TY - JOUR AU - ชุ่มคำลือ, ยงยุทธ PY - 2022/06/24 Y2 - 2024/03/28 TI - การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงโดยใช้เครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นในโรงพยาบาลพะเยา JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 26 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/257140 SP - 27-40 AB - <p><strong>บทนำ</strong> ภาวะสูญเสียการได้ยินเป็นความพิการที่พบบ่อยในทารกแรกเกิดโดยเฉพาะในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง การวินิจฉัยที่ล่าช้ามีผลต่อพัฒนาการทางด้านภาษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p><p><strong>วัตถุประสงค์</strong> เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงและผลการประเมินพัฒนาการของทารกที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินที่อายุ 18 เดือน&nbsp;&nbsp; <strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong></p><p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong> การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังโดยการทบทวนเวชระเบียน ในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลพะเยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 และได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยเครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic Emission, OAE) คัดเลือกทารกกลุ่มเสี่ยงตามเกณฑ์ของ The Joint Committee of Infant Hearing ค.ศ. 1994 และ ค.ศ. 2007 American Academy of Pediatrics กรณีที่ไม่ผ่านการตรวจคัดกรอง จะส่งต่อเพื่อตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory brainstem response, ABR) และทบทวนผลการประเมินพัฒนาการของทารกที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินที่อายุ 18 เดือน&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p><p><strong>ผลการศึกษา</strong> ทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยินจำนวน 317 ราย มีผลไม่ผ่านในครั้งแรก 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.4 และได้รับการตรวจซ้ำไม่ผ่าน 8 ใน 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.4 ในจำนวนนี้มีผลการตรวจระดับการได้ยิน พบภาวะสูญเสียการได้ยิน 2 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ร้อยละ 0.66 มี 1 รายมีภาวะสูญเสียการได้ยินระดับรุนแรงสองข้าง อีก 1 รายมีภาวะสูญเสียการได้ยินระดับเล็กน้อยข้างเดียว ผลการประเมินพัฒนาการที่อายุ 18 เดือน พบพัฒนาการล่าช้าด้านภาษาทั้ง 2 ราย ปัจจัยเสี่ยง 3 ลำดับแรกคือ 1. การได้รับยาที่มีผลข้างเคียงต่อหูต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ 2. การใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่องกันอย่างน้อย 5 วัน 3. น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,500 กรัม ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับภาวะสูญเสียการได้ยินในการศึกษานี้&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p><p><strong>สรุปผล </strong>อุบัติการณ์ของภาวะสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงเท่ากับร้อยละ 0.66 ทารกที่มีภาวะสูญเสียการได้ยินมีพัฒนาการล่าช้าด้านภาษาที่อายุ 18 เดือน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> ER -