Prevalence of Henneguya Infections on Cage-reared Channel Catfish Ictalurus punctatus (Rafinesque) in Mexico
Keywords:
ปลาเลี้ยงกระชัง, ปลากดหลวง, Henneguya, การติดเชื้อ, cage raising, channel catfish, infectionAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อหาชนิดของการติดเชื้อ สายพันธุ์ ระยะเวลาและความชุกในรอบปี จุดก่อโรค ระยะเวลา และขนาดของปลาที่มีต่อความชุกของโรค Henneguya ในปลากดหลวงเลี้ยงกระชัง การติดเชื้อ Henneguya พบได้ที่เหงือก เนื้อเยื่อไขมันบริเวณครีบและผิวหนัง โดยขนาดของสปอร์เต็มวัยอยู่ระหว่าง 58 ถึง 66 ไมครอน และ 16 ถึง 17 ไมครอน (ความยาวและความกว้าง) โดยตรวจพบสปีชีส์ H. exilis เป็นสปีชีส์ก่อโรคเมื่อพิจารณาจากรูปร่างของซิสต์และขนาดของสปอร์เป็นหลัก นอกจากนั้นยังพบว่าสปอร์เต็มวัยขนาดความยาว 45-60 ไมครอน และกว้าง 14-19 ไมครอน ในบริเวณเนื้อเยื่อไขมันที่มีการติดเชื้อ ในขณะที่ H. adipose เป็นตัวก่อโรคที่เนื้อเยื่อไขมัน แต่พบว่าการติดเชื้อที่ผิวหนังสัมพันธ์กับ H. sutherlandi ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาพบว่ามีการเชื่อมกันและอยู่ผิดที่ของเส้นเหงือก เมื่อดูจากฤดูที่มีความชุกของการติดเชื้อ Henneguya พบการติดเชื้อสูงที่สุดที่เขื่อน Maria Soto la Marina และต่ำสุดที่แม่น้ำSoto la Marina อยู่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน และเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
คำสำคัญ: ปลาเลี้ยงกระชัง ปลากดหลวง Henneguya การติดเชื้อ
Abstract
The aim of the present study was to determine the type of infection, species, the period and annual spatialprevalence, the effect of site, period and host size on prevalence of Henneguya infections in floating cages-raisedchannel catfish. Henneguya infections were detected in gills, fin adipose and skin, with mature spores measuring 58 to66 μm and 16 to 17 μm TL/BL. H. exilis was identified as the causing infection agent based on fresh cyst morphologyand spore measurements. In addition, mature spores measuring from 45 to 60 μm in TL and 14 to 19 μm in BL, wereobserved in the adipose tissue infections; H. adipose was identified as the infective agent in the adipose tissue, whereasthe skin infection may be related to H. sutherlandi. Histological changes showed the fusion and displacement of gilllamellae. In regard to Henneguya infections seasonal prevalence, it was shown that the highest (Maria Soto la Marinadam) and lowest (Soto la Marina River) prevalence were during the periods March-April and July-August.
Keywords: cage raising, channel catfish, Henneguya, infection