Acute to Subchronic Toxicity and Reproductive Effects of Aqueous Ethanolic Extract of Rhizomes of Lasia spinosa Thw. in Male Rats
Keywords:
ผักหนาม, หนูแรท, ผลต่อระบบสืบพันธุ์, ราก, ความเป็นพิษ, Lasia spinosa, rat, reproductive effects, rhizome, toxicityAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาความเป็นพิษและผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ในระยะเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังของหนูแรทเพศผู้จากการได้รับสารสกัดจาก รากผักหนาม ในการทดลองระยะเฉียบพลัน ได้ทำการป้อนสารสกัดขนาด 5 10 20 40 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่มีการตายและ การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมใดๆในสัตว์ทดลอง ส่วนการทดลองของผลกระทบในระยะกึ่งเรื้อรัง ได้ทำการป้อนสารสกัดขนาด 5 และ 20 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 28 วัน พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าโลหิตวิทยา สำหรับค่าทางเคมีของเลือดพบการลดลงของ ไตรกลีเซอร์ไรด์ในกลุ่มที่ป้อนสารสกัดจากรากผักหนาม ส่วนการศึกษาทางพยาธิวิทยา ไม่พบรอยโรคที่แตกต่างของทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่ม ป้อนสารสกัด ผลการทดลองต่อระบบสืบพันธุ์พบว่า มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักของอัณฑะและจำนวนอสุจิในกลุ่มที่ป้อนสารสกัดอย่างมี นัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ไม่พบการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการให้สารสกัดจาก รากผักหนามโดยการป้อนในหนูแรทในระยะเฉียบพลันและกึ่งเรื้อรังไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษ และมีผลในการส่งเสริมการทำงานของระบบ สืบพันธุ์เพศผู้เพิ่มขึ้น
คำสำคัญ : ผักหนาม, หนูแรท, ผลต่อระบบสืบพันธุ์, ราก, ความเป็นพิษ
Abstract
Acute and subchronic tests on the toxicity and reproductive effects of aqueous ethanolic extract of rhizomes of Lasia spinosa Thw. was studied in male rats. In the acute test, oral administration of 5, 10, 20, 40 g/kg of the extract showed no mortality or behavioral changes. In the subchronic test, administration of 5 or 20 g/kg of the extract for 28 days revealed no mortality of the animals. No differences in hematological parameters were observed in either control or treatment groups of both tests. For blood chemistry analysis in both tests, triglycerides in treatment rats were significantly decreased compared to the control ones. However, no significant changes occurred in other parameters. There was no significant difference in the weight of whole body and organ between the control and treatment animals of both acute and subchronic tests. Pathologically, no significant changes of gross and histopathology were observed in both the control and treatment rats. For reproductive effects, significant increase in testicular weight and epididymal sperm count was observed. However, no changes in serum testosterone were found. In summary, oral administration of the extract of L. spinosa produced no toxic changes in acute and subchronic toxicity tests. Moreover, the extract had potential for increasing reproductive function in male rats.
Keywords : Lasia spinosa, rat, reproductive effects, rhizome, toxicity