Canine Urinary Incontinence Post-neutering: A Review of Associated Factors, Pathophysiology and Treatment Options
Keywords:
สุนัข, การทำหมัน, ภาวะปัสสาวะเล็ด, dog, gonadectomy, urinary incontinenceAbstract
บทคัดย่อ
ภาวะปัสสาวะเล็ดในสุนัขเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทางคลินิก โดยเฉพาะสุนัขเพศเมียที่ได้รับการทำหมันแล้ว การวินิจฉัยโรคทำได้จากการซักประวัติที่เกี่ยวข้อง อาการที่จำเพาะของโรค และการตัดสาเหตุจากปัญหาอื่นที่ทำให้สุนัขแสดงอาการปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะเล็ด ปัจจัยโน้มนำของโรคที่มีการศึกษา ได้แก่ สายพันธุ์ น้ำหนัก ความอ้วน การตัดหาง เทคนิคการทำหมันที่แตกต่างกันระหว่างการตัดรังไข่ออกเพียงอย่างเดียวหรือการตัดทั้งรังไข่และมดลูก ตลอดจนลักษณะทางกายวิภาคของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะส่วนต้นที่เปลี่ยนแปลงภายหลังการทำหมัน ในปัจจุบันแม้จะยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดถึงสาเหตุของการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดในสุนัขหลังทำหมัน แต่เป็นที่ยอมรับว่าอาการดังกล่าวเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน รวมถึงปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลังทำหมัน บทบาทของโกนาโดโทรปินได้แก่ ลูทีไนซิง ฮอร์โมน และฟอลลิเคิล สะติมูเลติง ฮอร์โมน ต่อการทำงานของระบบขับถ่ายปัสสาวะส่วนล่างและความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะปัสสาวะเล็ดเป็นอีกอีกหนึ่งปัจจัยที่ได้รับความสนใจและควรศึกษาต่อไปในอนาคต การรักษาสามารถทำได้ทั้งการรักษาทางยาและการผ่าตัด โดยจะพิจารณาผ่าตัดแก้ไขหากการรักษาทางยาไม่ได้ผลดีหรือสุนัขมีปัญหาสุขภาพที่ไม่เหมาะสมกับการได้รับยาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทางเลือกของการรักษาได้กล่าวในบทความ
คำสำคัญ : สุนัข, การทำหมัน, ภาวะปัสสาวะเล็ด
Abstract
Canine urinary incontinence is commonly encountered in small animal veterinary practice with highprevalence in spayed female dogs. The diagnosis of neutering-induced urinary incontinence is usually based onclinical signs, history and elimination of other possible diagnoses. The proposed predispositions to incontinence thatfollows neutering including gender, breed, body weight, obesity, tail docking, spaying technique (ovariectomy andovariohysterectomy) and morphology of the LUT, e.g. the position of neck of the bladder and urethral length, have allbeen investigated. At present, the exact underlying mechanisms are not fully understood. However, it is widelyagreed that the condition is multi-factorial and hormone-associated. The role of gonadotrophin LH and FSH in thephysiology and/or pathology of the canine lower urinary tract function and its relationship to the development ofurinary incontinence post-spay has recently been suggested and remains an interesting subject for further research.Medical approach is the mainstay of treatment for affected animals with surgical correction being considered whenmedical treatment fails to restore continence or patient is unsuitable for long-term medication. Medical and surgicaloptions in the treatment of post-neutering urinary incontinence are reviewed.
Keywords : dog, gonadectomy, urinary incontinence