TY - JOUR AU - รวยอาจิณ , ณิรดา AU - ชมจันทร์, ทองเปลว AU - สิงห์โต, ประภาพรรณ PY - 2022/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 31 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/257649 SP - 27-40 AB - <p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance; AMR) เป็นปัญหาที่สำคัญในโรงพยาบาลทั่วโลก เพราะมีความชุกสูงและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาทำได้ยาก ต้องใช้ยาร่วมกันหลายขนาน ทำให้อยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น มูลค่ายาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาเพิ่มขึ้นและมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น</p><p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นเวชระเบียนผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสิงห์บุรีที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาว่าพบเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ จำนวน 232 ราย ในช่วงวันที่ 1 มกราคม -31 ธันวาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบพรรณนา</p><p><strong>ผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างที่พบว่าเกิดการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ มีจำนวน 232 ราย เป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล ร้อยละ 53.44 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ73.70) มีอายุเฉลี่ย 66.23 ปี (SD 14.01) และมีโรคร่วม ร้อยละ 57.33 เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ร้อยละ 69.39 เคยติดเชื้อดื้อยามาก่อน พบว่าเป็นผู้ป่วยอายุรกรรมมากที่สุด (ร้อยละ 56.02) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ58.62) พบว่าติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เชื้อที่พบมากที่สุด คือ Escherichia coli (ร้อยละ 37.93) รองลงมาคือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เชื้อที่พบมากที่สุด คือ Acinetobacter baumannii (ร้อยละ 32.33) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.41 ได้รับยาปฏิชีวนะมากกว่า 1 กลุ่ม มีมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะต่อรายเฉลี่ย 11,799.12 บาท (SD 1141.70) ร้อยละ 30.17 มีจำนวนวันนอนระหว่าง 16-30 วัน และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.67 เสียชีวิตจากภาวะช็อคจากการติดเชื้อ</p><p><strong>สรุปผลการวิจัย</strong><strong>: </strong>จากการศึกษานี้พบว่า การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพที่ต้องควบคุมเป็นกรณีพิเศษ ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่พบในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรมและหอผู้ป่วยหนัก พบมากในผู้สูงอายุที่มีโรคร่วม มีประวัติเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเคยติดเชื้อดื้อยา รวมทั้งผู้ที่ได้รับการคาสายสวน/อุปกรณ์ต่างๆ ไว้ในร่างกาย ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุด และเชื้อที่พบมากที่สุด คือ Escherichia coli </p> ER -