Risk Factors of Subclinical Mastitis in Small Holder Dairy Cows in Khon Kaen Province
Keywords:
โคนม, ปัจจัยเสี่ยง, โรคเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ, dairy cows, risk factor, subclinical mastitisAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาแบบ cross-sectional เพื่อวัดปัจจัยเสี่ยงของโรคเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการในฟาร์มโคนม รายย่อยจำนวน 16 ฟาร์ม จากแม่โคทั้งหมด 285 ตัวในเขตสหกรณ์โคนมขอนแก่น จำกัด โดยใช้การประเมินจากแบบสอบถาม ข้อมูลอาหารและการตรวจ ประเมินในทุกครั้งที่เข้าเยี่ยมฟาร์ม ทำการเก็บตัวอย่างน้ำนมจากเต้านมที่ตรวจพบว่ามีผลบวกต่อระดับ CMT ที่ระดับ 3 ขึ้นไปเพื่อทำการ ตรวจนับจำนวนเซลล์โซมาติกและเพาะแยกชนิดเชื้อแบคทีเรีย ความชุกของการพบโรคเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการและปัจจัยเสี่ยงถูก นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ พบว่าความชุกของการเกิดเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการอยู่ที่ร้อยละ 36.14 ชนิดเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้ จากเต้านมที่ติดเชื้อ คือ กลุ่มสเตรปโตคอคคัสและกลุ่มสเตรปโคคอคคัสที่ให้ผลลบต่อ coagulase ค่า odds ratio ของแรงดันสูญญากาศ และยางในรีดนมที่ไม่เรียบมีความเสี่ยงในระดับ 2.18 และ 2.00 ตามลำดับ (p<0.05, 95% CIs) นอกจากนี้การไม่รีดนมต้นทิ้ง การไม่ใช้ผ้า เช็ดเต้าหนึ่งผืนต่อหนึ่งตัว หัวนมไม่แห้งและสะอาดก่อนการสวมหัวรีดนมก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดที่ 1.83, 3.37 และ 2.18 (p<0.05, 95% CIs) ค่าคะแนนร่างกายที่ต่ำกว่าเกณฑ์และความผิดปกติของกีบเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ 2.66 and 1.78, (p<0.05,CIs= 95) แม่โคนมที่มีระยะรีด นมไม่เกินระยะที่ 3 จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคน้อยกว่าแม่โคนมที่มีระยะให้นมที่มากกว่า จากการศึกษานี้แสดงว่าขั้นตอนการรีดนม ค่า คะแนนร่างกาย และความผิดปกติของกีบแม่โคมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการในโคนมในฟาร์มรายย่อย
คำสำคัญ : โคนม, ปัจจัยเสี่ยง, โรคเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ
Abstract
This cross-sectional study was introduced to determine the risk factors of subclinical mastitis in dairy farms. Sixteen small holder farms and 285 milking cows in Khon Kaen province were selected for the study. The mastitis investigation, feeding information and clinical inspection were applied in the farm visits. Milk samples from each quarter with a CMT score of 3 and bulk milk were collected for bacterial identification and somatic cell counts. The prevalence of subclinical mastitis and associated factors were analyzed. Results found that the prevalence of subclinical mastitis was 36.14%. Major microorganisms isolated from infected quarters were Streptococcus spp. and coagulase negative staphylococci. The odds ratio of vacuum pressure and teat liner were strongly related with subclinical mastitis (2.18 and 2.00, respectively). In addition, the milking management had a higher impact on subclinical mastitis with odds ratios of 1.83, 3.37 and 2.18 in no strip cup, no single towel and no clean and dry before milking, respectively (p<0.05) at 95% confidential intervals. High odds ratios in subclinical mastitis were also found in poor body condition score and abnormal hoof score accounted for 2.66 and 1.78, respectively (p<0.05) at 95% CIs. Dairy cows from the 1st to 3rd lactation had a significantly lower prevalence of subclinical mastitis than those in higher parities. In conclusion, the study demonstrated that milking management, body condition score, and hoof score were significantly related to subclinical mastitis in small holder dairy cows.
Keywords : dairy cows, risk factor, subclinical mastitis