโรคภายหลังจากให้เชื้อพิษทับเป็นเวลา 7 วัน ผล การศึกษาพบว่าไก่ทุกกลุ่มที่ได้รับวัคซีนมีจํานวนไก่ที่แสดงอาการป่วยน้อยกว่ากลุ่มควบคุมผลบวกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การ ป้องกันการติดเชื้อที่ท่อลมและรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาที่ท่อลมและไตไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับกลุ่มควบคุมผลบวก (p>0.05) ส่วนน้ําหนักตัวไก่นั้นพบว่าไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีนยกเว้นกลุ่มที่ 3 มีน้ําหนักตัวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับกลุ่มควบผลบวก (p>0.05) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมวัคซีนที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ทุกโปรแกรมสามารถลดอาการป่วยจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ QX-like ที่แยกได้ใน ประเทศแต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อและการทําให้เกิดรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาที่ท่อลมและไต</p> <p><strong>คําสําคัญ :</strong> ไก่, เชื้อไวรัสหลอดลมอักเสบติดต่อ, วัคซีน</p> <p> </p> <p><strong>Abstract </strong></p> <p>The present study was designed to evaluate the protection induced by different vaccination programs against Thai QX-like infectious bronchitis virus (IBV). The chickens were divided into 5 groups, 16 chickens in each. Groups 1-4 were vaccinated with different regimes of vaccination program against IBV. Groups 5 did not receive IBV vaccine and served as a positive control group. At 1 day old, the chickens in groups 2 and 3 were vaccinated with QX vaccine whereas the chickens in group 4 were vaccinated with H120 vaccine. At 14 days old, revaccination was performed in group 2 with QX vaccine whereas groups 3 and 4 were vaccinated with a combined vaccine, Newcastle disease virus strain B1 combined with IB strain Massachusetts (Mass) and Connecticut (Conn) (B1/Mass/Conn). The chickens in group 1 were only vaccinated with QX vaccine at 7 days old. At 28 days old, the chickens in groups 1-5 were individually challenged with 10<sup>4</sup> EID<sub>50</sub> of Thai QX-like IBV (isolate THA80151). The protection was evaluated at 7 days post-inoculation. The results showed that the clinical signs of all vaccinated groups were lower (p<0.05) than those of the positive control group. Virus detection in the tracheas and the histopathological lesion score of the tracheas and kidneys of the vaccinated groups were not significantly different (p>0.05) from those of the positive control group. The body weights of the vaccinated groups excluding group 3 were not significantly different (p>0.05) from that of the positive control group. It is suggested that all of the vaccination programs used in this study offered clinical protection against Thai QX-like IBV, but they did not provide sufficient protection against virus infection and histopathological lesions in the tracheas and kidneys.</p> <p><strong>Keywords :</strong> chickens, infectious bronchitis virus, vaccine</p>}, number={1}, journal={The Thai Journal of Veterinary Medicine}, author={Sasipreeyajan, Jiroj and Pohuang, Tawatchai and Sirikobkul, Nida}, year={2013}, month={Jul.}, pages={73–79} }