The Antinociceptive Effects of Tramadol on the Thermal Threshold Response in Cats

Authors

  • Saowanee Jiwlawat Department of Veterinary Surgery, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330
  • Sumit Durongphongtorn Department of Veterinary Surgery, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330

Keywords:

การระงับปวด, แมว, ระดับความร้อนที่เริ่มมีการตอบสนอง, ทรามาดอล, antinociception, cat, thermal threshold, tramadol

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการระงับปวดของทรามาดอลต่อระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองในแมว 8 ตัว โดยใช้อุปกรณ์วัดระดับความร้อน ซึ่งประกอบด้วย แถบซิลิโคนให้ความร้อนและตัววัดอุณหภูมิติดแนบผิวหนังบริเวณช่องอก แมวทั้ง 8 ตัว ได้รับยาที่ใช้ศึกษาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แบบสุ่ม คือ ทรามาดอล ขนาด 2 มก.ต่อ กก. มอร์ฟีนขนาด 0.2 มก.ต่อ กก. และ normal saline ปริมาณ 0.04 มล.ต่อ กก.(กลุ่มควบคุม) โดยมีระยะพักระหว่างยาแต่ละชนิดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และผู้ทำการทดลองจะไม่ทราบชนิดของยาที่แมวได้รับ การกระตุ้นเริ่มด้วยความร้อนที่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งแมวแสดงอาการตอบสนอง ได้แก่ ผิวหนังกระตุก หันไปมองที่เครื่องมือ และกระโดดไปข้างหน้า จึงหยุดการกระตุ้น และ บันทึกอุณหภูมิ ณ จุดที่แมวแสดงอาการตอบสนอง และถือเป็นระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนอง โดยวัดค่าปกติของแมวแต่ละตัวก่อนได้รับยา ทำซ้ำกัน 3 ครั้ง ห่างกัน 15 นาที และกระตุ้นภายหลังที่แมวได้รับยาเป็นเวลา 15, 30, 45, 60, 90, 120,150, 180, 210, 240, 270, 300, 330, 360, 480 และ 720 นาที ตามลำดับ ขณะทำการทดลองแมวสามารถทนต่อการกระตุ้นด้วยความร้อนซ้ำๆ ได้ตลอดการทดลอง และแมวแสดงพฤติกรรมเป็นปกติระหว่างทำการทดลอง แมวสามารถ กินอาหาร กินน้ำ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะเล่น เลียทำความสะอาดตัวเอง และตอบสนองต่อการสัมผัสของมนุษย์ได้ตามปกติ โดยค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองตลอด 12 ชั่วโมงมีค่า 42.0±0.5°ซ. ในกลุ่มควบคุม, 43.2±0.9°ซ. ในกลุ่มมอร์ฟีน และ 44.2±1.6°ซ. ในกลุ่มทรามาดอล ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ของค่าเฉลี่ยของระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองตลอด 12 ชั่วโมงระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และค่าเฉลี่ยของระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับก่อนให้ยา (p<0.05) ระหว่างเวลา 15-270 นาที และ 330-360 นาที ภายหลังฉีดมอร์ฟีน และระหว่างเวลา 45-90นาที, 180-210 นาที และ 270-300 นาที ภายหลังฉีดทรามาดอล จากการศึกษาครั้งนี้สรุปว่า ทรามาดอลมีประสิทธิภาพในการระงับปวดที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยความร้อนในแมว โดยระดับความร้อนที่ทำให้แมวเริ่มมีการตอบสนองหลังได้รับทรามาดอลเพิ่มขึ้นแตกต่างจากก่อนได้รับยา

คำสำคัญ: การระงับปวด แมว ระดับความร้อนที่เริ่มมีการตอบสนอง ทรามาดอล

 

Abstract

The study is of the antinociceptive effects of tramadol on the thermal threshold response in eight cats using athermal threshold-testing device which contained a heater element and a temperature sensor placed on the shavedlateral thoracic area. Each cat randomly received an intramuscular administration of tramadol 2 mg/kg, morphine 0.2mg/kg and saline 0.04 ml/kg (placebo) at a weekly interval from an observer unaware of the treatment. The thermalthresholds were measured and recorded by activation of the heater until the cat showed a positive response (e.g. skinflicks, turning and looking at the probe and jumping forwards). Three baseline measurements were made at 15 minintervals before the treatment. The thermal thresholds were measured at 15, 30, 45, 60, 90, 120, 150, 180, 210, 240, 270,300, 330, 360, 480 and 720 min after the drug administration. All cats tolerated well with repeated thermal stimuli andcontinued normal activities (e.g. eating, drinking, defecation, urination, playing, grooming, and responded to humancontact) throughout the testing period. The mean thermal thresholds±SD over 12 hours were 42.0±0.5°C (placebo),43.2±0.9°C (morphine) and 44.2±1.6°C (tramadol). There were significant differences (ρ<0.05) of the mean thermalthresholds over 12 hours between the experimental and control groups. When compared with the pre-injectionbaseline, thermal threshold was significantly increased (ρ<0.05) between 15-270 min and 330-360 min after morphineand between 45-90 min, 180-210 min and 270-300 min after tramadol. In conclusion, tramadol had an analgesicefficacy on thermal stimuli in cats by increasing the thresholds significantly above the pre-injection basal thermalthresholds.

Keywords: antinociception, cat, thermal threshold, tramadol

Downloads

How to Cite

Jiwlawat, S., & Durongphongtorn, S. (2013). The Antinociceptive Effects of Tramadol on the Thermal Threshold Response in Cats. The Thai Journal of Veterinary Medicine, 41(2), 171–178. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/9525

Issue

Section

Original Articles