Effect of Water Temperature on Susceptibility to Streptococcus agalactiae Serotype Ia Infection in Nile Tilapia (Oreochromis niloticus)
Keywords:
การแช่น้ำ, ปลานิล, สเตรปโตคอคคัส, อกาแลคติเอ้, ความไวต่อการเกิดโรค, อุณหภูมิน้ำ, immersion route, Nile tilapia, Streptococcus agalactiae, susceptibility, water temperatureAbstract
บทคัดย่อ
โรคติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส อกาแลคติเอ้ ถือเป็นโรคที่สำคัญในสัตว์น้ำเนื่องจากก่อให้เกิดอัตราการตายที่ค่อนข้างสูง การเกิดโรคมักพบในฤดูที่มีอากาศร้อนแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ ในการทดลองครั้งนี้จึงได้ทำการพิสูจน์ความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยการวัดอัตราการตายของปลานิล (Oreochromis niloticus) ที่ได้รับเชื้อด้วยวิธีแช่น้ำที่มีความเข้มข้นของเชื้อ 108, 107 และ106 CFU/ml โดยนำไปเลี้ยงไว้ในน้ำที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันคือ 33, 30 และ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากที่ปลาได้รับเชื้อพบว่าปลาบางส่วนแสดงอาการป่วยและมีรอยโรคดังต่อไปนี้ คือ มีปื้นเลือดออกตามผิวหนัง ท้องมาน ไตบวม มีจุดเลือดออกที่ตับ ไตและสมอง ซึ่งล้วนเป็นอาการที่มักพบในสภาวะที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด สำหรับปลาที่เลี้ยงไว้ที่ระดับอุณหภูมิน้ำ 33 องศาเซลเซียส พบว่ามีอัตราการตายสูงที่สุด ในขณะที่ 25 องศาเซลเซียส นั้นปลาส่วนใหญ่รอดชีวิตโดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติหรือรอยโรคใดๆ จากผลการทดลองดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่าปลานิลที่เลี้ยงสภาพอุณหภูมิสูงนั้นมีความไวต่อการเกิดโรคติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส อกาแลคติเอ้ ด้วยวิธีการแช่น้ำ
คำสำคัญ: การแช่น้ำ ปลานิล สเตรปโตคอคคัส อกาแลคติเอ้ ความไวต่อการเกิดโรค อุณหภูมิน้ำ
Abstract
Streptococcus agalactiae is one of the causative agents associated with warm-water streptococcosis, in whichproduce massive mortality in aquaculture. Emergence of disease in tilapia farm usually occurs in high temperatureseason, which suggested for higher susceptibility of tilapia in this particular condition. Thus, the objective of thisstudy is to investigate the association between water temperature and susceptibility of Nile tilapia (Oreochromisniloticus) to S. agalactiae serotype Ia infection. Nile tilapia were inoculated with 108, 107 or 106 CFU/ml of S. agalactiaeserotype Ia field strain via water immersion route and maintained in different water temperature at 25, 30 or 33oC for1 week. Diseased fish showed typical signs of bacterial septicemia including skin hemorrhage, ascites, kidneyenlargement and petechial hemorrhage at liver and brain tissue. Accumulated mortality of tilapia was highest in thegroup maintained at 33oC followed by 30oC, while at 25oC most of the fish survived and clinical signs were notexhibited. The results from this study suggested that Nile tilapia reared in high water temperature conditionsusceptible to S. agalactiae via water exposure route.
Keywords: immersion route, Nile tilapia, Streptococcus agalactiae, susceptibility, water temperature