Prevalence and Genotype of Salmonella Choleraesuis in Gunma Prefecture, Japan
Keywords:
การดื้อต่อยาปฏิชีวนะ, จีโนทัยป์, สุกร, เชื้อซัลโมเนลลา, antimicrobial resistance, genotyping, pig, SalmonellaAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาความชุกของโรคซัลโมเนลลาในสุกรและจีโนทัยป์ของเชื้อซัลโมเนลลาโดยวิธี PFGE ในจังหวัด Gunma ประเทศญี่ปุ่น ผลการศึกษา พบว่าระหว่างปี ค.ศ. 2005-2008 มีความชุกของโรคนี้ในสุกร ประมาณร้อยละ 0.02 คือ พบว่าสุกรจำนวน 430 ตัว (จาก2,707,402 ตัว) ที่โรงงานฆ่าสัตว์ มีการติดเชื้อซัลโมเนลลา โดยเชื้อทั้งหมดเป็น Salmonella Choleraesuis ชนิดไม่สร้าง H2S ทำการทดลองโดยนำ เชื้อซัลโมเนลลาจำนวน 30 ตัวอย่าง ที่เพาะแยกจากฟาร์มสุกร 15 ฟาร์มในปีที่มีการระบาดของโรคนี้ คือปี ค.ศ. 2006-2007มาศึกษาหาความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ พบว่าเชื้อทั้งหมดไวต่อยาจำนวนมาก เช่น cephems (cefotaxime) quinolones (norfloxacinและ ciprofloxacin) และ fosfomycin ในทางตรงข้ามพบว่าเชื้อทั้งหมดดื้อต่อยา tetracycline (TC) และร้อยละ 97 ของเชื้อดื้อต่อยาstreptomycin (SM) โดยมี แบบ(profile) การดื้อยาเป็นแบบ SM-TC (จำนวน 26 ตัวอย่าง) เมื่อนำเชื้อมาย่อยด้วยเอนไซม์ Bln I ในขบวนการ PFGE พบว่า สามารถแบ่งเชื้อเป็น 6 แบบ (profile) คือ แบบ G1 ถึง G6 และแบ่งย่อยได้เป็น 4 cluster (I ถึง IV) โดยแบบ G1ประกอบด้วย เชื้อ 22 ตัว แบบ G3 ประกอบด้วย เชื้อ 3 ตัว และแบบ G2 ประกอบด้วย เชื้อ 2 ตัว เชื้อที่มีรูปแบบการดื้อยาเป็นแบบ SM-TCและมีแบบ PFGE อยู่ในกลุ่ม G1 นั้นมาจากฟาร์มสุกร 5 ฟาร์ม (ในจำนวน 15 ฟาร์ม) คือ ฟาร์ม A ถึง E ระหว่างที่มีการระบาดของโรคนี้ในปีค.ศ. 2006-2007 จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ความชุกของโรคซัลโมเนลโลซีสในฟาร์มสุกร คิดเป็นร้อยละ 0.02 และเป็นเชื้อSalmonella Choleraesuis ที่ดื้อต่อยา SM-TC ในระหว่างปี 2005-2008 ในจังหวัด Gunma ประเทศญี่ปุ่น เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคทั้งในสุกรและคนและมีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ดังนั้นควรมีการศึกษาเรื่องการดื้อยาของเชื้อนี้ในสุกรต่อไป
คำสำคัญ: การดื้อต่อยาปฏิชีวนะ จีโนทัยป์ สุกร เชื้อซัลโมเนลลา
Abstract
We studied the prevalence of swine salmonellosis and PFGE genotype of isolates in Gunma Prefecture,Japan. Between 2005 and 2008, swine salmonellosis was confirmed in 430 of 2,707,402 (0.02%) swine atslaughterhouses. All isolates were identified as deriving from Salmonella Choleraesuis, biotype Choleraesuis (negativefor H2S production). We used 30 bacterial strains from 15 farms that had experienced outbreaks in 2006 and 2007. Allstrains were susceptible to various antibiotics such as cephems (cefotaxime), fluoroquinolones (norfloxacin andciprofloxacin), and fosfomycin. On the other hand, all strains were resistant to tetracycline (TC), and 29 of 30 (97%)strains were resistant to streptomycin (SM). The most predominant profiles were those of SM-TC (26 strains). DuringBln I digestion, 30 strains showed 6 profiles on PFGE as G1 to G6, and each profile was assigned into 1 of 4 clusters (Ito IV). The most prevalent profile was G1 (22 strains), followed by G3 (3 strains), and G2 (2 strains). Strains showingthe same antimicrobial resistance profiles (SM-TC) and the same PFGE profiles (G1) were isolated from 5 of 15 farms(A to E) during the 2006 and 2007 outbreaks. In conclusion, the prevalence of swine salmonellosis caused by SM-TCresistant-S. Choleraesuis biotype Choleraesuis is around 0.02%, as determined by infection rate at pig farms between2005 and 2008 in Gunma prefecture. S. Choleraesuis usually causes systemic infections in swine and humans andantimicrobial treatment is necessary. The antimicrobial susceptibility of Salmonella in swine should be surveyedfurther.
Keywords: antimicrobial resistance, genotyping, pig, Salmonella