Time of the First Embryonic Cleavage Indicates Cat Blastocyst Quality
Keywords:
การแบ่งตัวระยะแรก, คุณภาพตัวอ่อน, สัตว์ตระกูลแมว, การปฏิสนธินอก, early cleavage, embryo quality, feline, in vitro fertilizationAbstract
บทคัดย่อ
ระยะการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนครั้งแรกถูกนํามาใช้เป็นตัวบ่งชี้เพื่อประเมินการเจริญและคุณภาพตัวอ่อนในหลายสปีชีส์การศึกษา นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดผลของระยะเวลาในการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนครั้งแรกต่อการเจริญและคุณภาพตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสในแมว บ้าน โดยทําการตรวจสอบตัวอ่อน 2 ครั้ง ที่เวลา 27 และ 42 ชั่วโมง (ชม.) หลังจากเริ่มกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย(ไอวีเอฟ) ตัว อ่อนไอวีเอฟที่เริ่มแบ่งเซลล์ที่ ≤ 27 ชม.ถูกจัดว่าเป็นกลุ่มที่แบ่งตัวก่อนทําการคัดแยกออกจากตัวอ่อนที่แบ่งหลังซึ่งแบ่งตัวที่ > 27-42 ชม. โดยตัวอ่อนไอวีเอฟทั้งสองกลุ่มถูกแยกเลี้ยงในน้ํายาชนิดเดียวกัน และสังเกตการพัฒนาตัวอ่อนเป็นเวลา 7 วัน การประเมินคุณภาพตัวอ่อน เซลล์ของบลาสโตซีสแยกได้เป็นส่วนอินเนอร์เซลล์แมส (ไอซีเอ็ม) และส่วนโทรเฟคโตรเดิร์มอัตราการเจริญของตัวอ่อนไอวีเอฟไปยังระยะ 8 เซลล์และระยะมอรูล่าของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (100.0 กับ 96.0% และ 97.1 กับ 92.0%, ตามลําดับ, p>0.05) ในขณะที่ตัวอ่อนไอวี เอฟแบ่งตัวก่อนมีอัตราการเจริญของระยะบลาสโตซีส (68.4 กับ 20.0%, p<0.05) นอกจากนี้ตัวอ่อนที่แบ่งตัวก่อนยังมีร้อยละของไอซีเอ็ม เซลล์มากกว่าตัวอ่อนที่แบ่งตัวหลัง (38.0 vs 31.9%, p< 0.05) โดยสรุปตัวอ่อนแมวไอวีเอฟที่แบ่งตัวก่อนมีประสิทธิภาพในการเจริญของ บลาสโตซีสที่ให้จํานวนไอซีเอ็มเซลล์สูงและสามารถนํามาใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ในการเลือกตัวอ่อนแมวบ้านที่มีคุณภาพได้
คําสําคัญ : การแบ่งตัวระยะแรก, คุณภาพตัวอ่อน, สัตว์ตระกูลแมว, การปฏิสนธินอกร่างกาย
Abstract
Time of the first cleavage has been used as an indicator to determine developmental rate and quality of embryos in many species. The aim of this study was to examine effect of time of the first cleavage on cat embryo development and blastocyst quality. After in vitro fertilization, embryos were observed twice at 27 and 42 hours. Embryos cleaved at 27 hours post-fertilization (pf) were classified as early cleaved embryos and were separated from the remainder which were determined as delayed cleaved embryos (cleaved between 27 and 42 hours). These two groups were separately cultured in the same condition for 7 days to observe embryo developmental and blastocyst formation rates. To evaluate the embryo quality, cells of the blastocyst were classified into inner cell mass (ICM) and trophectoderm cell (TE). The results showed that the percentages of the 8-cell and morula of the early cleaved embryos and the delayed cleaved embryos were not different (100.0 vs. 96.0% and 97.1 vs. 92.0%, respectively; p>0.05), whereas the blastocyst rates of the early cleaved embryos were greater than the delayed cleaved embryos (68.4 vs 20.0%; p<0.05). The total and ICM cell numbers of the blastocysts derived from the early cleaved embryos were higher than those of the delayed cleaved embryos (85.9 vs 71.6 cells, p<0.05). Moreover, the early cleaved embryos had a higher percentage of ICM cells than the delayed cleaved embryos (38.0 vs 31.9%, p<0.05). In conclusion, the cat embryos cleaved at early stage likely have the potential to develop to the blastocyst stage with high number of inner cell mass. The time of the first cleavage can be used as an indicator to select good quality of the cat blastocysts.
Keywords : early cleavage, embryo quality, feline, in vitro fertilization