Seminal Plasma MDA Concentrations Correlating Negatively with Semen Quality in Asian elephants
Keywords:
ช้าง, มาลอนไดอัลดีไฮด์, oxidative stress, น้ำเชื้อ, elephant, malondialdehyde, semenAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้คือเพื่อประเมินความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะ lipid peroxidation กับคุณภาพน้ำเชื้อของช้างเอเชีย โดยทำการตรวจวัดปริมาณของมาลอนไดอัลดีไฮด์ หรือ MDA ในน้ำเลี้ยงเซลล์อสุจิที่แยกได้จากน้ำเชื้อของช้างที่มีร้อยละของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของเซลล์อสุจิที่แตกต่างกันด้วยวิธี thiobarbituric acid method จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของระดับ MDAกับค่าคุณภาพน้ำเชื้อสองค่าคือ ร้อยละของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของเซลล์อสุจิและร้อยละของเซลล์อสุจิที่มีรูปร่างปกติ ผลการวิเคราะห์พบว่าระดับของ MDA มีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับค่าทั้งสองอย่างมีนัยสำคัญ (R=0.2131 และ 0.1685 ตามลำดับ) และพบว่าระดับของ MDA นั้นแตกต่างกันไปในช้างแต่ละเชือกอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) นอกจากนี้เมื่อทำการแบ่งกลุ่มน้ำเชื้อออกเป็นกลุ่มที่มีร้อยละของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของเซลล์อสุจิที่ต่ำ (<40%) กับกลุ่มที่มีร้อยละของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของเซลล์อสุจิที่สูง (>40%) พบว่ากลุ่มที่มีร้อยละของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของเซลล์อสุจิที่สูงมีระดับของ MDA ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ผลที่ได้รับแสดงให้เห็นว่า MDA สามารถใช้ในการช่วยตรวจสอบคุณภาพของน้ำเชื้อช้างที่มีคุณภาพต่ำที่มีสาเหตุมาจากการเกิด lipid peroxidation ได้ ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษานี้ทำให้เราเข้าใจสรีรวิทยาระบบสืบพันธ์ของช้างมากขึ้น
คำสำคัญ: ช้าง มาลอนไดอัลดีไฮด์ oxidative stress น้ำเชื้อ
Abstract
The aim of this study was to determine whether lipid peroxidation is correlated with semen quality in Asianelephant bulls. Malondialdehyde (MDA) in seminal plasma from ejaculates with varying percentages of progressivemotility was measured using Thiobarbituric Acid method. Correlation between the MDA levels and percentages ofprogressive motility and normal morphology were performed. Results revealed that the MDA levels weresignificantly negative, which correlated (p<0.05) with the percentages of progressive motility and normal morphology(R=0.2131 and 0.1685, respectively). The results also showed that the MDA levels were significantly differencebetween each bull (p<0.01). Furthermore, when the ejaculates were grouped according to motility scores into twogroups; low- (<40%) and high-percentage of progressive motility (>40%), a significant difference was detectedbetween the MDA means (±SD) of the low- (20.7±11.4 nmol/ml) and high-percentages of progressive motility(14.4±7.8 nmol/ml) groups. The results obtained from this study suggested that MDA could be a potential parameterapplicable for the assessment of elephant semen quality. It could as well be deduced from this study that oxidativestress might play a key role in low fertility due to poor semen quality in captive male elephants. This data providesbeneficial information to better understanding of elephant reproduction in captivity.
Keywords: elephant, malondialdehyde, oxidative stress, semen