Effects of Erythropoietin on Blood Pressure, Renal Function and Red Blood Cell Production in Dogs with Chronic Kidney Disease with and without Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor

Authors

  • Sujittra Ritthikulprasert Department of Physiology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University
  • Metinee Rodphol Department of Physiology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University
  • Adthaphonl Nimrotham Department of Physiology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University
  • Saikaew Sattayatham Department of Physiology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University
  • Siripen Komolvanich Department of Physiology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University
  • Monkon Trisiriroj Small Animal Hospital, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Pathumwan, Bangkok 10330
  • Chollada Buranakarl Department of Physiology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University

Keywords:

สารยับยั้งเอนไซม์เปลี่ยนแองจิโอเทนซิน, ความดันโลหิต, สุนัข, อิริทรอพอยอิทิน, การสร้างเม็ดเลือดแดง, การทำงานของไต, angiotensin converting enzyme inhibitor, blood pressure, dogs, erythropoietin, red blood cell production, renal function

Abstract

บทคัดย่อ

ทำการศึกษาความดันเลือด การทำงานของไต การขับทิ้งโปรตีนทางปัสสาวะ และการสร้างเม็ดเลือดแดงในสุนัข 29 ตัวที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง และได้รับฮอร์โมนอิริทรอพอยอิติน (EPO) ชนิด Recombinant human Erythropoietin (rHuEPO) การทดลองแบ่งเป็น 2ส่วน ส่วนที่ 1 แบ่งสุนัขเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 สุนัขเป็นไตวายเรื้อรังก่อนได้รับ EPO (pre-EPO) กลุ่มที่ 2 สุนัขได้รับ EPO ขนาด 100 ยูนิตต่อกก. 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และกลุ่มที่ 3 สุนัขได้รับ EPO ร่วมกับยายับยั้งเอนไซม์เปลี่ยนแองจิโอเทนซิน (angiotensin convertingenzyme inhibitor; ACEI) คือ enalapril maleate ขนาด 2.5 มก.ต่อกก. ทุกวัน ระยะเวลาที่ได้รับยาอยู่ระหว่าง 7-40 วัน ส่วนที่ 2ทำการศึกษาในสุนัขตัวเดียวกันก่อนและหลังได้รับ EPO อย่างเดียว หรือ EPO ร่วมกับ ACEI เป็นเวลา 15-30 วัน ผลการศึกษาในส่วนที่ 1พบว่า สุนัขในกลุ่มที่ 1 ก่อนได้รับ EPO มีภาวะเลือดจางแบบไม่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงอ่อน และมีปริมาณยูเรียไนโตรเจนและครีอะตินีนในเลือดเพิ่มขึ้น ค่าความดันเลือดปกติในขณะที่การขับทิ้งโปรตีน โซเดียม และ โพแทสเซียมสูง ภายหลังให้ EPO อย่างเดียว (กลุ่มที่ 2) หรือให้ร่วมกับ ACEI (กลุ่มที่ 3) ไม่พบความแตกต่างของผลต่าง ๆ ยกเว้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ที่เพิ่มขึ้น กลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดแดงมากกว่ากลุ่มที่ 3 ผลการศึกษาในส่วนที่ 2 ที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในสุนัขตัวเดียวกันให้ผลเช่นเดียวกับส่วนที่ 1 โดยพบว่าความดันเลือดและการทำหน้าที่ของไต ไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษา 15 วันหลังได้รับยาพบว่าค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่ได้รับ EPO อย่างเดียว (p<0.01) และกลุ่มที่ได้รับ EPO ร่วมกับ ACEI (p<0.05) การสร้างเม็ดเลือดแดงมีมากกว่าในกลุ่มที่ได้รับ EPO แต่เพียงอย่างเดียวเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ EPO ร่วมกับ ACEI (p<0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า การให้ EPO อย่างเดียวหรือร่วมกับ ACEI ไม่มีผลกับความดันเลือด การทำงานของไต และการขับทิ้งโปรตีนในปัสสาวะ ในสุนัขที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังซึ่งบ่งบอกว่าผลของ EPO ไม่ได้ผ่านการทำงานของสารแองจิโอเทนซินทู (AII) อย่างไรก็ตามจากการเปรียบเทียบโดยใช้ความแรงของ EPO ที่เท่ากันพบว่าสุนัขที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังที่ได้รับ ACEI จะต้องการขนาดของ EPO มากกว่าในช่วงเริ่มต้นของการฉีดเพื่อให้ได้ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่นเท่ากัน

คำสำคัญ: สารยับยั้งเอนไซม์เปลี่ยนแองจิโอเทนซิน ความดันโลหิต สุนัข อิริทรอพอยอิทิน การสร้างเม็ดเลือดแดง การทำงานของไต

 

Abstract

Blood pressure, renal function, urinary protein excretion and red blood cell count were measured in 29 dogswith chronic kidney disease which received hormone recombinant human Erythropoietin (rHuEPO). The experimentwas divided into 2 parts. Parts 1 comprised 3 groups of dogs. Group 1 dogs were studied prior to erythropoietin(EPO) injection (pre-EPO). Group 2 dogs received EPO 100 U/kg 2-3 times a week. Group 3 dogs received both EPOand angiotensin converting enzyme inhibitor which was enalapril 5 mg/kg/daily. The duration of medication wasbetween 7 to 40 days. In part 2 of the experiment, all parameters were measured in the same dogs before and after thedogs received EPO alone or EPO with ACEI for 15 days. The results showed that dogs with CKD before EPO injection(group 1) had non regenerative anemia with elevated blood urea nitrogen and plasma creatinine concentrations. Theblood pressure was within normal limit while the urinary excretion of protein, Na and K were enhanced. Group 2and group 3 had no significant differences in all of these parameters except a significant increase in RBC production.Group 2 tended to have higher increase in RBC production more than group 3. In part 2 in which the study wasperformed in the same dogs, there were no changes in blood pressure and renal function. However, 15 days afterEPO or EPO with ACEI, the significant increases in packed cell volume were found in dogs receiving EPO alone(p<0.01) and with ACEI (p<0.05) and the degree of EPO activated RBC production was greater in dogs receiving EPOalone (p<0.05). It is concluded that giving EPO either alone or with ACEI had no effect on blood pressure, renalfunction and urinary protein excretion in dogs with CKD, suggesting no angiotensin II involvement. However, bycomparing with the same EPO intensity, dogs with CKD receiving ACEI required more EPO at the initial phase oftreatment in order to yield the same increase in PCV.

Keywords: angiotensin converting enzyme inhibitor, blood pressure, dogs, erythropoietin, red blood cell production,renal function

Downloads

How to Cite

Ritthikulprasert, S., Rodphol, M., Nimrotham, A., Sattayatham, S., Komolvanich, S., Trisiriroj, M., & Buranakarl, C. (2013). Effects of Erythropoietin on Blood Pressure, Renal Function and Red Blood Cell Production in Dogs with Chronic Kidney Disease with and without Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor. The Thai Journal of Veterinary Medicine, 41(2), 227–234. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/9532

Issue

Section

Original Articles