Experimental Infection of Mice and Baby Chickens with Thailand Strain of Chikungunya Virus
Keywords:
ลูกไก่, เชื้อไวรัสชิคุนกุนยา, การติดเชื้อ, หนูไมซ์, ประเทศไทย, baby chicken, Chikungunya virus, infection, mice, ThailandAbstract
บทคัดย่อ
ศึกษาการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกโดยใช้หนูไมซ์ (ICR mice) และลูกไก่เป็นสัตว์ทดลองต้นแบบในการศึกษานี้ได้ใช้เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยในปี พ.ศ .2553 (Thailand 2010 strain) และเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่เคยระบาดในประเทศไทยในอดีตซึ่งเป็นเชื้อมาตรฐานอ้างอิง (Ross/186 strain) โดยฉีดเชื้อจำนวน 104, 106 และ 108 CID50 ให้กับหนูไมซ์อายุ 4 และ 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากหนูในวันที่ 1 ถึงวันที่ 7 หลังจากที่ได้รับเชื้อ และตรวจหาเชื้อในซีรั่มของหนู และได้ฉีดเชื้อจำนวน 108 CID50 ให้กับหนูไมซ์อายุ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากหนูในวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 หลังจากที่ได้รับเชื้อ และตรวจหาเชื้อในซีรั่มของหนู สำหรับลูกไก่อายุ 5 วันนั้น ได้รับเชื้อจำนวน 102, 104, 106 และ 108 CID50 หลังจากนั้นทำการเจาะเลือดจากลูกไก่ในวันที่ 1 ถึงวันที่ 7 หลังจากที่ได้รับเชื้อ และตรวจหาเชื้อในซีรั่มของลูกไก่ การตรวจหาเชื้อในซีรั่มนั้นใช้วิธี reverse transcriptionpolymerase chain reaction จากการศึกษาครั้งนี้พบการติดเชื้อในหนูไมซ์ที่อายุ 2 และ 4 สัปดาห์ โดยการติดเชื้อในหนูไมซ์ที่อายุ 4สัปดาห์ ที่ได้รับเชื้อจำนวน 108 TCID50 เกิดขึ้นเพียง 3 วัน หลังจากที่ได้รับเชื้อเท่านั้น โดยในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Thailand 2010 พบว่ามีหนูที่ติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 80, 80 และ 60 ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ และในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Ross/186 พบว่ามีจำนวนหนูที่ติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 60, 100 และ 60 ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ สำหรับในหนูไมซ์อายุ 2 สัปดาห์ ที่ได้รับเชื้อไวรัสจำนวน 108 TCID50 นั้นพบว่า ในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Thailand 2010 พบการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 90,100 และ 67 ในวันที่ 1, 2 และ 3 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ ส่วนในหนูไมซ์ที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ Ross/186 พบว่ามีจำนวนหนูที่ติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 100, 100, 50, 83 และ 100 ในวันที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หลังจากที่ได้รับเชื้อตามลำดับ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ไม่พบการติดเชื้อในหนูไมซ์อายุ 6 สัปดาห์ และในลูกไก่
คำสำคัญ : ลูกไก่, เชื้อไวรัสชิคุนกุนยา, การติดเชื้อ, หนูไมซ์, ประเทศไทย
Abstract
This study was conducted to investigate Chikungunya virus (CHIKV) infection in mammal and avian byusing mice and baby chickens as model animals. Thailand 2010 and Ross/186 strain (reference strain) were used inthis study. 104, 106 and 108 CID50 of CHIKV were inoculated to four- and six-week-old mice. Blood was collected andtested for virus for seven days. 108 CID50 of CHIKV was inoculated to two-week-old mice. Blood was collected andtested for virus for five days. For the baby chickens, 102, 104, 106 and 108 CID50 of CHIKV were inoculated to five-dayoldbaby chickens. Blood was collected and tested for virus for seven days. Serum samples were tested for CHIKV byreverse transcription polymerase chain reaction. CHIKV was detected in two- and four-week-old mice that wereinoculated with 108 CID50 of CHIKV. The percentages of Thailand 2010 strain of CHIKV infection in four-week-oldmice were 80, 80, and 60% on days 1, 2, and 3 post inoculation (PI), respectively. The percentages of Ross/186 strainof CHIKV infection in four-week-old mice were 60, 100, and 60% on days 1, 2, and 3 PI, respectively. The percentagesof Thailand 2010 strain of CHIKV infection in two-week-old mice were 90, 100, and 67% on days 1, 2, and 3 PI,respectively. The percentages of Ross/186 strain of CHIKV infection in two-week-old mice were 100, 100, 50, 83, and100% on days 1, 2, 3, 4, and 5 PI, respectively. No virus was detected in any 6-week-old mice and baby chickens.
Keywords : baby chicken, Chikungunya virus, infection, mice, Thailand