TY - JOUR AU - บุญพร, จินตนา PY - 2022/12/31 Y2 - 2024/03/28 TI - อิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 31 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/259408 SP - 95-105 AB - <p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรู้ที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โดยนำแนวคิดความรอบรู้ทางสุขภาพของดอนนัทบีมมาใช้เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 100 ราย ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีเอาตัวแปรเข้าทั้งหมด</p><p><strong>ผลการวิจัย</strong>: พบว่าพบตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว  สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพได้ ร้อยละ 55 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (R<sup>2</sup> = .555) โดยพบว่าความรู้เกี่ยวกับการรับประทานยามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพสูงที่สุด (<em>b</em><strong><em> =</em></strong>.801) รองลงมาคือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพื้นฐาน (<em>b</em><strong><em> =</em></strong>.367) ความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับปฏิสัมพันธ์ (<em>b</em><strong><em> =</em></strong>.367)</p><p><strong>สรุป</strong>:  ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะควรพัฒนาความรู้ด้านการรับประทานยาและการมาตรวจตามนัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งจะส่งผลให้มีการสื่อสารด้านสุขภาพกันมากขึ้นและเพิ่มช่องทางสื่อเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้าข้อมูลและความรู้ด้านยาและโรคเรื้อรัง</p> ER -