TY - JOUR AU - น้อยนาค, ประตินพ PY - 2020/05/20 Y2 - 2024/03/29 TI - การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดและมีน้ำหนักน้อย ร่วมกับมีภาวะหายใจลำบาก: กรณีศึกษา JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 29 IS - 1 SE - กรณีศึกษา DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/249638 SP - 1-14 AB - <p>ทารกเกิดก่อนกำหนดและมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราการเจ็บป่วยและภาวะอัตราตายสูงกว่าทารกครบกำหนด การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด โดยเฉพาะทารกน้ำหนักตัวน้อย จึงจำเป็นต้องตระหนักและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น</p><p>กรณีศึกษา ทารกเพศชาย อายุครรภ์ 31 สัปดาห์ (by Ballard score system) คลอดโดยวิธีธรรมชาติทางช่องคลอด APGAR SCORE นาที่ที่ 1 เท่ากับ 9 คะแนน นาทีที่ 5 เท่ากับ 9 คะแนน น้ำหนักแรกเกิด 1,510 กรัม รับย้ายจากห้องคลอดมาที่ NICU โดยตู้อบแบบเคลื่อนที่ แรกรับ ทารกมีภาวะเขียวทั้งตัว และมีอาการหายใจลำบาก นำทารกเข้าตู้อบปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมจากนั้นใส่ท่อหลอดลมคอช่วยหายใจ พร้อมกับพ่นสารลดแรงตึงผิวในปอดและต่อเครื่องช่วยหายใจ งดสารน้ำสารอาหาร ใส่ OG tube และใส่สายสวนเส้นเลือดทางสะดือ ให้อาหารทาง TPN และให้ยาฆ่าเชื้อ Ampicillin, Gentamicin การวินิจฉัยครั้งแรก Preterm with Low birth weight with Respiratory distress syndrome ระหว่างทำการรักษาทารกมีภาวะตัวเหลือง ได้รับการส่องไฟรักษา มีภาวะซีด ได้รับการให้เลือด ทั้งหมดนี้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล จนกระทั่งทารกสามารถหายใจเองได้ สามารถดูดนมได้ปกติจึงวางแผนจำหน่ายทารกโดยให้มารดามีส่วนร่วมในการดูแลสุดท้ายสามารถจำหน่ายทารกได้รวมระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลจำนวน 25 วัน ด้วยน้ำหนัก 2,020 กรัม จากการติดตามไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น จอประสาทตาผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนด, การสูญเสียการได้ยิน, ภาวะเลือดออกในโพรงสมอง การวินิจฉัย ครั้งสุดท้าย Preterm with Low birth weight with respiratory distress syndrome with anemia of prematurity with neonatal jaundice บทบาทของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย NICU มีความสำคัญอย่างมากในการดูแลรักษาพยาบาลทารกในภาวะวิกฤต ปัจจุบันอัตราการรอดของทารกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนดและมีภาวะน้ำหนักตัวน้อย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและทุพพลภาพที่จะเป็นปัญหาระยะยาว จึงควรมีการดูแลอย่างต่อเนื่องดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้และพัฒนาทักษะความชำนาญในการดูแลทารกเพื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดคุณภาพทางการพยาบาล เพื่อดูแลทารกให้รอดชีวิต มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนให้น้อยที่สุด</p> ER -