The Virulence of Thai Isolated Mycoplasma gallisepticum in Challenged Embryonated Eggs

Authors

  • Somsak Pakpinyo Department of Veterinary Medicine, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 Thailand.
  • Suwarak Wanaratana Department of Veterinary Medicine, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 Thailand.
  • Sarawoot Mooljuntee Department of Veterinary Medicine, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330 Thailand.

Keywords:

แอนติบอดี, ไข่ไก่ฟัก, มัยโคพลาสมา, กัลลิเซพติกุม, พีซีอาร์, คะแนนรอยโรคถุงลมช่องอกและท่อลม, antibody, embryonated eggs, Mycoplasma gallisepticum, PCR, thoracic airsac, tracheal lesion score

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงและพยาธิสภาพของเชื้อ มัยโคพลาสมา กัลลิเซพติกุม (เอ็มจี) สายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทยในไข่ไก่ฟักและความเป็นไปได้ของการนำไข่ไก่ฟัก มาศึกษาความรุนแรงของการได้รับเชื้อเอ็มจีแทนตัวไก่ทดลอง ทำการแบ่งไข่ไก่ฟักอายุ 8 วัน จำนวน 120 ฟอง เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 กลุ่มควบคุมลบ (ฉีดอาหารเลี้ยงเชื้อเข้าไปที่ถุงไข่แดง 0.1 มล.) จำนวน 12ฟอง กลุ่ม 2 (2.1, 2.2 และ 2.3), 3 (3.1, 3.2 และ 3.3) และ 4 (4.1, 4.2 และ 4.3) ทำการฉีดเชื้อเอ็มจีเสตรน เอฟ, 6/85 และ ของไทยเข้าไปที่ถุงไข่แดง (yolk sac) 0.1 มล. ตามลำดับ โดยกลุ่มย่อยของแต่ละกลุ่มนั้นมีจำนวน 12 ฟอง และปริมาณเชื้อที่ได้รับลดลง 108, 106 และ104 ซีเอฟยู/มล. ตามลำดับ สังเกตการตายของคัพภะช่วงแรก (3-6 วันหลังรับเชื้อ) และช่วงท้าย (7 วันหลังรับเชื้อเป็นต้นไป) เมื่อไก่อายุ 7วัน เจาะเลือดเพื่อตรวจหาแอนติบอดีด้วยวิธี เอสพีเอ และอีไลซา จากนั้นผ่าซากสังเกตคะแนนรอยโรคของถุงลมช่องอกด้วยตาเปล่า และท่อลมด้วยจุลพยาธิวิทยา พร้อมทั้งป้ายเชื้อที่บริเวณถุงลมเพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มจี ด้วยวิธีพีซีอาร์ ผลพบว่า ทุกกลุ่มพบจำนวนไข่ฟักที่ตายช่วงแรก ระหว่าง 0–4 ฟอง จำนวนไข่ฟักที่ตายช่วงท้าย ระหว่าง 2–7 ฟอง และพบว่า ทุกกลุ่มพบจำนวนลูกไก่ที่ฟักออกมาแล้วรอดชีวิตช่วงก่อน 6 วันแรก และอยู่รอดครบ 7 วัน ระหว่าง 0–3 ตัว และ 1–9 ตัว ตามลำดับ คะแนนรอยโรคของถุงลมช่องอกด้วยตาเปล่าของคัพภะที่ตายและลูกไก่ที่รอดชีวิต มีค่าเฉลี่ย ระหว่าง 0–1.33 โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากนำกลุ่มทดลองมาเปรียบเทียบกับกลุ่ม 1 พบว่า กลุ่ม 3.2, 3.3, 4.1 และ 4.2 พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนการประเมินรอยโรคของท่อลมทางจุลพยาธิวิทยา ค่าเฉลี่ย ระหว่าง 0.81–2.56 โดยไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จำนวนตัวอย่างที่ให้ผลบวกด้วยวิธีทางเอสพีเอและอีไลซา คือ 0 และ 1 ตัวอย่าง ตามลำดับ และผลบวกด้วยวิธีพีซีอาร์ คือ 0–4 ตัวอย่าง ซึ่งกลุ่ม 1 และ 2.3 นั้นไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อเอ็มจี จากผลการศึกษาพบว่าเชื้อเอ็มจีสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทยสามารถก่อให้เกิดรอยโรคของถุงลมช่องอกได้และมีความเป็นไปได้ที่จะนำไข่ไก่ฟักมาศึกษาความรุนแรงของเชื้อเอ็มจีแทนไก่ทดลอง

คำสำคัญ: แอนติบอดี ไข่ไก่ฟัก มัยโคพลาสมา กัลลิเซพติกุม พีซีอาร์ คะแนนรอยโรคถุงลมช่องอกและท่อลม

 

Abstract

This study was to investigate the virulence and pathogenicity of Thai isolated Mycoplasma gallisepticum (MG)inoculated into embryonated eggs and the chance of virulence study in embryonated eggs instead of experimentalchickens. One hundred and twenty eight-day-old embryonated eggs were divided into 4 groups as follows. Group 1consisting of 12 eggs served as sham negative control and was inoculated with 0.1 ml of broth into yolk sac. Group 2(2.1, 2.2 and 2.3), 3 (3.1, 3.2 and 3.3) and 4 (4.1, 4.2 and 4.3) were inoculated with 0.1 ml of MG strains F, 6/85 and Thaiisolated into yolk sacs, respectively. Each subgroup consisted of 12 eggs and the number of microorganisms differedbetween each subgroup, 108, 106 and 104 CFU/ml, respectively. Early death period (3-6 days post inoculation) andlate death period (7 days and later post inoculation) were observed. When the chicks were 7 days old, blood collectionwas done for serology by SPA and ELISA. Then all of them were necropsied for gross thoracic airsac lesion score andmicroscopic tracheal lesion score, and the airsacs of all chicks were swabbed for DNA detection by PCR assay. Resultsrevealed that the early and late death periods of all groups ranged from 0-4 and 2-7 eggs, respectively, and thenumber of survival chicks 0-6 days old and 7 days old were 0-3 and 1-9, respectively. The mean of thoracic airsaclesion score of dead and survival chicks was 0-1.33 without significant difference, however, significant difference wasfound when group 1 was compared with groups 3.2, 3.3, 4.1 and 4.2 (p<0.05). The mean of tracheal lesion score was0.81-2.56 without significant difference. The number of positive reactors against SPA and ELISA was 0 and 1,respectively. The number of positive results against PCR assay was ranged 0-4. However, MG DNA of groups 1 and2.3 was not observed. This study suggested that evaluation of the virulence and pathogenicity of Thai isolated MGcould cause a lesion of thoracic airsac, and embryonated eggs could be used instead of experimental chickens invirulence study.

Keywords: antibody, embryonated eggs, Mycoplasma gallisepticum, PCR, thoracic airsac, tracheal lesion score

Downloads

How to Cite

Pakpinyo, S., Wanaratana, S., & Mooljuntee, S. (2013). The Virulence of Thai Isolated Mycoplasma gallisepticum in Challenged Embryonated Eggs. The Thai Journal of Veterinary Medicine, 41(1), 33–38. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/9462

Issue

Section

Original Articles