TY - JOUR AU - โพธิ์จันดี , กิติมากร PY - 2020/04/26 Y2 - 2024/03/29 TI - การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ตับร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษา JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 29 IS - 1 SE - กรณีศึกษา DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/249055 SP - 33-46 AB - <p>การบาดเจ็บของตับจากการบาดเจ็บของช่องท้องชนิดไม่มีบาดแผลเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ กรณีศึกษา ผู้ป่วยชายไทยอายุ 22 ปี ขับรถจักรยานยนต์ชนกับจักรยานยนต์ กระเด็นไปกระแทกที่กั้นถนน พบรอยถลอกบริเวณหน้าอก ชายโครงขวา หายใจเร็ว กระสับกระส่าย ซีด ปลายมือปลายเท้าเย็น เจ็บท้องด้านขวา มี Guarding ศัลยแพทย์วินิจฉัย Blunt abdominal injury with hemodynamic unstable and right lung pneumo-hemothorax ทำ CT whole abdomen พบ Liver injury gr.3 with large hemoperitoneum ส่งทำผ่าตัดอย่างรวดเร็ว ได้รับการผ่าตัด Explore lap with perihapatic temporary abdominal packing หลังผ่าตัดให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดทดแทน สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ไม่มีเลือดในช่องท้องออก ใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตร ใส่ต่อท่อระบายทรวงอกที่ปอดด้านขวาชนิด 2 ขวด หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง ทำ Explore lap with off swab packing ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ Delay hemorrhage และภาวะติดเชื้อเป็นหนองในช่องท้อง เจาะเลือดผลการทำงานของตับเป็นปกติ เอ็กซเรย์ปอดดีขึ้น ถอดท่อระบายทรวงอกและท่อช่วยหายใจได้ ผู้ป่วยได้รับการดูแลในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาทและอุบัติเหตุ 4 วัน ย้ายไปตึกศัลยกรรมชาย อาการทั่วไปดีขึ้นช่วยเหลือตนเองได้ จำหน่ายกลับบ้าน รวมอยู่โรงพยาบาล 13 วัน การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ตับต้องให้การดูแลอย่างเฉียบพลันและเร่งด่วน พยาบาลเป็นบุคลากรที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย จึงต้องให้การพยาบาลที่ถูกต้องกับปัญหาของผู้ป่วย ทั้งในระยะวิกฤต ระยะก่อนผ่าตัด และสอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์เพื่อชวยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที</p> ER -