Side Effects in 412 Dogs from Swimming in a Chlorinated Swimming Pool

Authors

  • Korakot Nganvongpanit Bone and Joint Research Laboratory, Department of Veterinary Biomedical Science and Public Health, Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50100, Thailand
  • Terdsak Yano Department of Food Animals, Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50100, Thailand

Keywords:

สุนัข, ผลข้างเคียง, ว่ายน้ำ, dog, side effects, swimming

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้รายงานผลข้างเคียงจากการว่ายน้ำของสุนัขในสระที่เป็นระบบคลอรีน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2551ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 สุนัขจำนวน 412 ตัว (เพศผู้ 219 ตัวและเพศเมีย 193 ตัว) อายุเฉลี่ย 38±30 เดือน สามารถแบ่งสุนัขตามวัตถุประสงค์การว่ายน้ำได้เป็น 4 กลุ่ม เพื่อนันทนาการ (152 ตัว) ลดน้ำหนัก (53 ตัว) กายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ (81ตัว) และ กายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อและข้อต่อ (126 ตัว) ทำการเก็บข้อมูลสุนัขที่มาว่ายน้ำ 1 ถึง 5 ครั้ง พบว่าในครั้งแรกที่สุนัขมาว่ายน้ำมีอาการตื่นเต้นและกลัว (ร้อยละ 29.13) แต่อาการนี้จะลดลงเมื่อมาว่ายน้ำบ่อยขึ้น พบว่ามีสุนัขบางตัว (ร้อยละ 36.51) ไม่สามารถว่ายน้ำได้ต้องอาศัยผู้ช่วย ผลข้างเคียงหลักที่พบหลังมาว่ายน้ำในครั้งแรกคือ ขนแห้ง (ร้อยละ 20.63) ผิวหนังแห้ง (ร้อยละ 18.93) และแผลถลอกบริเวณโคนขาหนีบด้านใน (ร้อยละ 15.78) โดยพบผลข้างเคียงนี้เพิ่มขึ้นเมื่อว่ายน้ำบ่อยขึ้น สำหรับผลข้างเคียงอื่นที่พบ ได้แก่ ตาแดง(ร้อยละ 13.59) หูอักเสบ (ร้อยละ 6.31) และโรคระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ 0.49) สัตวแพทย์สามารถนำผลไปให้ข้อมูลแก่เจ้าของสุนัขถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการว่ายน้ำในสระน้ำระบบคลอรีน

คำสำคัญ : สุนัข, ผลข้างเคียง, ว่ายน้ำ

 

Abstract

This study reports the side effects in dogs from swimming in a chlorinated swimming pool. Data werecollected from September 2008 until April 2012. A total of 412 dogs (male= 219 and female= 193), aged 38±30 months,served as the subjects. The dogs were divided into four groups based on the aims of swimming: entertainment (n=152), weight reduction (n= 53), rehabilitation after orthopedic surgery (n= 81), and rehabilitation for muscle and jointdisease (n= 126). The data were recorded for five separate swimming times. At first, some dogs (29.13%) showedoverexcitement and/or fear, but this percentage decreased with increased swimming frequency. Some dogs (36.51%)were not able to swim, and required a trainer. The main side effects from the 1st swimming time included dry hair(20.63%), dry skin (18.93%), and abrasion wounds at the armpits (15.78%); these effects increased with increasedfrequency of swimming. Other side effects were red eyes (13.59%), otitis (6.31%), and a small number of respiratoryproblems (0.49%). In conclusion, data from this study can be used by veterinarians to inform pet owners about thepotential side effects from swimming in chlorinated swimming pools.

Keywords : dog, side effects, swimming

Downloads

How to Cite

Nganvongpanit, K., & Yano, T. (2013). Side Effects in 412 Dogs from Swimming in a Chlorinated Swimming Pool. The Thai Journal of Veterinary Medicine, 42(3), 281–286. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/tjvm/article/view/10970

Issue

Section

Original Articles