Reproductive and Dairy Performances of Thai Swamp Buffaloes under Intensive Farm Management
Keywords:
น้ํานม, ประสิทธิภาพ, การสืบพันธุ์, กระบือปลัก, dairy, performance, reproduction, swamp buffaloAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ประเมินประสิทธิภาพการสืบพันธุ์และผลผลิตน้ํานมในกระบือปลักภายใต้การจัดการระบบฟาร์มโดยเกบข็ อม้ ลทางการ ู สืบพันธุ์และผลผลิตน้ํานมจากกระบือปลักจํานวน 48 ตัวระหว่างปีพ.ศ. 2543 ถึง ปีพ.ศ. 2553 จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าดัชนี ประสิทธิภาพการสืบพันธุ์และผลผลิตน้ํานมโดยแต่ละค่าเป็นค่าเฉลียและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่าอายุเมื่อคลอดลูกตัวแรกเท่ากับ 47.1±8 เดือน ระยะการตั้งท้องเท่ากับ 321.4±11.3 วัน จํานวนครั้งที่ผสมต่อการผสมติดทั้งผสมเทียมและผสมด้วยพ่อพันธุ์ขึ้นทับเท่ากับ 3.5±2.5 ครั้งจากข้อมูลจํานวนลูกคลอด 99 ตัว พบว่า ระยะห่างระหว่างการคลอดเท่ากับ 486.2±75.0 วัน จํานวนวันท้องว่างเท่ากับ 166.2±69.7 วัน ซึ่งมีค่าสูงในกลุ่มแม่กระบือคลอดลูกครั้งแรกและกลุ่มแม่กระบือที่มีอายุมากจํานวนกระบือผสมติดและปริมาณน้ํานม เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนพฤศจิกายนของทุกปีส่วนค่าดัชนีประสิทธิภาพผลผลิตน้ํานมได้แก่ระยะการให้น้ํานม (127.5±104.6 วัน) ปริมาณน้ํานม (2.0±0.9 กก./ตัว/วัน) และปริมาณน้ํานมต่อระยะการให้นม (255±209 กก./ระยะการให้นม) มีค่าค่อนข้างต่ํา การศึกษาครั้ง นี้สรุปได้ว่าแม่กระบือหลังคลอดลูกมีสมรรถภาพทางระบบสืบพันธุ์ต่ําอายุเมื่อคลอดลูกตัวแรกจํานวนครั้งที่ผสมต่อการผสมติดและจํานวน วันท้องว่างในกลุ่มแม่กระบือคลอดลูกครั้งแรกควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น นอกจากนี้มีประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตน้ํานมที่ค่อนข้างต่ํา และระยะการให้นมที่สั้นมากอาจทําให้กระบือพันธุ์ปลักไม่เหมาะกับการเลี้ยงเพื่อรีดนม
คําสําคัญ : น้ํานม, ประสิทธิภาพ, การสืบพันธุ์, กระบือปลัก
Abstract
In this study the reproductive and dairy performances of swamp buffaloes under intensive farm conditions were evaluated. The data of reproduction and milk production were collected from forty-eight swamp buffaloes during the period of 2001 to 2010. The reproductive and dairy performances were analyzed as mean±SD of each index. The age at first calving was 47.1±8 months and the gestation period was 321.4±11.3 days. The service per conception was 3.5±2.5, with insemination by both natural and artificial mating. The calving interval and the days open were 486.2±75.02 and 166.2±69.7 days (n=99), respectively. Additionally, there was a large increase in primiparous and aging cows. The number of conceptive cows rose significantly in November of every year, which reflects a similar period of peak milk production. The dairy performance index such as the lactation period (127.5±104.6 days), the milk production (2.0±0.9 kg/cow/day) and the milk yield (255±209 kg/lactation) were quite low. In conclusion, postpartum cows in this study had low reproductive performances which could indicate that the age at first calving, service per conception and days open in primiparous cows should be improved. Moreover, the low milk production and short lactation period found in this study suggest that swamp buffalo may not be suitable for milking.
Keywords : dairy, performance, reproduction, swamp buffalo