Seasonal Monitoring of Dengue Infection in Aedes aegypti and Serological Feature of Patients with Suspected Dengue in 4 Central Provinces of Thailand
Keywords:
ยุงลายบ้าน, พฤติกรรมการกัด, การติดเชื้อไวรัสเดงกี, ไวรัสเดงกี, ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อไวรัสเดงกี, Aedes aegypti, biting behavior, dengue infection, dengue viruses, patients with suspected dengueAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ตรวจติดตามการติดเชื้อไวรัสเดงกีของยุงลายบ้านในแต่ละฤดูกาลและตรวจน้ำเหลืองของผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อไวรัสเดงกีใน 4 จังหวัดภาคกลางของประเทศไทย โดยการตรวจและจำแนกเชื้อไวรัสเดงกีแต่ละซีโรทัยป์ในตัวอย่างลูกน้ำ ยุงลายบ้าน และเลือดของผู้ป่วยโดยวิธี RT-PCR นอกจากนี้ ยังได้มีการศึกษาพฤติกรรมการกัดของยุงลายบ้านโดยการให้อาสาสมัครนั่งจับยุงลายบ้านตลอด 24 ชั่วโมง เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อหาอัตราการกัดของยุงลายบ้านในแต่ละฤดูกาล จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ยุงลายบ้านของทุกจังหวัดมีอัตราการติดเชื้อไวรัสเดงกีสูงสุดในฤดูร้อนระหว่างร้อยละ 64.4-77.5 และผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอัตราป่วยสูงสุดในฤดูฝน นอกจากนี้ยังตรวจพบการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเดงกีจากแม่สู่ลูกในลูกน้ำและยุงลายบ้านเพศผู้ของทุกจังหวัดในอัตราที่แตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด โดยมีอัตราการตรวจพบอยู่ระหว่างร้อยละ 18.3-46.9 ในลูกน้ำและร้อยละ 12.0-46.3 ในยุงลายบ้านเพศผู้ ในการจำแนกซีโรทัยป์ของไวรัสเดงกีในยุงลายบ้านพบว่า ซีโรทัยป์ 3 และ 1 เป็นสองซีโรทัยป์ที่พบมากที่สุด รองลงมา คือ ซีโรทัยป์ 2 และ 4 ซึ่งพบว่ามีความคล้ายคลึงกับซีโรทัยป์ที่ตรวจพบในผู้ป่วยไข้เลือดออก โดยพบว่า ซีโรทัยป์ 1 และ 3 เป็นสองซีโรทัยป์ที่พบมากที่สุด รองลงมา คือ ซีโรทัยป์ 2 และ 4 จากการศึกษาพฤติกรรมการกัดของยุงลายบ้านในแต่ละฤดูกาลพบว่า ยุงลายมีอัตราการกัดสูงสุดในฤดูร้อน คือ 30 ตัว/คน/ชั่วโมง ซึ่งข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโดยสามารถใช้ข้อมูลอัตราการติดเชื้อไวรัสเดงกีในยุงลายไปประกอบการพิจารณาหามาตรการที่เหมาะสมในการตัดวงจรการระบาดของโรคในพื้นที่ที่มีไข้เลือดออกเรื้อรังและในพื้นที่ที่พบเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์ใหม่เข้ามาได้อย่างทันเวลา
คำสำคัญ : ยุงลายบ้าน, พฤติกรรมการกัด, การติดเชื้อไวรัสเดงกี, ไวรัสเดงกี, ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อไวรัสเดงกี
Abstract
This study aimed to determine seasonal dengue infection rates in Ae. aegypti mosquitoes and dengueinfection in suspected patients in 4 central provinces of Thailand. Ae. aegypti mosquitoes collected during threeseasons and blood specimens taken from patients with suspected dengue were detected and serotyped for dengueviruses using RT-PCR. The biting behavior of Ae. aegypti females was studied by 24-hour mosquitoes collection once amonth using human bait for determination of seasonal biting rate. Dengue infection rates in Ae. aegypti femalesobtained from all the 4 provinces were highest in hot season and varied from place to place ranging from 64.4% to77.5%, whereas morbidity rates of DHF appeared to be highest in rainy season. The occurrence of transovarialtransmission was found in local Ae. aegypti larvae and males in all provinces investigated ranging from 18.3 % to 46.9% and from 12.0% to 46.3%, respectively. Serotyping of dengue viruses in Ae. aegypti showed that DENV 3 and DENV1 were the two most predominant serotypes, followed by DENV 2 and DENV 4. Similarly, DENV 1 and DENV 3 werethe two most prevalent serotypes detected in the serum of suspected patients, followed by DENV 2 and DENV 4. Thehighest biting activity of Ae. aegypti females took place in hot season with the biting rate of 30mosquitoes/person/hour. Data obtained from this study could be used as powerful tools for virological surveillancein Ae. aegypti populations before the occurrence of dengue outbreaks in endemic and newly dengue-introduced areas.
Keywords : Aedes aegypti, biting behavior, dengue infection, dengue viruses, patients with suspected dengue