Immunolocalization of Estrogen Receptor beta, Androgen Receptor and Ki-67 Protein in Testicular Tissues of Unilateral Cryptorchidism Boar
Keywords:
ตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจน, สุกรที่เป็นทองแดง, ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ชนิดเบต้า, Ki-67, androgen receptor, cryptorchidism boar, estrogen receptor betaAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา การแสดงออกของตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดเบต้า ตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจน และโปรตีนงอกขยาย (โปรตีน Ki-67) ในเนื้อเยื่ออัณฑะที่อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ และในช่องท้องของสุกรก่อนวัยเจริญพันธุ์ที่เป็นทองแดง เนื้อเยื่ออัณฑะถูกเก็บจากสุกรอายุ 2 เดือน จำนวน 8 ตัว ใช้วิธี avidin-biotin-peroxidase complex (ABC) ของทางอิมมูนโนฮิสโตเคมีในการตรวจหาตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดเบต้า ตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจน และโปรตีน Ki-67 ผลการศึกษา พบว่าลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเนื้อเยื่ออัณฑะที่อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะและภายในช่องท้อง พบการมีอยู่ของโปรตีน Ki-67 ที่เซลล์สืบพันธุ์ เซลล์ interstitial และเซลล์ Sertoli ของเนื้อเยื่ออัณฑะที่อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะและภายในช่องท้อง และพบการมีอยู่ของตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดเบต้า และตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจนที่เซลล์สืบพันธุ์ และเซลล์ interstitial ของอัณฑะที่อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะและภายในช่องท้อง ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบการแสดงออกของตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ชนิดเบต้า ที่บริเวณ interstitial ของเนื้อเยื่ออัณฑะที่อยู่ภายในถุงหุ้มอัณฑะมากกว่าอัณฑะภายในช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญ และพบแนวโน้มการแสดงออกของโปรตีน Ki-67 ใน seminiferous tubuleของเนื้อเยื่ออัณฑะที่อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะมากกว่าเนื้อเยื่อที่อยู่ในช่องท้อง (p=0.40) จากการศึกษาไม่พบความแตกต่างระหว่างการแสดงออกของตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจนของเนื้อเยื่ออัณฑะที่อยู่ในถุงหุ้มอัณฑะและภายในช่องท้อง จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่ออัณฑะที่อยู่ภายในถุงหุ้มอัณฑะและภายในช่องท้องไม่มีความแตกต่างกันในสุกรที่เป็นทองแดง อย่างไรก็ตาม พบความแตกต่างของรูปแบบการติดสีอิมมูนโนฮิสโตเคมีระหว่างเนื้อเยื่ออัณฑะที่อยู่ภายในถุงหุ้มอัณฑะและภายในช่องท้อง และระหว่างseminiferous tubule และบริเวณ interstitium
คำสำคัญ: ตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจน สุกรที่เป็นทองแดง ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ชนิดเบต้า Ki-67
Abstract
This study was performed to investigate histological structure, expressions of estrogen receptor beta (ERβ),androgen receptor (AR) and proliferation marker (Ki-67 protein) in scrotal and abdominal testicular tissues ofunilateral cryptorchidism prepubertal boars. Testicular tissues were obtained from 8 unilateral cryptorchidism boars.Immunohistochemical staining for ERβ, AR and Ki-67 protein was performed by avidin-biotin-peroxidase complex(ABC) method. The similar histological structure of both scrotal and abdominal testicular tissues was observed.Immunolocalization of Ki-67 was found in the nuclei of germ cells, interstitial cells and Sertoli cells of both scrotal andabdominal testicular tissues. For ERβ and AR, the immunolocalization was found in germ cells and interstitial cells ofboth scrotal and abdominal testicular tissues. Based on the statistical analysis, the ERβ expression in the interstitialarea of scrotal testis was significantly higher than in the abdominal testis. A tendency of more expressions of Ki-67protein (p=0.40) in the seminiferous tubule of the scrotal testicular tissues than in the abdominal testicular tissues wasfound. The expressions of AR in scrotal and abdominal testicular tissues were not significantly different. Inconclusion, the histological structures of scrotal and abdominal testis of unilateral cryptorchidism boars are notdifferent. However, there are differences in their immunolocalization patterns between the scrotal and abdominaltestis as well as seminiferous tubules and interstitial areas.
Keywords: androgen receptor, cryptorchidism boar, estrogen receptor beta, Ki-67