Ovarian Follicular Patterns and Hormone Profile in Thai Native Cattle (Bos indicus)

Authors

  • Denpong Sakhong Veterinary Research and Development Center (Upper Northeastern Region), Department of Livestock Development, Khonkaen, 40260 Thailand - Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002 Thailand
  • Thevin Vongpralub Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002 Thailand
  • Suporn Katawatin Department of Animal Science, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002 Thailand
  • Saksiri Sirisathien Department of Surgery and Theriogenology, Faculty of Veterinary Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, 40002 Thailand

Keywords:

คลื่นฟอลลิเคิล, เอฟ เอส เอช, โปรเจสเตอโรน, โคพื้นเมืองไทย, follicular wave, FSH, progesterone, Thai native cattle

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบของคลื่นการพัฒนาของฟอลลิเคิลบนรังไข่และระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนFSH และ P4 ในกระแสเลือด ระหว่างวงรอบการเป็นสัดของโคสาวและแม่โคพันธุ์พื้นเมืองไทย ติดตามการพัฒนาของฟอลลิเคิลบนรังไข่โคทุกๆ วัน โดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์ หัวตรวจชนิดสอดเข้าทวารหนัก คลื่นความถี่ขนาด 7.5 เมกะเฮิรท์ และเจาะเก็บเลือดทุกครั้ง หลังการอัลตร้าซาวน์ ในระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2553 พบว่าในโคสาวพบการพัฒนาของคลื่นฟอลลิเคิล เป็น 1, 2 หรือ 3 คลื่นการพัฒนา สำหรับแม่โคพบการพัฒนาของคลื่นฟอลลิเคิล เป็น 1, 2, 3 หรือ 4 คลื่นการพัฒนา ซึ่งพบการพัฒนาแบบ 4 คลื่น ในแม่โคเพียง 1วงรอบการเป็นสัด โดยในแม่โคพบการพัฒนาของคลื่นฟอลลิเคิลเป็นแบบ 3-คลื่น (ร้อยละ 82.76) มากที่สุด ในขณะที่ในโคสาวพบการพัฒนาของคลื่นฟอลลิเคิลเป็นแบบ 2-คลื่น (ร้อยละ 38.10) และ 3-คลื่น (ร้อยละ 47.62) มากที่สุด จำนวนฟอลลิเคิลเฉลี่ยในโคสาวเท่ากับ6.67±0.69, 7.71±0.45, 6.29±0.45 ฟอลลิเคิล และในแม่โคเท่ากับ 4.50±0.85, 4.00±0.85, 4.82±0.29, 5.00±1.20 ฟอลลิเคิลต่อคลื่นการพัฒนาที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าโคสาวและแม่โคที่พบการพัฒนาของฟอลลิเคิลเป็น 1, 2, 3, หรือ 4 คลื่นการพัฒนามีความยาววงรอบการเป็นสัดเฉลี่ย 9.33±0.79, 15.13±0.48, 18.57±0.51 และ 10.50±0.96, 15.50±1.46, 21.63±0.51, 25.00±1.36 วันฟอลลิเคิลเด่นที่เกิดการตกไข่มีขนาดโตที่สุดเฉลี่ย 12.13±0.62, 11.31±0.38, 11.28±0.34 และ 12.65±0.76, 12.45±0.76, 12.82±0.22,12.80±1.08 มม. อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ย 1.17±0.14, 1.12±0.08, 1.16±0.07 และ 1.16±0.17, 1.34±0.17, 1.16±0.05, 1.29±0.24มม./วัน ตามลำดับ โคสาวมีจำนวนฟอลลิเคิลขนาดเล็กที่พัฒนาในแต่ละคลื่นมากกว่าแม่โค (p<0.05) แต่อายุการคงอยู่ของฟอลลิเคิลเด่นที่นำไปสู่การตกไข่ในแม่โคยาวนานกว่าในโคสาว (p<0.05) ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน FSH ในกระแสเลือดจะเพิ่มขึ้นในวันที่ 0-1, 6-7,13-14, และ 18 ของวงรอบการเป็นสัด และจะพบการพัฒนาของคลื่นฟอลลิเคิลในวันถัดมา ในขณะที่ระดับเข้มข้นของฮอร์โมน P4 จะเพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 5-6 และลดลงระดับลงก่อนการตกไข่ 3-5 วันจากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การพัฒนาของฟอลลิเคิลบนรังไข่ของโคพื้นเมืองไทย มีการพัฒนาเป็น 1, 2, 3 หรือ 4 คลื่นการพัฒนาต่อวงรอบการเป็นสัด โดยโคสาวมีการพัฒนาของคลื่นฟอลลิเคิลเป็นแบบ 2-คลื่น และ 3-คลื่น มากที่สุด ในขณะที่แม่โคมีการพัฒนาของคลื่นฟอลลิเคิลเป็นแบบ 3- คลื่น มากที่สุด ความยาวของวงรอบการเป็นสัดมีความสัมพันธ์กับจำนวนคลื่นการพัฒนาของฟอลลิเคิล โดยคลื่นการพัฒนาของฟอลลิเคิลจะสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณ FSH ในกระแสเลือด และเมื่อระดับความเข้มข้นของ P4 ลดลง ฟอลลิเคิลขนาดใหญ่จะสามารถเกิดการตกไข่ได้ จากผลการเปลี่ยนแปลงของฟอลลิเคิลบนรังไข่และระดับความเข้มข้นของฮอร์โมน FSH และ P4ในกระแสเลือดโค สามารถบ่งบอกถึงความแตกต่างของลักษณะการพัฒนาของฟอลลิเคิลระหว่างโคสาวและแม่โคพันธุ์พื้นเมืองไทยได้

คำสำคัญ: คลื่นฟอลลิเคิล เอฟ เอส เอช โปรเจสเตอโรน โคพื้นเมืองไทย

 

Abstract

The objective of this study was to characterize the patterns of ovarian follicular waves, and FSH and P4concentration during estrous cycle in Thai native cattle (Bos indicus). Transrectal ultrasound examination of ovarieswas performed daily using a 7.5 MHz transducer and blood samples were collected after the ultrasound examinationduring May to August, 2010. There were 1-, 2- or 3-follicular waves per cycle in heifers, and 1-, 2-, 3- or 4-follicularwaves per cycle in cows. Moreover, in cows, only one cycle exhibited 4-follicular wave pattern. The majority of TNCcows (82.76%) exhibited a 3-follicular wave pattern, whereas the majority of heifers exhibited 2-(38.10%) and 3-(47.62%) follicular wave patterns, respectively. The numbers of follicles per wave were 6.67±0.69, 7.71±0.45, and6.29±0.45 in heifers and 4.50±0.85, 4.00±0.85, 4.82±0.29, and 5.00±1.20 in cows, respectively. The length of estrous cyclewas 9.33±0.79, 15.13±0.48, and 18.57±0.51 days in heifers and 10.50±0.96, 15.50±1.46, 21.63±0.51, and 25.00±1.36 days incows. The maximum diameters of dominant ovulatory follicles in heifers were 12.13±0.62, 11.31±0.38, and 11.28±0.34and in cows 12.65±0.76, 12.45±0.76, 12.82±0.22, and 12.80±1.08 mm. The growth rates were 1.17±0.14, 1.12±0.08, and1.16±0.07 and 1.16±0.17, 1.34±0.17, 1.16±0.05 and 1.29±0.24 mm/day in heifers that had 1-, 2-, or 3- follicular wavesand cows that had 1-, 2-, 3-, or 4-follicular waves, respectively. The greater numbers of small follicles emerged morein heifers than in cows (p<0.05), while the duration of the dominant ovulatory follicle was longer in cows than inheifers (p<0.05). The plasma FSH concentrations slightly increased on days 0-1, 6-7, 13-14, and 18 of the estrous cycle,then the wave emerged on the next day. Plasma P4 concentrations slightly increased on days 5-6 and remained high3-5 days before ovulation.In conclusion, the ovarian follicular dynamic in Thai native cattle developed into 1-, 2-, 3- or 4-follicularwaves. In cows 3-follicle waves were mostly found whereas in heifers 2- and 3- follicular waves were mostly found.The duration of estrous cycle correlated to the number of follicular wave. The waves of follicular development wereconsistent with the increase in amount of FSH. Moreover, when the level of P4 decreased, the largest follicle usuallyunderwent ovulation. The results revealed differences in ovarian follicular dynamics, and in plasma concentrations ofFSH and P4, which may account for the differences in the characteristics of ovarian follicular development betweenheifers and cows of Thai native cattle.

Keywords: follicular wave, FSH, progesterone, Thai native cattle

Downloads

How to Cite

Sakhong, D., Vongpralub, T., Katawatin, S., & Sirisathien, S. (2013). Ovarian Follicular Patterns and Hormone Profile in Thai Native Cattle (Bos indicus). The Thai Journal of Veterinary Medicine, 41(4), 439–448. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/9614

Issue

Section

Original Articles