Heart Rate Change during Aquatic Exercise in Small, Medium and Large Healthy Dogs

Authors

  • Korakot Nganvongpanit Bone and Joint Research Laboratory, Department of Veterinary Biosciences and Public Health, Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50100, Thailand - Materials Science Research Center, Faculty of Science, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand
  • Siriphun Kongsawasdi Department of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Science, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand
  • Bussaba Chuatrakoon Department of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Science, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand
  • Terdsak Yano Department of Food Animals, Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50100, Thailand

Keywords:

สุนัข, อัตราการเต้นของหัวใจ, ว่ายน้ำ, dog, heart rate, swimming

Abstract

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของสุนัขที่สุขภาพดีในขณะว่ายน้ำ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เก็บข้อมูลจาก สุนัขเพศผู้ที่สุขภาพดี จำนวน 21 ตัว ที่ให้ว่ายน้ำทุกๆ 2 วัน ติดต่อกัน 8 ครั้งๆ ละ 10 นาที และทำการวัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะว่ายน้ำทุกนาที การทดลองที่ 2 เก็บข้อมูลจาก สุนัขสุขภาพดี จำนวน 134 ตัว ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สุนัขขนาดเล็ก(41 ตัว) ขนาดกลาง (51 ตัว) และขนาดใหญ่ (42 ตัว) ทำการวัดอัตราการเต้นของหัวใจทุกนาที ติดต่อกัน 34 นาที หลังการว่ายน้ำครั้งที่ 5การทดลองที่ 1 พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจของสุนัขขณะว่ายน้ำ ใน 4 ครั้งแรกสูงกว่าในครั้งที่ 5 ถึง 8 (p<0.05) การทดลองที่ 2 พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจของสุนัขขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักร่างกาย และอายุกับอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่บันทึกได้จากการทดลอง สามารถนำมาสร้างเป็นสมการหาอัตราการเต้นของหัวใจของสุนัขแต่ละขนาด (เล็ก กลาง และใหญ่) ขณะว่ายน้ำ จากการศึกษา แนะนำให้สุนัขว่ายน้ำติดต่อกัน 15 ถึง 30นาที ขึ้นอยู่กับขนาดของสุนัขและผู้ควบคุมการออกกำลังกายต้องคอยสังเกตอาการของสุนัขแต่ละตัวเพื่อป้องกันการออกกำลังกายมากเกินความสามารถ

คำสำคัญ: สุนัข อัตราการเต้นของหัวใจ ว่ายน้ำ

 

Abstract

This study was divided into two experiments. For the first experiment, heart rates during exercise of 21healthy male dogs were recorded. The animals were brought to swim every 2 days, 8 times in all, for 10 minutes.Heart rates were measured every minute using a pulse watch. For the second experiment, 134 healthy adult dogswere categorized into three groups: small (41), medium (51) and large breed (42). Their heart rates were measuredevery minute for 34 minutes after the 5th swimming. In the first experiment, the heart rates during the 1st–4thswimming were significantly higher (p<0.05) than during the 5th 8th swimming. In the second experiment, the heartrates were significantly different (p<0.05) between small, medium and large dogs. No correlations were foundbetween weight, age, and heart rate. From the results of the second experiment, we were able to formulate anequation for predictable heart rate of each group of dogs (small, medium and large dogs). From the results, werecommend that the limits on the length of time spent for aquatic exercise should be 15–30 minutes, depending on thebreed (size) of dog. Moreover, there should be trainers observing each dog to prevent over-exercise.

Keywords: dog, heart rate, swimming

Downloads

How to Cite

Nganvongpanit, K., Kongsawasdi, S., Chuatrakoon, B., & Yano, T. (2013). Heart Rate Change during Aquatic Exercise in Small, Medium and Large Healthy Dogs. The Thai Journal of Veterinary Medicine, 41(4), 455–462. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/9621

Issue

Section

Original Articles