TY - JOUR AU - Kulprasutidilok, Akua AU - Kulprasutidilok, Poonnat PY - 2021/12/30 Y2 - 2024/03/28 TI - The effects of the community-based lifestyle intervention program on the prevention of Type 2 Diabetes Mellitus among pre-diabetic elderly people at Khlong Lat Phrao community JF - Journal of health and health management JA - J Health & Health Manag VL - 7 IS - 2 SE - Research Articles DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/slc/article/view/250568 SP - 129-142 AB - <p>จุดประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อประเมินผลของแนวทางปรับวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ชีวิตตามปกติในพื้นที่ยากจนของเขตชุมชนเมืองในกรุงเทพมหานครของประเทศไทย การศึกษากึ่งทดลองครั้งนี้ได้ดำเนินการทดลองในชุมชนคลองลาดพร้าว ซึ่งเป็นพื้นที่ยากจนของกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมจากการคัดเลือกจำนวน 32 คนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานซึ่งมีอายุมากกว่า 60 ปี แบ่งเป็นกลุ่มที่ทำการปรับวิถีการดำเนินชีวิต (n = 18) เปรียบเทียบกับกลุ่มการดูแลชีวิตตามปกติ (n = 14) โดยอาสาสมัครผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชนได้มีการปรับอาหาร รูปแบบการออกกำลังกาย และ พฤติกรรม จากนั้นทำการติดตามปัจจัยทางคลินิก อัตราการเผาผลาญ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย ผลจากการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผู้เข้าร่วม การปรับเปลี่ยนประสบความสำเร็จเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้ชีวิตตามปกติในการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด (-18.67±1.9 เทียบกับ 6±3.8 mg/dl) รวมถึงน้ำหนักตัว (-1.62±1.35 เทียบกับ 0.46±0.68 kg) ดัชนีมวลกาย (-0.63±0.53 เทียบกับ 0.18±0.36 kg/m2) การบริโภคอาหาร (-295.61±184.22 เทียบกับ 115.85±149.58 kcal/day) คอเลสเตอรอลรวม (-32.66±35.35 เทียบกับ -24.27±23.50 mg/dl) ระดับไตรกลีเซอไรด์ (-78±39.44 เทียบกับ -38.90±37.73 mg/dl) ระดับคอเลสเตอรอลชนิดเอลดีเอล(-32.26±45.96 versus -13.27±22.94 mg/dl) ขณะที่การเคลื่อนไหวของร่างกายในกลุ่มผู้เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ชีวิตปกติ (+646.66±422.93 เทียบกับ -35.71±85.27 MET.min.wk-1) รวมถึงระดับคอเลสเตอรอลชนิดเอชดีเอล (+15.13±11.01 เทียบกับ +4.36±11.48 mg/dl) ดังนั้นการดำเนินการตามโปรแกรมการปรับวิถีชีวิตแบบเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในเขตความยากจนในเมืองนั้นสามารถนำไปใช้ได้จริง สามารถส่งผลที่น่าพอใจผลในการตรวจสอบทางคลินิกรวมถึงอัตราการเผาผลาญที่เปลี่ยนแปลงไป</p> ER -