Mosquito Distribution and Japanese Encephalitis Virus Infection in a Bat Cave and Its Surrounding Area in Lopburi Province, Central Thailand
Keywords:
ถ้ำค้างคาว, ไวรัสสมองอักเสบเจอี, ยุง, ประเทศไทย, bat cave, Japanese encephalitis virus, mosquito, ThailandAbstract
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาชนิดของยุงและการติดเชื้อไวรัสสมองอักเสบเจอีในบริเวณถ้ำค้างคาวในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ภาคกลางของประเทศไทย โดยจับยุงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2552 ถึงเดือนเมษายน 2553 โดยใช้กับดักยุงชนิด CDC-light trap ร่วมกับการใช้น้ำแข็งแห้งเป็นแหล่งของ คาร์บอนไดออกไซด์ในการดึงดูดยุง ยุงที่จับได้จะถูกนำมาจำแนกชนิดและตรวจหาเชื้อไวรัสสมองอักเสบเจอีโดยใช้เทคนิค reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) ผลการศึกษาพบ ในถ้ำค้างคาวมียุงจำนวน 5 สกุล ได้แก่ Aedes, Anopheles, Armigeres, Culex และ Uranotaenia ส่วนบริเวณภายนอกถ้ำค้างคาวนั้นพบยุงจำนวน 8 สกุล ได้แก่ Aedes, Aedeomyia, Anopheles, Armigeres, Coquillettidia, Culex, Mansonia และ Uranotaenia สำหรับชนิดของยุงที่พบได้มากจากทั้งสองบริเวณคือ Cx. quinquefasciatus, Cx . tritaeniorhynchus และ Ar. subalbatus และพบยุงเพียงชนิดเดียวคือ Cx. quinquefasciatus ซึ่งจับได้จาก ภายในถ้ำค้างคาวที่พบว่ามีก้อนเลือดอยู่ภายในส่วนท้องของยุง และเมื่อได้ทำการศึกษาถึงชนิดของเลือดดังกล่าวโดยอาศัยการศึกษาลำดับ เบสของ cytochrome b ทำให้ทราบว่าเลือดที่พบในยุงนั้นเป็นเลือดของค้างคาวบัวฟันรี ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rousettus leschenaulti ซึ่งเป็นค้างคาวกินผลไม้ขนาดกลางชนิดหนึ่ง สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสสมองอักเสบเจอี ได้ทำการทดสอบยุงที่จับมาจาก ภายในถ้ำค้างคาวจำนวน 61 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย Ar. subalbatus จำนวน 6 กลุ่มตัวอย่าง Cx. gelidus จำนวน 1 กลุ่ม ตัวอย่าง Cx. quinquefasciatus จำนวน 39 กลุ่มตัวอย่าง และ Cx. tritaeniorhynchus จำนวน 15 กลุ่มตัวอย่าง และได้ทำการทดสอบยุง ที่จับมาจากภายนอกถ้ำค้างคาวจำนวน 110 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย Ae. albopictus จำนวน 6 กลุ่มตัวอย่าง An. stephensi จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง Ar. subalbatus จำนวน 23 กลุ่มตัวอย่าง Cx. gelidus จำนวน 2 กลุ่มตัวอย่าง Cx. quinquefasciatus จำนวน 36 กลุ่มตัวอย่าง และ Cx. tritaeniorhynchus จำนวน 40 กลุ่มตัวอย่าง โดยที่แต่ละกลุ่มตัวอย่างประกอบไปด้วยยุงจำนวน 10 ตัว อย่างไรก็ ตามตรวจไม่พบเชื้อในทุกกลุ่มตัวอย่างที่ทำการทดสอบ
คำสำคัญ : ถ้ำค้างคาว, ไวรัสสมองอักเสบเจอี, ยุง, ประเทศไทย
Abstract
Mosquito distribution and Japanese encephalitis virus (JEV) infection were studied in a bat cave and its surrounding area in Lopburi province, central Thailand. Mosquitoes were collected from May 2009 to April 2010 by using CO2-baited CDC-light traps, and dry ice as a source of CO2 to attract mosquitoes. Mosquitoes were identified and tested for JEV infection by using reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR). Five genera of mosquitoes collected from the bat cave include Aedes, Anopheles, Armigeres, Culex and Uranotaenia, and eight genera of mosquitoes collected from the area close to the bat cave include Aedes, Aedeomyia, Anopheles, Armigeres, Coquillettidia, Culex, Mansonia and Uranotaenia. The dominant species of the collected mosquitoes from these two areas were Cx. quinquefasciatus, Cx. tritaeniorhynchus and Ar. subalbatus. There was only one species of blood-fed mosquitoes collected from the bat cave in this study, which was Cx. quinquefasciatus. Blood meal identification based on cytochrome b sequences in this study indicated that all mosquito blood meals were blood from the fruit bat, Rousettus leschenaulti. A total of 61 pools of mosquitoes were collected from the bat cave: six pools of Ar. subalbatus, one pool of Cx. gelidus, 39 pools of Cx. quinquefasciatus and 15 pools of Cx. tritaeniorhynchus. A total of 110 pools of mosquitoes were collected from the area close to the bat cave: six pools of Ae. albopictus, three pools of An. stephensi, 23 pools of Ar. subalbatus, two pools of Cx. gelidus, 36 pools of Cx. quinquefasciatus and 40 pools of Cx. tritaeniorhynchus. Each of these pools in this study, which contains 10 mosquitoes was tested for JEV infection by using RT-PCR, and all of them were negative.
Keywords : bat cave, Japanese encephalitis virus, mosquito, Thailand