An Anatomical, Histological and Ultrastructural Study on the Placenta of the Red-shanked Douc Langur (Pygathrix nemaeus)

Authors

  • Damri Darawiroj Department of Anatomy, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Patumwan, Bangkok, 10330 Thailand
  • Natthaya Tuaprakone Dusit Zoo, Zoological Park Organization under the Royal Patronage of HM the King, Dusit, Bangkok, 10300 Thailand
  • Yongchai Utara Dusit Zoo, Zoological Park Organization under the Royal Patronage of HM the King, Dusit, Bangkok, 10300 Thailand

Keywords:

ค่างห้าสี, รก, กายวิภาค, จุลกายวิภาค, จุลทรรศน์อิเลคตรอน, douc langur, placenta, anatomy, histology, electron microscopy

Abstract

บทคัดย่อ

ในการศึกษาลักษณะทางกายวิภาค จุลกายวิภาค และระดับจุลทรรศน์อิเลคตรอนของรกค่างห้าสี (Pygathrix nemaeusnemaeus) ซึ่งเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ พบว่ามีลักษณะของรกเป็นสองพู (disc) โดยพูหลักจะมีขนาดใหญ่กว่า และมีสายสะดือมายึดเกาะ ในแต่ละพูจะมีร่องแบ่งเป็น 4-6 พูย่อย รกมีน้ำหนักรวมตั้งแต่ 94-135 กรัม เมื่อจำแนกทางจุลกายวิภาค พบว่า chorionfrondosum ของรกค่างห้าสีเป็นแบบ villous, haemomonochorial และ deciduate โดยเนื้อเยื่อส่วนลูกมีการยื่นออกเป็น villus ซึ่งมีการแตกแขนงออกทุกทิศทางคล้ายต้นไม้ และแช่อยู่ในเลือดของแม่ โครงสร้างที่กั้นระหว่างเนื้อเยื่อแม่และลูก คือ syncytiotrophoblast,ผนังหลอดเลือดฝอย และเยื่อบุฐานของลูก syncytiotrophoblast มีการเรียงตัวเป็นเซลล์ชั้นเดียว และในบางบริเวณมีการรวมนิวเคลียสเข้าด้วยกันเป็น syncytial knot เพื่อให้เกิดบริเวณที่เลือดของแม่และลูกสัมผัสกันได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบการสะสมของเกลือแร่ในบริเวณที่เคยมีก้อน fibrinoid มาก่อน ซึ่งทั้งสองโครงสร้างนี้เป็นลักษณะเด่นที่พบได้ในรกของค่างห้าสี และ primate อื่นบางชนิด ส่วน chorionlaeve ของรกประกอบด้วย ชั้นของ amniotic cells, the extravillous cytotrophoblast และชั้น decidual cells และพบส่วนที่หลงเหลืออยู่ของ allantoic duct ในสายสะดือโดยอยู่ระหว่างหลอดเลือด umbilical ลักษณะพื้นผิวทางด้านที่สัมผัสกับเลือดแม่ของวิลไลถูกปกคลุมด้วยไมโครวิลไลจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนยื่นของเซลล์ syncytiotrophoblast และพบการเว้าเป็นแอ่งบริเวณส่วนปลายของวิลไลได้เด่นชัด ซึ่งมักพบว่ามีเม็ดเลือดแดงของแม่มาติดอยู่ด้วย เซลล์ syncytiotrophoblast ประกอบด้วยนิวเคลียสที่มี การจับกลุ่ม ของโครมาตินอย่างหนาแน่น และมีไซโตพลาสมซึ่งเต็มไปด้วยถุงน้ำที่ย้อมติดสีเข้ม ในขณะที่ cytotrophoblast มีการจับกลุ่มโครมาตินกระจายอยู่ตามขอบของนิวเคลียส การศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลทางชีววิทยาพื้นฐานสำหรับการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ค่างห้าสีในอนาคตต่อไป

คำสำคัญ : ค่างห้าสี, รก, กายวิภาค, จุลกายวิภาค, จุลทรรศน์อิเลคตรอน

 

Abstract

A red-shanked douc langur (Pygathrix nemaeus nemaeus) is currently enlisted as an endangered primatespecies. This study was undertaken to describe the gross anatomy, histology and ultrastructural morphology of thedouc langur term placenta by light, scanning, and transmission electron microscopy. The primary disc of bidiscoidalplacenta was separated to 4-6 small cotyledonary subdivisions and was attached by an umbilical cord. The chorionfrondosum of placenta was classified as villous, haemomonochorial and deciduate type. The interhaemal area wascomposed of a layer of syncytiotrophoblast that occasionally clustered as the syncytial knot, fetal capillaryendothelium and its basement membrane. The intervillous mineralized fibrinoid mass and syncytial knot wereprominent features in term placenta of the douc langur. The chorion laeve consisted of an avascular layer of amnioticcells, the extravillous cytotrophoblast layer and the endometrial decidual cells layer. The allantoic duct was presentedbetween the umbilical vessels in the umbilical cord. Ultrastructurally, the surfaces of placental chorionic villi werecovered by numerous microvilli. The prominent indentations and entrapped maternal red blood cells were observedat the tip of the terminal villi. The syncytiotrophoblasts contained densely clumps of chromatin within the nucleusand dark-staining vesicles in their cytoplasm whereas the cytotrophoblast had clumps of chromatin distributed at theperiphery of the nucleus. The result of this study is the biological data for further conservation studies of this species.

Keywords : douc langur, placenta, anatomy, histology, electron microscopy

Downloads

How to Cite

Darawiroj, D., Tuaprakone, N., & Utara, Y. (2013). An Anatomical, Histological and Ultrastructural Study on the Placenta of the Red-shanked Douc Langur (Pygathrix nemaeus). The Thai Journal of Veterinary Medicine, 42(3), 297–303. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/10985

Issue

Section

Original Articles