TY - JOUR AU - เหลี่ยมสุทธิพันธุ์, จันทิมา PY - 2022/06/23 Y2 - 2024/03/29 TI - เรื่องผลของการเจริญสติเพื่อลดระดับความกลัวการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น งานเครื่องมือพิเศษอายุรกรรมโรงพยาบาลสิงห์บุรี JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 27 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/257080 SP - 65-73 AB - <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบ One group pre-post test design&nbsp; เพื่อศึกษาระดับความกลัวของผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นและเปรียบเทียบผลในการลดระดับความกลัวก่อน-หลัง การใช้แนวทางการเจริญสติ &nbsp;โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น จำนวน 30 รายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ใช้แบบวัดความกลัวที่พัฒนาดัดแปลงจากแบบวัดความเจ็บปวด ภายใต้กรอบแนวคิดความกลัวของกัลโลน<sup>1 </sup>ตั้งแต่เดือนธันวาคม2560 - มิถุนายน 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า ที แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (dependent or paired t-test)</p><p>ผลการวิจัยพบว่า&nbsp; ผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นจำนวน 30 ราย มีความกลัวในการทำหัตถการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น ระดับความกลัวในระดับปานกลางค่อนข้างมากค่าเฉลี่ย 5.53 และหลังจากการให้โปรแกรมการเจริญสติ พบว่า ระดับความกลัวอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 2.43 มีระดับความกลัวลดลงค่าเฉลี่ย 3.1 ค่าความดันโลหิต (Systolic BP) ของผู้ป่วยก่อนได้รับการเจริญสติ มีค่าความดันโลหิต (Systolic BP) เฉลี่ย 146.67 และ ค่าความดันโลหิต (Systolic BP) ของผู้ป่วยหลังจากการให้โปรแกรมการเจริญสติ มีค่าความดันโลหิต (Systolic BP) เฉลี่ย 123.73 และพบว่า ค่าความดันโลหิต (Systolic BP) ลดลงเฉลี่ย 22.93 ค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) ของผู้ป่วยก่อนได้รับการเจริญสติ มีค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) เฉลี่ย 90.60 ค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) ของผู้ป่วยหลังจากการให้โปรแกรมการเจริญสติ มีค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) เฉลี่ย 78.03 และพบว่า ค่าความดันโลหิต (Diastolic BP) ลดลงเฉลี่ย 12.57 ค่าชีพจร (Pulse) ของผู้ป่วยก่อนได้รับการเจริญสติ มีค่าชีพจร (Pulse) เฉลี่ย 94.80 และค่าชีพจร (Pulse) ของผู้ป่วยหลังจากการให้โปรแกรมการเจริญสติ มีค่าชีพจร (Pulse)&nbsp; เฉลี่ย 77.97 พบว่า ค่าชีพจร (Pulse) ลดลงเฉลี่ย 16.83 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 (P&lt;0.01)</p> ER -