Ultrasound-guided Transvaginal Follicular Aspiration and Development of Vitrified-thawed Thai Indigenous Beef Cattle (Bos indicus) Oocytes after in vitro Fertilization
Keywords:
การแช่แข็ง, ปิเปตแก้วขนาดเล็ก, ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย, การเจาะเก็บโอโอไซต์, cryopreservation, GMP, IVF, OPUAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการเจาะเก็บโอโอไซต์ผ่านทางช่องคลอดด้วยเครื่องคลื่นความถี่สูงในโคเนื้อ พันธุ์พื้นเมืองไทยโดยไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ก่อนการเจาะเก็บและการเก็บรักษาโอโอไซต์ที่เจาะเก็บได้ในรูปแบบแช่แข็งโดยวิธีวิทริฟิเคชั่น จัดแบ่งโคอายุระหว่าง 2-12 ปี ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามช่วงอายุ (โคสาว แม่โคอายุน้อย แม่โคอายุมาก) ผลการศึกษาพบว่า ฟอลลิเคิลที่พบบน รังไข่ส่วนใหญ่เป็นฟอลลิเคิลขนาดกลาง (φ 3-8 มม.) (p≤ 0.05) และจำนวนโอโอไซต์ที่เจาะเก็บได้เฉลี่ยในโคแต่ละกลุ่มไม่แตกต่างกัน อัตรา การรอดชีวิตของโอโอไซต์หลังการละลายมีค่าเท่ากับร้อยละ 60.78, 53.70 และ 57.50 อัตราการแบ่งตัวหลังปฏิสนธิภายนอกร่างกายมีค่า เท่ากับร้อยละ 38.71, 37.93 และ 39.13 และการพัฒนาของเอ็มบริโอเข้าสู่ระยะบลาสโตซีสมีค่าเท่ากับร้อยละ 6.45, 3.45 และ 4.35 ในโค สาว แม่โคอายุน้อย และแม่โคอายุมาก ตามลำดับ โดยผลที่ได้มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมโอโอไซต์และกลุ่มควบคุมสารละลายวิทริฟิเคชั่น (p≤ 0.05) การเจาะเก็บโอโอไซต์ผ่านทางช่องคลอดด้วยเครื่องคลื่นความถี่สูงในโคเนื้อพันธุ์พื้นเมืองไทยโดยไม่ใช้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ก่อนการเจาะ เก็บ สามารถเจาะเก็บต่อเนื่องเป็นงานประจำได้ โดยที่อายุของโคตัวให้ไม่มีผลต่อจำนวนและคุณภาพของโอโอไซต์ที่เจาะเก็บได้ อัตรารอด ชีวิตของโอโอไซต์หลังการทำละลาย และการพัฒนาของเอ็มบริโอหลังการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
คำสำคัญ : การแช่แข็ง, ปิเปตแก้วขนาดเล็ก, ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย, การเจาะเก็บโอโอไซต์
Abstract
This study was done to evaluate the efficiency of ultrasound-guided transvaginal follicular aspiration without hormonal pre-stimulation for collecting the oocytes of indigenous Thai beef cattle (Bos indicus), and to assess the vitrification method for their preservation. All animals between 2.5-12 years were categorized according to age (i.e. heifer, young cow, and old cow). A medium-sized follicle (φ 3-8 mm.) had the greatest distribution among the various size classes (p≤ 0.05), and the mean of oocytes collected from each group was not significantly different. Postthawed survival was 60.78, 53.70 and 57.50%, with a cleavage rate of 38.71, 37.93 and 39.13%, and a blastocyst embryo of 6.45, 3.45 and 4.35% among heifers, young cows and old cows, respectively, which was significantly less than the fresh control group and solution control group (p≤ 0.05). The present study suggests that OPU in Thai indigenous beef cattle without hormonal pre-stimulation can be routinely done for an extended period of time. The age of donor does not affect the number and quality of oocytes aspirated, post-thawed viability and the number of embryos developing after IVF.
Keywords : cryopreservation, GMP, IVF, OPU