Morphological Aspects by Light and Scanning Electron Microscopic Studies of Swamp Buffalo Endometrium at Follicular and Mid-luteal Phases
Keywords:
วงรอบการเป็นสัด, สัณฐานวิทยา, จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด กระบือปลัก, มดลูก, estrous cycle, morphology, scanning electron microscopy, swamp buffalo, uterusAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของเนื้อเยื่อโพรงมดลูกกระบือปลักในระยะฟอลลิคูลาร์และลูเทียลช่วงกลาง เก็บปีกมดลูกกระบือปลักเพศเมียจากโรงฆ่าสัตว์ท้องถิ่นจำนวน 20 ตัว แบ่งวงรอบการเป็นสัดออกเป็นระยะฟอลลิคูลาร์จำนวน 10 ตัวและระยะลูเทียลช่วงกลางจำนวน 10 ตัว ศึกษาลักษณะทั่วไปและตรวจวัดตัวแปรต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อโพรงมดลูกด้วยกล้องจุลทรรศน์แสงสว่างขณะที่นำเยื่อบุผิวมดลูกนำมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษาพบว่าความสูงเยื่อบุผิวมดลูก จำนวนต่อมมดลูกชั้นผิว และจำนวนของหลอดเลือดฝอยบริเวณชั้นใต้เยื่อบุผิวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ในระยะฟอลลิคูลาร์ จากลักษณะเยื่อบุผิวมดลูกภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่า เยื่อบุผิวปกคลุมไปด้วยเซลล์ที่มีซีเลีย และเซลล์คัดหลั่งที่มีลักษณะแตกต่างกัน ตั้งแต่การพบเซลล์คัดหลั่งที่มีไมโครวิลไลจำนวนมากและที่มีลักษณะเป็น secretory protrusion ในระดับต่าง ๆ กัน กระจายอยู่เป็นจำนวนมากในระยะฟอลลิคูลาร์ ขณะที่ในระยะลูเทียลช่วงกลาง พบเซลล์คัดหลั่งที่มีไมโครวิลไลสั้นปกคลุมอย่างหนาแน่น โดยพบ secretoryvesicles ที่บริเวณรูเปิดของต่อมมดลูกกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก การศึกษานี้สรุปได้ว่า ลักษณะของเนื้อเยื่อโพรงมดลูกกระบือปลักเปลี่ยนแปลงตามวงรอบการเป็นสัดเพื่อรองรับกลไกต่าง ๆ ทางสรีรวิทยาที่เกิดขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่การขนส่งเซลล์อสุจิ การเจริญของตัวอ่อนในระยะแรก และการฝังตัวของตัวอ่อน
คําสําคัญ : วงรอบการเป็นสัด, สัณฐานวิทยา, จุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด กระบือปลัก, มดลูก
Abstract
This study was carried out to observe morphological changes of swamp buffalo endometrium at follicularand mid-luteal phases. Uterine horns were collected from female buffaloes at a local abattoir and the selected estrousstages were categorized into the follicular (n = 10) and mid-luteal (n = 10) phases. General histology andhistomorphometry were examined under light microscope (LM) whereas a scanning electron microscope (SEM) wasused to study surface epithelial changes. The results showed that the height of the endometrial epithelium, thenumber of superficial endometrial glands and the number of capillaries were significantly greater (p < 0.05) at thefollicular phase. By SEM examination, the ciliated and secretory cells with different patterns, i.e. abundant microvillion the apical part or secretory protrusion in various degrees, distinctly increased at the follicular phase. In themeantime, numerous secretory cells with stubby microvilli were covered throughout the endometrial surface withsecretory vesicles on endometrial glandular orifices at the mid-luteal phase in which the ciliated cells were sparselyseen. It was concluded that the swamp buffalo endometrium obviously revealed modifications during the estrouscycle for physiological events, i.e. sperm transport, early embryonic development and implantation.
Keywords : estrous cycle, morphology, scanning electron microscopy, swamp buffalo, uterus