Efficacy of Acetone and Ethanol in Dehydrating Canine Body Sheets :Before and After Resin Coating
Keywords:
อะซิโตน, แผ่นลำตัวสุนัข, การดึงน้ำ, เอทานอล, เรซิ่น, acetone, canine body sheet, dehydration, ethanol, resinAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดึงน้ำ ระหว่างเอทานอลและอะซิโตนจากแผ่นลำตัวสุนัขตัดตามขวางและเก็บรักษาสภาพด้วยเรซิ่นในระยะเวลา 16 สัปดาห์ สุนัขเพศผู้จำนวน 1 ตัว น้ำหนักประมาณ 10 กก ซึ่งเสียชีวิตด้วยภาวะระบบหายใจล้มเหลว ถูกนำมารักษาสภาพโดยการฉีดน้ำยา 10% ฟอร์มาลิน ทางหลอดเลือดแดงและเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นนำไปเก็บในตู้แช่แข็งอุณหภูมิ -25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน ทำการตัดสุนัขเป็นแผ่นตามขวางที่ความหนา 2.5 ซม แบ่งแผ่นลำตัวสุนัขที่ตัดได้ เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ดึงน้ำด้วยอะซิโตน กลุ่มที่ 2 ดึงน้ำด้วยเอทานอล ทั้งสองกลุ่มใช้เวลาในการดึงน้ำ 3 วัน หลังจากนั้นนำไปเก็บรักษาสภาพในเรซิ่นเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงสีกล้ามเนื้อและไขมันในกลุ่มอะซิโตนมีความแตกต่างอย่างชัดเจนมากกว่ากลุ่มเอทานอล แต่สีของอวัยวะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยทั้งสองกลุ่ม พบการหดตัวของแผ่นลำตัวเล็กน้อยในทั้งสองกลุ่มแต่ไม่แตกต่างทางสถิติ การเก็บรักษาสภาพในเรซิ่นในวันแรกมีการเปลี่ยนแปลงสีของอวัยวะเล็กน้อย แต่ตลอดระยะเวลา 16 สัปดาห์ ไม่พบความแตกต่างของสีกล้ามเนื้อ อวัยวะ และความใสระหว่างสองกลุ่ม รวมถึงการหดตัวซึ่งไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
คำสำคัญ: อะซิโตน แผ่นลำตัวสุนัข การดึงน้ำ เอทานอล เรซิ่น
Abstract
The aim of this study was to compare the efficacy of ethanol and acetone in dehydration of canine bodysheets before preservation in resin for a 16-week period. A 10-kg male dog which died of the respiratory failure waspreserved in 10% formalin via common carotid artery at room temperature for 7 days prior to being kept in a freezerat -250C for 7 days. The body of the dog was cut into 2.5-cm-thick sheets with a band saw. The body sheets wereseparately dehydrated for 3 days with either acetone or ethanol. In this study, the color of muscles and fat fromacetone-dehydrated sheets was more significantly distinct than those dehydrated by ethanol, while the color of theorgan surface was slightly changed in both groups. The shrinkage of body sheets did not significantly differ betweenthe two groups. After dehydration, the body sheets were subject to preservation in resin for 16 weeks. At the first dayin resin, the color of organs was slightly changed. After 16 weeks, the transparency of resin was not changed and theshrinkage of body sheets was not significantly different in body sheets of both groups.
Keywords: acetone, canine body sheet, dehydration, ethanol, resin