TY - JOUR AU - พลเสน, ยุพา PY - 2021/12/30 Y2 - 2024/03/29 TI - การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันร่วมกับภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว: กรณีศึกษา JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 30 IS - 2 SE - กรณีศึกษา DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/250273 SP - 62 - 77 AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p>โรคหลอดเลือดในสมองตีบ (Stroke) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและพิการ &nbsp;โรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันเป็นระยะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง แต่เนื้อสมองยังไม่ตายผู้ป่วยยังมีโอกาสฟื้นฟูได้ถ้าได้รับการรักษาและดูแลที่ถูกต้อง รวดเร็วตามมาตรฐานวิชาชีพ และยังพบว่าในผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นพลิ้วมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติถึง5เท่า</p><p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>ของการศึกษา</strong> : เพื่อศึกษา เพิ่มพูนความรู้และทักษะกระบวนการพยาบาลในการดูแลการพยาบาลโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันร่วมกับภาวะหัวใจเต้นพลิ้วได้ถูกต้องเหมาะสมตามมาตรฐานวิชาชีพและเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤตไม่มีภาวะแทรกซ้อน ญาติและผู้ป่วยสามารถกลับไปดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง</p><p>กรณีศึกษาผู้ป่วยรายนี้พบว่าผู้ป่วยมาด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบในระยะเฉียบพลันและตรวจพบว่ามีภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว(Atrial fibrillation :AF) ร่วมด้วยแต่ยังไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยมาด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS) ช่วยเหลือที่ถูกต้อง รวดเร็วตั้งแต่ที่เกิดเหตุ ถูกนำเข้าสู่ระบบfast track strokeของโรงพยาบาลอ่างทองได้รับยาละลายลิ่มเลือดRecombinant Tissue Plasminogen Activator(rt-PA) ได้ภายในเวลา 2 ชั่วโมง 35 นาที Door to needle 55นาที ประเมิน NIHSS(National Institute of Health Stroke Scale) ก่อนให้ยา13คะแนน ผลจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต อาการดีขึ้นตามลำดับสามารถยกแขนขาข้างที่อ่อนแรงได้ประเมินNIHSSซ้ำได้5คะแนน observe clinical post rt-PAไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ไม่มีอ่อนแรงเพิ่ม ทำ CT brain หลังให้ยา rt-PA ครบ 24 ชั่วโมงพบว่า ไม่มีHemorrhage ระหว่างadmit Stroke unit ผู้ป่วยมีภาวะAF หัวใจเต้นเร็ว HR 160-180 ครั้ง/นาที ใจสั่น ไม่แน่นหน้าอก กระสับกระส่าย ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขภาวะวิกฤตได้รวดเร็ว ถูกต้องเหมาะสมจากสหสาขาวิชาชีพ ผลลัพธ์คือผู้ป่วยปลอดภัย พ้นภาวะวิกฤต ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยพักรักษาอยู่โรงพยาบาล 8 วันอาการทุเลาสามารถกลับบ้านได้ หลังจำหน่ายมีนัดทำ Cardiogram 1 สัปดาห์ &nbsp;และนัดตรวจซ้ำผู้ป่วยนอกแผนกอายุรกรรมอีก1เดือน รวมค่ารักษา 53,032บาท&nbsp;</p> ER -